ยานยนต์ไฟฟ้าหรือ Electric Vehicle (EV) เป็นเทคโนโลยีที่กำลังมาแรง ซึ่งคุณสมบัติหลักก็สอดคล้องกับทิศทางนโยบายสากลในการลดมลภาวะ ในขณะเดียวกันก็สามารถประหยัดต้นทุนที่เกี่ยวข้องในการบำรุงรักษาได้ไม่น้อย ด้วยจุดเด่นเหล่านี้การใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าสำหรับขนส่งสินค้าในฐานะ EV Fleet สำหรับงานด้านโลจิสติกส์จึงกลายเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นในประเทศไทยไม่ช้าก็เร็ว แต่การลงทุนใน EV Fleet นั้นไม่ได้มีแค่เพียงตัวยานยนต์อย่างเดียวเท่านั้น โครงสร้างพื้นฐานด้านระบบไฟฟ้าก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ละเลยไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบประจุไฟฟ้าซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญทั้งในด้านความรวดเร็วและความปลอดภัย
EV ความยั่งยืนใหม่ของธุรกิจโลจิสติกส์ที่ไม่ได้มีดีแค่การใช้งานในชีวิตประจำวัน
ในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ผู้คนสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนว่าตลาดของยานยนต์ไฟฟ้านั้นกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของยานยนต์สำหรับชีวิตประจำวันที่ได้ Tesla เป็นตัวชูโรงและสร้างกระแสความฮือฮาอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของภาคธุรกิจเองก็ได้มีการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่สำหรับขนส่งขึ้นมามากมายหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาถนนที่ชาร์จพลังงานได้สำหรับ EV ขณะขับขี่ในประเทศสวีเดน หรือระบบควบคุมยานยนต์อัตโนมัติไร้คนขับสำหรับภาคธุรกิจ สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยแก้ปัญหาทั้งในด้านต้นทุน การขาดแคลนทรัพยากร ไปจนถึง Human Error ได้เป็นอย่างดี โดยคุณสมบัติที่สำคัญสำหรับธุรกิจโลจิสติกส์ มีดังนี้
รักษาสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงาน
ปัญหาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์มาอย่างยาวนาน และภาคธุรกิจเองถือเป็นส่วนสำคัญในการใช้ทรัพยากรเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการแข่งขันหรือเพื่อการตอบสนองต่อความต้องการของตลาดก็ตาม การใช้งาน EV จะช่วยลดการใช้งานเชื้อเพลิงจากฟอสซิลซึ่งมีทรัพยากรลดน้อยลง ทั้งยังเป็นที่มาของมลภาวะอีกไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นคาร์บอนไดออกไซด์และ PM 2.5 การลดมลภาวะและการใช้พลังงานที่เกิดขึ้นนั้นจะสอดคล้องกับนโยบายการเติบโตทางธุรกิจในระดับสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง UNSDGs ซึ่งเป็นนโยบายด้านความยั่งยืนจากสหประชาชาติ
ลดต้นทุนในการใช้งานและการซ่อมบำรุง
เครื่องยนต์สันดาปภายในนั้นมีชิ้นส่วนจำนวนมากในการใช้งานซึ่งสามารถสึกหรอได้ตามกาลเวลา การซ่อมบำรุงนอกเหนือจากการเปลี่ยนชิ้นส่วนที่มีปัญหาแล้ว จำเป็นต้องดูแลการเปลี่ยนถ่ายของเหลวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ น้ำมันเบรค น้ำยาหล่อเย็น ในขณะที่ EV นั้นมีชิ้นส่วนที่น้อยกว่าและมีการใช้งานของเหลวที่น้อยกว่ามาก ทำให้ต้นทุนในการดูแลรักษานั้นน้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัดเจน สำหรับการใช้งานทั่วไปต้นทุนค่าเชื้อเพลิงจากน้ำมันนั้นมีราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากเปรียบเทียบต้นทุนกับค่าไฟฟ้าคิดเป็นกิโลเมตรต่อหน่วย EV จะอยู่ที่ 15 kWh/100 กม. หากคิดตามอัตราค่าไฟฟ้าประเภทบ้านที่อยู่อาศัยจะอยู่ที่ประมาณ 36 บาทเท่านั้น ในขณะที่น้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ 5.5 ลิตร/100 กม. หากพิจารณาบนพื้นฐานของน้ำมันดีเซล B7 ที่ 29.94 บาทต่อลิตร จะมีต้นทุนอยู่ที่ 164.67 บาท ซึ่งในกรณีของ EV นั้นจะมีอัตราพิเศษที่เรียกว่า Low Priorities ให้อีก หรือหากติดแผงพลังงานแสงอาทิตย์ หรือใช้พลังงานทางเลือกอื่นก็สามารถลดต้นทุนลงไปได้อีกไม่น้อย
เทคโนโลยีเปิดกว้างสำหรับอนาคต
การใช้งาน EV นั้นมีลักษณะของการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้ามากกว่าเครื่องจักรและตัว EV เองในหลาย ๆ กรณีก็ถือเป็นอุปกรณ์ IoT ไปด้วยในตัว ทำให้ผู้ใช้งานสามารถบริหารจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ รวมถึงการวางแผนการเดินทาง การส่งสินค้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยศักยภาพการใช้ข้อมูลเส้นทางและพลังงานควบคู่กันแบบ Real-Time ไปจนถึงการใช้งานยานยนต์อัตโนมัติสำหรับการจัดส่งสินค้า การติดตามเส้นทาง และตรวจสอบการทำงานย้อนหลังจึงเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การวางแผนที่รัดกุมและสร้างกำไรได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยานยนต์อัตโนมัติยังลดความเหนื่อยล้าและปัญหา Human Error ที่เกิดขึ้นในการทำงานได้เป็นอย่างดี
แม้ว่าในการใช้งานปัจจุบันนั้น EV ยังคงมีข้อกังขาในเรื่องของระยะทางที่สามารถทำได้และความรวดเร็วในการประจุพลังงาน แต่ปัญหาเหล่านี้ได้ถูกแก้ไขและพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นระยะทางที่เพิ่มขึ้นหรือระยะเวลาในการประจุพลังงานที่ลดลงอย่างชัดเจน เปิดโอกาสให้การใช้งาน EV Fleet เกิดขึ้นได้จริงสำหรับภาคธุรกิจที่ต้องการพุ่งทะยานไปข้างหน้าก่อนใคร
แต่การใช้งาน EV Fleet นั้น อาจไม่ใช่คำตอบสำหรับภาคธุรกิจของยานยนต์ไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของโลจิสติกส์ การมีโซลูชันประจุพลังงานที่เหมาะสมกับความต้องการใช้งานกลับกลายเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าปัจจัยอื่น ๆ เนื่องจากเป็นตัวกำหนดความเร็วในการประจุพลังงาน รวมไปถึงมาตรฐานความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องอีกด้วย ดังนั้นการเลือกใช้โซลูชันสำหรับประจุพลังงานและโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจละเลยได้
เลือกโซลูชันประจุพลังงานอย่างไรให้เหมาะสมกับ EV Fleet ของธุรกิจ
ในการเลือกใช้ Wall Charger ที่เหมาะสมกับการประจุพลังงาน EV สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงนั่นคือขนาดบรรทุกของ EV ที่ต้องการใช้งาน โดยแบ่งออกเป็นการบรรทุกน้ำหนักเบา การบรรทุกน้ำหนักปานกลาง และการบรรทุกน้ำหนักสูงสำหรับงานหนัก ทั้งยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องนำมาพิจารณา โดยมีปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
- พลังงานเฉลี่ยที่ต้องใช้สำหรับ EV
- อัตราการประจุพลัง
- ระยะเวลาที่สามารถใช้ได้ในการประจุ
- ระยะเวลาที่ EV ต้องทำงาน
- น้ำหนักโหลดสินค้า
การประเมินผ่านปัจจัยดังกล่าวจะทำให้เห็นถึงเงื่อนไขและความต้องการที่เกิดขึ้นในการใช้งาน ซึ่งการเข้าใจถึงความต้องการประจุพลังงานในแต่ละครั้งสำหรับยานยนต์แต่ละคัน จากนั้นจึงนำมาคำนวณหาความต้องการใช้พลังงานโดยรวม แล้วจึงมาคำนวณหาพื้นที่ที่ต้องใช้ในการประจุพลังงานพร้อมกันสูงสุดในแต่ละครั้ง ข้อมูลที่ได้ตรงนี้เองจะเป็นตัวกำหนดการเลือกคุณสมบัติของเครื่องประจุให้ตรงกับความต้องการใช้งานจริง
ซึ่งการประจุพลังงาน หากไม่นับรูปแบบของการ Swap แบตเตอรี่ที่นิยมในประเทศจีนแล้ว สามารถแบ่งการประจุพลังงานออกเป็น 3 แบบ ได้แก่ การประจุพลังงานผ่านสาย (Plug-in), การประจุพลังงานจากด้านบน (Overhead) และการประจุพลังงานแบบไร้สาย (Wireless) ซึ่งการประจุพลังงานจากด้านบนและแบบไร้สายนั้นเป็นการประจุพลังงานอัตโนมัติซึ่งมีต้นทุนที่ค่อนข้างสูง หากเปรียบเทียบกับการประจุพลังงานผ่านสายแบบดั้งเดิม
ในปัจจุบันประเทศไทยนั้นการใช้งานประจุพลังงานผ่านสายหรือ Plug-in ถือเป็นทางเลือกในการใช้งานที่มีความปลอดภัย คุ้นเคย และมีความเป็นไปได้มากที่สุด โดยการเติมประจุสำหรับภาคธุรกิจที่ต้องแข่งขันกับเวลานั้นการใช้เครื่องเติมประจุตระกูล DC จะมีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากสามารถประจุพลังงานได้อย่างรวดเร็วและมีปริมาณมาก หากเปรียบเทียบกับแบบ AC ซึ่งใช้เวลาแตกต่างกันมหาศาล
โดยอุปกรณ์สำหรับทำการประจุแบบ Plug-in แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ แบบแขวนติดผนังและแบบตู้ ซึ่งมีความเหมาะสมในการใช้งานที่แตกต่างกันไป โดยอุปกรณ์ประจุแบบแขวนติดผนังมักเหมาะสำหรับการใช้งานในที่ร่มหรือมีพื้นที่จำกัด ในขณะที่ตู้สำหรับเติมประจุเหมาะสำหรับการใช้งานกลางแจ้งมากกว่า
คุณสมบัติในการใช้งาน ประสิทธิภาพ และความทนทานของเครื่องประจุไฟฟ้า จะแตกต่างกันตามแบรนด์ที่ใช้ หลายครั้งที่อุปกรณ์แถมหรือชุดใช้งานที่มาพร้อมกับ EV แบรนด์ทางเลือกมักจะมีการประกอบที่ไม่ได้คุณภาพ ขาดความปลอดภัย และไม่อาจประจุไฟฟ้าได้เท่ากับค่าที่กำหนดในเอกสาร ซึ่งภาพการถอดชิ้นส่วนเหล่านี้บนสื่อชุมชนออนไลน์ต่าง ๆ ก็มีสิ่งเหล่านี้ให้พบเห็นกันได้บ่อยครั้ง ดังนั้นการใช้งานสำหรับ EV Fleet ในภาคธุรกิจจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐาน มีความปลอดภัย และสามารถตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างคุ้มค่า โดยหนึ่งในผู้ผลิตที่มีความเชี่ยวชาญด้านระบบไฟฟ้าและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีความละเอียดอ่อนอย่าง ABB ซึ่งคุ้นเคยกับระบบไฟฟ้าพื้นฐานไปจนถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมากความสามารถและ Cobot อย่าง YuMi ในวันนี้ได้พัฒนาโซลูชันการประจุพลังงานสำหรับ EV ขึ้นมาอย่างหลากหลาย ครอบคลุมการใช้งานในชีวิตประจำวันและในการทำธุรกิจ
Terra โซลูชันการประจุพลังงานอัจฉริยะที่ออกแบบมาเพื่อ EV Fleet
ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและโซลูชันด้านระบบไฟฟ้าเบอร์ต้น ๆ ของโลกที่คุ้นเคยกับภาคธุรกิจ ABB จึงได้พัฒนาโซลูชันการประจุพลังงานสำหรับ EV ที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อให้รองรับความต้องการใช้งานในรูปแบบของธุรกิจและภาคการผลิต ซึ่งทุกวินาทีที่เกิดขึ้นหมายถึงผลกำไรและการขาดทุน
ด้วยประสบการณ์และความเข้าใจในเงื่อนไขของธุรกิจ ABB จึงได้พัฒนา Terra Charger โซลูชันสำหรับประจุพลังงาน EV ที่มาพร้อมกับมาตรฐาน CE จากยุโรปที่รับประกันเรื่องความปลอดภัยในการใช้งาน โดยความสามารถในการประจุเร็วของ Terra สามารถเพิ่มระยะทางได้ 100 กิโลเมตรภายในเวลาเพียง 8 นาที (ขึ้นกับโมเดลของ EV และเงื่อนไขในการประจุ) ซึ่งมีให้เลือกทั้งแบบติดตั้งแขวนบนผนังและแบบตู้ โดยรุ่นที่น่าสนใจ ได้แก่
Terra DC Wallbox
อุปกรณ์ประจุพลังงานแบบแขวนผนัง Terra DC Wallbox ถูกออกแบบมาเพื่อสนับสนุน EV ที่มองไกลไปถึงอนาคตด้วยการสนับสนุนด้านกระแสไฟฟ้าในระดับสูง รองรับเทคโนโลยีการประจุพลังงานในเวลาอันสั้น หรือ Quick Charge ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยจุดเด่นในการประหยัดพื้นที่และติดตั้งง่ายจึงเหมาะสำหรับกิจการที่มีพื้นที่จำกัด ตัวอุปกรณ์รองรับการอัปเดตซอฟต์แวร์ผ่านการควบคุมระยะไกลจึงสะดวกต่อการดูแลรักษา ตัวเครื่องมาพร้อมกับมาตรฐาน IP54 กันน้ำ กันฝุ่น ทั้งยังมีระบบป้องกันกระแสไฟเกิน กระแสไฟกระชาก รองรับการประจุไฟฟ้าสูงสุด 2 คันต่อครั้ง
คุณสมบัติด้านไฟฟ้า:
- การใช้ไฟฟ้า 0-22.5 kW, 24 kW (Peak) / 60A
- การใช้ประจุไฟฟ้า
- CSS: 150 – 920 V DC
- CHAdeMO 150 – 500 V DC
Terra 184 Charger
อุปกรณ์ประจุพลังงานแบบติดตั้งพื้นที่ถูกออกแบบมาให้มีความหลากหลายในการใช้งานสูง และยังสามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการใช้งาน รองรับการใช้งานหัวชาร์จทั้งแบบ CCS, CHAdeMO และ AC ตัวเครื่องสามารถอัปเกรดได้ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ตรงกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคต มีความทนทานต่อสภาพอากาศสูง สามารถใช้งานกลางแจ้งได้อย่างปลอดภัย ทั้งยังสามารถเชื่อมต่อข้อมูลได้ 24/7 เพื่อทำการติดตามข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และอัปเดทซอฟต์แวร์ผ่านระบบเครือข่าย นอกจากนี้ยังมาพร้อมกับปุ่มหยุดฉุกเฉินเพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ไม่คาดคิด
คุณสมบัติด้านไฟฟ้า:
- กำลังการประจุ
- 180 kW หรือ 2×90 kW ในการประจุปกติ
- 150 kW หรือ 2×75 kW สำหรับการใช้งานหนัก
- การใช้ประจุไฟฟ้า
- CSS รองรับสูงสุด 920 V DC
- CHAdeMO รองรับสูงสุด 500 V DC
จุดเด่นของอุปกรณ์ประจุพลังงาน EV ตระกูล Terra จาก ABB อยู่ที่การออกแบบด้านความปลอดภัยและการประจุพลังงานอันรวดเร็ว เหมาะสมกับการใช้งาน EV Fleet ซึ่งมีจำนวนยานพาหนะจำนวนมากและอาจต้องทำงานอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา จึงสามารถรองรับการใช้งานหนักของ EV Fleet ได้อย่างไร้ปัญหา
ธุรกิจด้านโลจิสติกส์ คลังสินค้า หรือโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้งาน EV ในฐานะเครื่องมือสำคัญสำหรับการจัดส่งสินค้านั้น นอกจากต้องเลือกใช้งาน EV ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับงานแล้วการเลือกใช้โซลูชันการประจุพลังงานที่ปลอดภัย ได้มาตรฐาน ทั้งยังรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่าง ABB Terra ถือเป็นฟันเฟืองสำคัญให้ฝันในการก้าวไปสู่ EV เป็นความจริงได้
หากใครที่กำลังสนใจโซลูชันการประจุพลังงานสำหรับ EV อย่าง ABB Terra สามารถติดต่อสอบถาม บริษัท บางกอกแอบโซลูท อิเลคทริคแอนด์คอน จํากัด ตัวแทนจำหน่ายโซลูชันด้านระบบไฟฟ้าจาก ABB อย่างเป็นทางการ พร้อมดูแลตั้งแต่ระบบไฟฟ้าพื้นฐานที่เกี่ยวข้องไปจนถึงเทคโนโลยีการประจุพลังงานที่เหมาะสม ครอบคลุมทุกความต้องการด้านระบบไฟฟ้าสำหรับโรงงานและธุรกิจที่ให้ความสำคัญในการเติบโต
สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
บริษัท บางกอกแอบโซลูท อิเลคทริคแอนด์คอน จํากัด
โทรศัพท์: 02-398-3389-92
Email: [email protected]
Website: www.bangkokab.com
Line: @bangkokabsolute
Facebook: Bangkokab