หุ่นยนต์สามารถทำการผ่าตัดผ่านกล้องสำหรับเนื้อเยื่ออ่อนของสุกรโดยไม่ต้องใช้มือของมนุษย์นำอีกต่อไป นับเป็นก้าวสำคัญในการเดินหน้าสู่การผ่าตัดอัตโนมัติสำหรับมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นในยุคต่อ ๆ ไป
ความสำเร็จดังกล่าวเป็นของทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย John Hopkins ในชื่อโครงการ Smart Tissue Autonomous Robot หรือ STAR ซึ่งผ่านการผ่าตัดในสัตว์มาแล้ว 4 ชนิด และผลลัพธ์ที่ได้นั้นเรียกว่าดีกว่ามนุษย์ดำเนินการในกระบวนการเดียวกันเสียอีก
หุ่นยนต์นั้นเชี่ยวชาญในด้าน Intestinal Anastomosis ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต้องการความแม่นยำและการทำงานซ้ำไปซ้ำมาระดับสูง การเชื่อมปลายสองด้านของลำไส้นั้นเป็นสิ่งที่มีความท้าายสูงในการผ่าตัดทางเดินอาหารหรือ Gastrointestinal Surgery ผู้ผ่าตัดต้องมีความแม่นยำและความอึดอย่างมาก ความผิดพลาดเล็กน้อยก่อให้เกิดการรั่วไหลและนำไปสู่ปัญหาใหญ่ของผู้ป่วยได้
ทีมวิจัยติดตั้ง STAR เข้ากับฟีเจอร์ใหม่เพื่อสนับสนุนระบบอัตโนมัติและความแม่นยำในการผ่าตัด รวมถึงเครื่องมือเย็บแบบใหม่ที่มีระบบกล้องจับภาพระดับสูง ทำให้สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำชัดเจนขึ้นในการผ่าตัด
โดยทั่วไปแล้วการผ่าตัดเนื้อเยื่ออ่อนเป็นสิ่งที่ยากสำหรับหุ่นยนต์เนื่องจากการไม่สามารถคาดเดาล่วงหน้าได้ ซึ่งหุ่นยนต์จะต้องปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ให้รวดเร็วและก้าวข้ามปัญหาให้ไว ซึ่งระบบควบคุมที่มีอยู่สามารถปรับแผนการผ่าตัดได้แบบ Real-time แบบที่ศัลยแพทย์สามารถทำได้ ซึ่ง STAR ถือเป็นระบบหุ่นยนต์ตัวแรกที่สามารถวางแผน ประบเปลี่ยน และดำเนินการผ่าตัดเนื้อเยื่ออ่อนโดยมีมนุษย์ยุ่งเกี่ยวน้อยที่สุดได้เป็นครั้งแรก
ความสำเร็จนี้มาจากโครงสร้าง Endoscope ที่มีพื้นฐานมาจากแสงในรูปแบบสามมิติและ Machine Learning ที่ทำให้หุ่นยนต์มีความฉลาดและปลอดภัย
ที่มา:
Hyb.jhu.edu
เนื้อหาที่น่าสนใจ: วิศวกรพัฒนาเทปกาวสำหรับการผ่าตัดเพื่อช่วยแก้ไขการเลือดออกในอวัยวะภายใน |