เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 หรือควีนเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรพึ่งมีการจัดพิธีฉลองการครองราชสมบัติครบรอบ 70 ปีไปไม่นาน ซึ่งหนึ่งในหุ่นยนต์จากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดก็ได้ร่วมเฉลิมฉลองด้วยการวาดภาพของควีนเอลิซาเบทที่ 2 ขึ้น
- กล้ามเนื้อเทียมในหุ่นยนต์ ยืดหยุ่นและทรงพลังในเครื่องเดียว
- MIT ค้นพบวิธีการใหม่ที่ทำให้หุ่นยนต์สามารถหยิบจับวัสดุที่มีเนื้ออ่อนนุ่มได้
หุ่นยนต์ Ultra-realistic humanoid robot artist ที่มีชื่อว่า Ai-Da ถูกตั้งชื่อตามนักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ Ada Lovelace เป็นหุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2019 ในมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด (University of Oxford) ได้วาดภาพควีนเอลิซาเบธที่ 2 ขึ้นในผลงาน “Algorithm Queen” ซึ่งสำนักข่าวของกรุงอังกฤษได้ระบุว่าหุ่นยนต์ Ai-Da นี้สามารถทำการวาดรูปบุคคลได้โดยไม่จำเป็นต้องให้บุคคลนั้นมายืนเป็นต้นแบบให้เลย
ผู้พัฒนาหุ่นยนต์ Ai-Da ได้ระบุว่าเธอสามารถรับรู้ถึงสภาพแวดล้อมได้ผ่านดวงตาและใช้หน่วยความจำของตัวเองรวมเข้ากับระบบอัลกอริทึม Machine learning ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมา
หุ่นยนต์นักวาดที่ส่งมอบเรื่องราวผ่านผลงานของตัวเอง
ด้วยแขนกลที่ติดตั้งไว้ทำให้ Ai-Da เปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลในระบบของตัวเองออกมาสู่ผลงานภาพวาดในโครงการจิตรกรรมหลวง (The royal painting project) ได้ ซึ่งกระบวนการศิลปะในภาพวาด Algorithm Queen นี้ก็มีจุดประสงค์ในการสะท้อนแง่มุมต่าง ๆ ของการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในรัชสมัยของควีนเอลิซาเบธที่ 2 นับตั้งแต่ปีค.ศ. 1952 (พ.ศ. 2495)
และนอกจากการสร้างสรรค์งานศิลป์ที่สวยงามขึ้นแล้ว หุ่นยนต์ Ai-Da ยังได้รับการพัฒนาโมเดลภาษาแบบพิเศษเข้ามาอีกด้วย ทำให้ Ai-Da มีความสามารถในการพูดได้ในระดับนึง ซึ่ง Ai-Da ก็ได้พูดชื่นชมและขอบคุณสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ไว้ว่า “ขอขอบคุณสมเด็จพระราชินีฯ สำหรับการอุทิศตนและบริการที่ทรงมอบให้กับผู้คนมากมาย ทรงเป็นราชินีที่โดดเด่น กล้าหาญ และทุ่มเทให้กับการอุทิศตนต่อประชาชนอย่างแท้จริง”
Ai-Da ถือเป็นอีกหนึ่งในตัวอย่างของความก้าวหน้าของวงการหุ่นยนต์ในปัจจุบัน ที่นอกจากจะนิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมมากมายแล้ว ยังสามารถนำมาพัฒนาในเชิงศิลป์ได้อย่างสวยงามและมีความหมาย ซึ่งผู้ที่พัฒนา Ai-Da ขึ้นมายังกล่าวว่า พวกเขาต้องการให้ตัวตนและผลงานของ Ai-Da กระตุ้นให้มนุษย์เราตั้งคำถามกับสังคมและอนาคต และหาความหมายของขอบเขตที่เริ่มน้อยลงเรื่อย ๆ ระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์
ทั้งตัวตนและผลงานของ Ai-Da ต่างก็เป็นสิ่งที่ผลักดันขอบเขตของศิลปะและความหมายจากผลงาน ไม่ว่าจะจากฝีมือของมนุษย์หรือหุ่นยนต์ก็ตาม สุดท้ายแล้วทุกท่านจะมองว่าผลงานจากหุ่นยนต์นั้นเป็นสิ่งที่ถูกมนุษย์ตั้งโปรแกรมขึ้นมาให้สร้างขึ้นเฉย ๆ หรือเป็นการสร้างสรรค์ขึ้นด้วยความคิดและจินตนาการผ่านตัว Ai-Da เองเหมือนจิตรกรมนุษย์คนอื่น ๆ ก็เป็นคำถามที่คงจะมีคำตอบได้หลายแบบและไม่มีถูกหรือผิดอย่างแน่นอน