‘Green Financing’ แหล่งเงินทุนเพื่อการเติบโตของโรงงานในยุคแห่งความยั่งยืน

Date Post
30.11.2022
Post Views

เรื่องของความยั่งยืนนั้นเป็นมากกว่ากระแสความรับผิดชอบต่อสังคมไปจนถึงสิ่งแวดล้อมของภาคธุรกิจ แต่ยังหมายถึงการเติบโตและความสามารถในการแข่งขัน นโยบายด้านพลังงานสะอาด ลดคาร์บอน ความปลอดภัย และความรับผิดชอบต่อ Stakeholder ในธุรกิจ กลายเป็นปัจจัยที่ถูกพิจารณาทั้งในด้านการร่วมลงทุน การประเมินความน่าเชื่อถือ รวมถึงความนิยมหรือต่อต้านจากผู้บริโภค และในหลาย ๆ ประเทศกำลังจะใช้เป็นเครื่องมือกีดกันทางการค้าไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม

อุตสาหกรรมทั้งเล็ก กลาง ใหญ่ เริ่มตื่นตัวและศึกษาการลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเองและบริบทของปัจจัยภายนอก ในอนาคตทุกโรงงานจะต้องกลายเป็น ‘ธุรกิจสีเขียว’ มิเช่นนั้นก็อยู่ไม่รอด 

ทำให้ธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนต่างมองหาสิ่งที่เรียกว่า ‘Green Financing’

“ความยั่งยืน แค่จุดยืนคงไม่พอ” แต่ต้องอาศัย ‘เงินทุน’ ซึ่งน่าเสียดายที่สถาบันการเงินส่วนใหญ่พิจารณาแต่ผลตอบแทนเฉพาะหน้า จึงให้ความสำคัญเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่ที่สามารถสร้างกำไรเป็นเม็ดเงินเพื่อชำระเงินกู้ได้อย่างแน่นอน

ในขณะที่องค์กรขนาดกลางซึ่งต้องการลงทุนด้วยการเช่าซื้อ หรือทำ Leasing ต่าง ๆ ก็ไม่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการเงิน เช่น การลงทุนพลังงานแสงอาทิตย์ ติดตั้ง EV Charger ระบบบำบัดน้ำ/อากาศ หรือแม้แต่เครื่องจักรต่าง ๆ ด้วยเหตุผลเรื่องความเสี่ยงของมูลค่าสินทรัพย์หากต้องขายทอดตลาด

แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมกลายเป็นประเด็นสำคัญ ดังที่เห็นได้จากนโยบาย BCG หรือ UNSDGs ที่ถูกกำหนดขึ้นมาอย่างละเอียด และมีการตั้งเป้าในการดำเนินการชัดเจน ตลอดจนภาคเอกชนน้อยใหญ่ที่มีรายงานความยั่งยืนนำเสนอกันอย่างต่อเนื่อง แนวคิดด้าน Green Economy หรือ Sustainability จึงกลายเป็นความสำคัญที่ไม่อาจปฏิเสธได้อีกต่อไป หากภาคธุรกิจอยากเติบโตและมีที่ยืนในสายตาของผู้บริโภค

สถาบันการเงินเองก็ต้องเปลี่ยนมุมมองใหม่ “ธุรกิจสีเขียว คือธุรกิจที่มีศักยภาพ”

‘เศรษฐกิจสีเขียว’ รากสำคัญของธุรกิจนับจากวันนี้เป็นต้นไป

นิยามของการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดก็คือการพัฒนาที่สามารถตอบสนองต่อความจำเป็นของผู้คนในยุคปัจจุบันได้ โดยไม่สร้างผลกระทบให้แก่ผู้คนในยุคถัดไป

แล้วเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) คืออะไร? เศรษฐกิจสีเขียวนั้นเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดด้านความยั่งยืน โดย United Nation Environment Programme (UNEP) ได้นิยามเอาไว้ว่า เป็นเศรษฐกิจที่มีคาร์บอนต่ำ มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ และต้องคำนึงถึงสังคมด้วย นอกจากนี้ยังรวมไปถึงกิจกรรมต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจที่ลดการปล่อยมลภาวะ ใช้พลังงานได้อย่างคุ้มค่า รวมถึงการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพอีกด้วย

เพื่อให้นโยบายด้านความยั่งยืนสัมฤทธิ์ผล แนวคิดด้านเศรษฐกิจสีเขียวจึงไม่เป็นเพียงกิจกรรม PR แต่ถือเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญที่จะปรับเปลี่ยนทั้งแนวคิด ทัศนคติ วิธีดำเนินงาน ตลอดจนกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างสิ้นเชิง แต่ทำไมมีแต่ผู้ประกอบการที่ต้องรับภาระการเงิน?

การสนับสนุนด้านการเงินที่เรียกว่า Green Financing จึงเกิดขึ้นมา เพื่อทำให้การเปลี่ยนผ่านสู่โลกแห่งความยั่งยืนนั้นเกิดขึ้นได้จริง โดยธนาคารกสิกรไทยมีผลิตภัณฑ์ที่พร้อมสนับสนุนให้ผู้ประกอบการก้าวไปสู่ธุรกิจสีเขียว ซึ่งพร้อมให้บริการผ่านทาง KF&E หรือ บริษัท แฟคเตอรี แอนด์ อีควิปเมนท์ กสิกรไทย ซึ่งเป็นบริษัทในเครือจากธนาคารกสิกรไทย โดย KF&E พร้อมให้บริการ Green Financing ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์สินเชื่อลีสซิ่งกสิกรไทย

Green Financing เติบโต 100 เท่า มีมูลค่ากว่า 20 ล้านล้านบาท

ภายใต้แนวคิดขององค์การสหประชาชาตินั้น Green Financing เป็นการเพิ่ม Flow ทางด้านการเงินผ่านช่องทางต่าง ๆ ธนาคาร ไมโครเครดิต ธุรกิจประกัน รวมถึงการลงทุนจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนไปจนถึงองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาที่มีความยั่งยืนในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและความเสี่ยงทางสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

จากข้อมูลของ Reuters พบว่าโครงการที่เกี่ยวข้องกับ Green Financing ทั่วโลกนั้นมีการเติบโตมากกว่า 100 เท่าในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา โดยมูลค่าที่เกิดขึ้นในปี 2012 อยู่ที่ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่ปี 2021 ที่ผ่านมานั้น มูลค่าอยู่ที่ 5.4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดย Bonds หรือตราสารหนี้นั้นมีสัดส่วนสูงที่สุดในแต่ละรอบปี

ที่มาภาพ : UNEP

แน่นอนว่าการผลักดันนโยบายดังกล่าวในประเทศไทยไม่ใช่เรื่องง่าย แม้แต่แคมเปญในการซื้อยานยนต์ไฟฟ้าหรือติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับภาคประชาชนก็ไม่ได้มีการสนับสนุนอะไรมากเป็นพิเศษ ยิ่งหากมามองในภาคธุรกิจที่ต้องลงทุนเม็ดเงินจำนวนมหาศาลแตกต่างจากภาคประชาชน สถาบันการเงินส่วนใหญ่ก็คงต้องส่ายหน้าและปฏิเสธความเสี่ยงไปได้อย่างน่าเสียดาย

ทั้งที่การสนับสนุนดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญที่สนับสนุนทั้งธุรกิจและเป็นการรักษาโลกใบเดียวที่ทุกคนใช้ร่วมกัน

แนวคิดนี้ไม่ต้องอาศัยโมเดลการคำนวณที่ซับซ้อน แค่ต้องมีวิสัยทัศน์มองการณ์ไกล ซึ่งต้องชื่นชม KF&E ที่เล็งเห็นถึงความต้องการและเงื่อนไขในภาคธุรกิจ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ Green Financing ด้วยความเข้าใจในรูปแบบของธุรกิจ เพื่อผลักดันให้ธุรกิจหันมาใช้บริการทางการเงินเพื่อความยั่งยืนมากขึ้น

ทำทั้งทีต้องเต็มที่ KF&E ปล่อยลีสซิ่ง Solar Rooftop สูงสุดถึง 100%

KF&E ถือว่าเป็นตัวจริงด้าน Leasing สำหรับธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัวสูง ตั้งแต่การให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อ/ลีสซิ่งเครื่องจักรทั้งขนาดเล็กหรือใหญ่ รถเครน จักรยานยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงเครื่องมือแพทย์ต่างๆ ฯลฯ เรียกได้ว่าเป็นทีมที่มีประสบการณ์สามารถออกแบบโปรแกรมทางการเงินที่เข้าใจธุรกิจได้เป็นอย่างดี และกล้าให้การสนับสนุนสินเชื่อเช่าซื้อ/ลีสซิ่งเครื่องจักรกับผู้ประกอบการทุกกลุ่มอุตสาหกรรม

โดยปกติ สถาบันการเงินจะไม่ค่อยรับอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ยิ่งถ้าเป็นระบบ Solar Rooftop, EV Charging Station หรือระบบบริหารจัดการพลังงานอื่นๆ ยิ่งยากไปใหญ่ แต่มักจะขอเป็นที่ดิน อาคาร บ้าน รถยนต์ ซึ่งเป็นภาระแก่กรรมการหรือเจ้าของบริษัท

ภายใต้ความท้าทายยุคใหม่ที่เรื่องของความยั่งยืนได้เข้ามาเป็นหนึ่งในตัวแปรอันแสนสำคัญ KF&E จึงได้เปิดตัว Green Financing ของตัวเองขึ้นมาเพื่อสนับสนุนธุรกิจให้สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพในยุคสมัยที่สิ่งแวดล้อม CSR และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่านั้นได้กลายเป็นข้อเรียกร้องที่ชัดเจนจากทั้งผู้บริโภคและนักลงทุน

Green Financing จาก KF&E ถือว่าเป็นตัวปลดล็อกประตูบานแรกสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของความยั่งยืน เพราะช่วยลดภาระด้าน Cash Flow จากการลงทุน Green Financing กับ KF&E ซึ่งนอกจากสนับสนุนลีสซิ่งให้แก่เครื่องมือเครื่องจักรต่าง ๆ แล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้ลูกค้าหันมาใช้บริการทางการเงินเพื่อความยั่งยืนมากขึ้น โดยได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ  Green Financing อาทิ ระบบ Solar Rooftop และการติดตั้ง EV Charging Station สามารถกู้ได้สูงสุดถึง 100% โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์มาค้ำประกัน เพราะใช้มูลค่าโครงการทั้งระบบในการยื่นขอลีสซิ่งได้เลย สิ่งนี้จึงจะเรียกว่าเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระให้ผู้ประกอบการอย่างแท้จริง

KF&E เองก็เปิดประตูบานใหม่ให้วงการลีสซิ่ง

KF&E ต่างจากสินเชื่อธุรกิจทั่วไป เพราะเป็นบริการสินเชื่อเช่าซื้อ/ลีสซิ่งที่มีความยืดหยุ่นครอบคลุมได้มากกว่า และยังช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องอัตราดอกเบี้ยในช่วงขาขึ้นให้กับผู้ประกอบการอีกด้วย โมเดลนี้ต้องอาศัยทีมงานที่เชี่ยวชาญทำงานแบบที่ปรึกษา กล้าคิด กล้าตัดสินใจลงไปคลุกคลีในรายละเอียดของแต่ละธุรกิจ ไม่ได้มองตัวเองเป็นเพียง Financial Products เหมือนในอดีต

ผู้ประกอบการที่ยังไม่รู้จัก หรือยังไม่เคยใช้บริการสินเชื่อเช่าซื้อ/ลีสซิ่งเครื่องจักรกสิกรไทยกับทาง KF&E คงต้องลองหันมาพิจารณาดู ใครที่ไม่เคยได้รับการพิจารณาจากที่อื่นก็อาจได้จากที่นี่ ใครที่มีเครดิตสินเชื่อธุรกิจอยู่ก่อนแล้วก็อาจได้รับวงเงินเพิ่ม หรือ Value Add-on อีกรูปแบบ และใครที่อยากมีเครดิตเป็นลูกค้า KBank ก็สามารถอาศัย KF&E เป็นประตูสู่บริการอื่น ๆ เพื่อโอกาสการเติบโตอย่างมั่นคง ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะมีขนาดใหญ่หรือเล็ก การติดต่อหรือขอคำปรึกษาก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ผ่านสาขา หรือช่องทางต่าง ๆ ของธนาคารกสิกรไทยได้ทั่วประเทศ

KF&E มีการสนับสนุนเทรนด์ความยั่งยืนและร่วมผลักดันการสร้างธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น สำหรับผู้ที่มองหาพันธมิตรทางการเงินที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการและมีความใส่ใจเข้าใจในธุรกิจของคุณ KF&E ถือเป็นทางเลือก Smart สำหรับนักลงทุนยุคใหม่ที่ใส่ใจในความยั่งยืนครับ

สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
Kasikorn Factory and Equipment
Tel : 062-875-9069
Email : [email protected]
Website : www.kasikornfactory-equipment.com

ที่มาข้อมูล : https://www.reuters.com/business/sustainable-business/global-markets-greenfinance-graphics-2022-03-31/#:~:text=The%20share%20of%20green%20finance,with%20around%200.1%25%20in%202012.

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Jirapat R.
A Content Creator with multiple interests and a fitness enthusiastic.