อุปกรณ์สวมใส่รุ่นใหม่ เปลี่ยนมนุษย์ให้เป็นแบตเตอรี่ได้

Date Post
24.02.2021
Post Views

นักวิจัยจาก CU Boulder พัฒนาอุปกรณ์สวมใส่ราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนร่างกายมนุษย์ให้เป็นแบตเตอรี่ชีวภาพได้ โดยอุปกรณ์ดังกล่าวได้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Science Advances มีลักษณะที่ยืดหยุ่นสูง สามารถสวมใส่ได้เหมือนแหวน สร้อยคอ หรือเครื่องประดับอื่น ๆ ที่สัมผัสกับผิวหนังได้ เมื่อแนบติดกับผิวหนังจะสามารถรับความร้อนตามธรรมชาติของมนุษย์เพื่อทำให้เกิดการสร้างพลังงานแบบ Thermoelectric โดยเปลี่ยนอุณหภูมิตามธรรมชาติให้กลายเป็นไฟฟ้า

การพัฒนาอุปกรณ์สวมใส่แบบใหม่นี้อาจทำให้ในอนาคตอันใกล้นั้นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บางประเภทอาจไม่ต้องการแบตเตอรี่อีกต่อไป แนวคิดนี้อาจเหมือนหลุดจากภาพยนต์ดังอย่าง The Matrix ที่หุ่นยนต์และเครื่องจักรนั้นใช้มนุษย์เป็นแหล่งพลังงาน โดยอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นมานั้นสามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าได้ 1 โวลต์ ทุก ๆ พื้นที่ 1 ตารางเซนติเมตรของผิวหนัง มีกำลังไฟต่อพื้นที่น้อยกว่าแบตเตอรี่แบบดั้งเดิมที่มีในปัจจุบันแต่ยังคงพอเพียงสำหรับให้พลังงานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างนาฬิกาหรืออุปกรณ์ Fitness Tracker

แม้ว่าจะมีนักวิทยาศาสตร์มากมายมีแนวคิดเกี่ยวกับอุปกรณ์สวมใส่ที่เป็น Thermoelectric แต่สำหรับทีมวิจัยนี้นั้นแตกต่างด้วยความสามารถในการยืดหดได้ ทั้งยังสามารถเยียวยาตัวเองได้เมื่อเกิดความเสียหายและสามารถรีไซเคิลได้เต็มรูปแบบ อุปกรณ์แบบใหม่นี้จึงเป็นทางเลือกที่สะอาดปลอดภัยสำหรับโลกนี้มากกว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบดั้งเดิม

นวัตกรรมที่คนนิยมใช้ในการทำวัสดุที่มีความยืดหยุ่นในปัจจุบัน คือ Polyimine ซึ่งนักวิยาศาสตร์ได้นำมาคิดเข้ากับชิป Thermoelectric แบบบาง เชื่อมระบบเข้าด้วยกันด้วยโลหะเหลว ภาพสุดท้ายที่้เกิดขึ้นจึงเป็นเหมือนกับลูกผสมระห่างกำไลข้อมือพลาสติกและแผงเมนบอร์ดย่อส่วน หากจะบอกว่าเหมือนกับแหวนเพชรแห่งเทคโนโลยีก็ยังเข้าเค้าอยู่เหมือนกัน

การออกแบบที่เกิดขึ้นนั้นทำให้ทั้งระบบสามารถยืดหยุ่นได้โดยไม่ต้องให้วัสดุ Thermoelectric เจอกับค่าความเครียดมากนักเนื่องจากวัสดุเหล่านี้มักจะมีความเปราะบางเป็นทุนเดิม ลองจินตนาการถึงการวิ่งออกกำลังกาย เมื่อร่างกายเพิ่มอุณหภูมิขึ้นและความร้อนระบายออกไปสัมผัสกับอากศเย็น ๆ รอบตัว เราอาจเรียกได้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการเสียเปล่า เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาในกลุ่ม Thermoelectric นี้จะช่วยจับกระแสที่ไหลลอดออกไปนั้นมาเป็นพลังงานแทนที่จะเป็นการสูญเสียไปอย่างเปล่าประโยชน์

หากต้องการเพิ่มพลังงานก็สามารถทำได้โดยง่าย เพียงเพิ่มบลอคสำหรับตัวสร้างกระแสเพิ่มเข้าไปคล้ายกับการต่อ Lego นั่นเอง และหากอุปกรณ์เกิดการฉีกขาดก็สามารถนำส่วนที่ฉีกขาดวางต่อกันและจะประสานตัวในเวลาเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น คาดว่าใช้เวลา 5 – 10 ปีในการออกสู่ตลาด

ที่มา:
Colorado.edu

บทความที่เกี่ยวข้อง:
นักวิจัยพัฒนาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ Hybrid อัจฉริยะยุคใหม่สำหรับ Wearable Tech
Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Thossathip Soonsarthorn
"Judge a man by his questions rather than his answers" Voltaire