28 มกราคม 2564 กรุงเทพฯ – เทนเซ็นต์ คลาวด์ กลุ่มธุรกิจคลาวด์ภายใต้เทนเซ็นต์ ชูเทคโนโลยีคลาวด์อัจฉริยะ และปัญญาประดิษฐ์ (AI) สำหรับหน่วยงาน และองค์กรต่างๆ เพื่อยกระดับการบริหารจัดการฝูงชน (Crowd Management) ในการรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมนำเสนอตัวอย่างโซลูชันเพื่อเป็นแนวทางการนำเทคโนโลยีไปปรับใช้ในอนาคต ทั้งโซลูชันอัจฉริยะสำหรับบริหารจัดการภายในอาคาร โซลูชันการให้บริการทางการแพทย์แบบ Telemedicine และเทคโนโลยี temperature sensor สำหรับตรวจวัดอุณหภูมิ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
มร. โพชู หยาง รองประธานอาวุโสกลุ่มเทนเซ็นต์ คลาวด์ อินเตอร์เนชันแนล กล่าวว่า “การบริหารจัดการ ฝูงชน (Crowd Management) เป็นมาตรการที่ควรให้ความสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อมีความจำเป็นในการเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) ขึ้นอีกครั้ง ซึ่งการที่จะบริหารจัดการคนจำนวนมากให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพได้นั้นจำเป็นต้องมีการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่ดี อย่างเช่น การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่เร่งให้หน่วยงานต่างๆ มีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการดำเนินงานกันมากขึ้นเพื่อคัดกรอง ป้องกัน และลดความเสี่ยงของการเกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในวงกว้าง”
ด้วยเหตุนี้ เทนเซ็นต์ คลาวด์ จึงพร้อมผลักดัน และให้การสนับสนุนแก่ทุกองค์กรในการยกระดับการดำเนินงานการบริหารจัดการด้านสุขภาพ ด้วยการนำเสนอเทคโนโลยีคลาวด์ และ AI อัจฉริยะที่องค์กรต่างๆ ในหลากหลายอุตสาหกรรมสามารถนำไปปรับใช้กับแผนการบริหารจัดการได้หลากหลายรูปแบบ และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างเช่น
- ใช้เทคโนโลยีคลาวด์ และ AI สนับสนุนการให้บริการทางการแพทย์ได้หลากหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น การใช้แอปพลิเคชัน VooV Meeting จากเทนเซ็นต์ซึ่งเป็นโซลูชัน Video Conference ผ่านระบบคลาวด์ที่มีประสิทธิภาพสูง ปลอดภัย และมีเสถียรภาพช่วยเสริมการให้บริการ Telemedicine เช่น การให้คำปรึกษาทางไกล เพื่อให้แพทย์สามารถให้คำปรึกษาเบื้องต้นแก่คนไข้ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น หรือใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารกันระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี Tencent AIMIS Medical Image Cloud ซึ่งเป็นโซลูชันที่สามารถช่วยให้ขั้นตอนการคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้นรวดเร็วยิ่งขึ้นด้วยการใช้ AI ในการอ่าน และวิเคราะห์ผลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) เพื่อคัดแยกผลตาม กลุ่มอาการป่วยจากรูปแบบการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส เป็นต้น นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เทคโนโลยีคลาวด์ในการจัดเก็บไฟล์เอกสารสำคัญต่างๆ ของคนไข้ เช่น บันทึกการรักษา ฟิล์มเอ็กซ์เรย์ เอกสารใบสั่งยา ฯลฯ เพื่อให้แพทย์หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา
- การใช้เทคโนโลยีคลาวด์ และ AI ร่วมกับ Internet of Things หรือ IoT ในการบริหารจัดการความหนาแน่นในพื้นที่ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการพื้นที่ รวมถึงเป็นการช่วยลดกำลังคน หรือขั้นตอน ในการดูแลเรื่องการบริหารพื้นที่ได้ เช่น การใช้เทคโนโลยีตรวจวัดอุณหภูมิอัตโนมัติ (temperature sensor) ตรวจจับความร้อนในพื้นที่ จากนั้นข้อมูลจะถูก AI นำประมวล และวิเคราะห์ผลบนระบบปฏิบัติการคลาวด์ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาจัดทำ Heat Map เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการบริหารจัดการความหนาแน่นของผู้ใช้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- เทนเซ็นต์ คลาวด์ เผย “ไฮบริด มัลติคลาวด์” คือ กุญแจสำคัญ สู่การทรานส์ฟอร์มเป็น “ดิจิทัล เอ็นเตอร์ไพรส์” เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจในยุค New Normal
- “เทนเซ็นต์” แนะผู้ประกอบการค้าปลีกเสริมแกร่งช่องทางออนไลน์
- “เทนเซ็นต์” จับมือ “อัฟวาแลนท์” ร่วมเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์
นอกจากนี้ เทนเซ็นต์ คลาวด์ ยังมีเทคโนโลยีคลาวด์ และ AI อัจฉริยะที่สามารถนำมาปรับใช้ในการดำเนินงาน Healthcare Community Management อื่นๆ เช่น เทคโนโลยีการจดจำตัวอักษรหรือ Optical Character Recognition (OCR) ที่สามารถแปลงภาพตัวอักษรทั้งตัวพิมพ์ และลายมือในเอกสารต่างๆ เป็นข้อมูลดิจิทัลเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบ และเทคโนโลยี Robotic Process Automation (RPA) มาผสานใช้กับระบบปฏิบัติการคลาวด์ และ AI เพื่อเสริมประสิทธิภาพให้กับกระบวนการทำงานให้มีความคล่องตัว ด้วยการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานให้เป็นในรูปแบบของอัตโนมัติ เพื่อให้สามารถทำงานที่เป็นประจำซ้ำๆ ได้เหมือนกับมนุษย์ “จากวิกฤติโควิด-19 ในครั้งนี้ ทำให้หน่วยงานต่างๆทั่วโลกให้ความสนใจกับมาตรการด้านสุขภาพกันมากขึ้น เทนเซ็นต์ คลาวด์ พร้อมมอบบริการระบบปฏิบัติการคลาวด์อัจฉริยะ ที่มีประสิทธิภาพ เสถียรภาพ และยืดหยุ่น สามารถปรับได้ตามความต้องการของลูกค้าด้วยความเข้าใจเชิงลึกในด้านการให้บริการแพลตฟอร์มขนาดใหญ่ เรามั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่า นวัตกรรมและเทคโนโลยีของเราจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถ และเสริมประสิทธิภาพในการยกระดับการบริหารจัดการด้านสุขภาพของทุกองค์กร” มร. โพชู กล่าวสรุป