นักวิจัยพบสารเคมีอันตรายในของเล่นพลาสติกที่สามารถพบเจอได้ทั่วไป

Date Post
21.04.2021
Post Views

งานวิจัยชิ้นใหม่เปิดเผยให้เห็นว่ามีสารเคมีมากกว่า 100 ชนิดที่พบในพลาสติกที่ใช้ทำของเล่นซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กได้ การค้นพบนี้จะนำไปสู่ข้อกำหนดต่าง ๆ ที่ต้องมีความรัดกุมยิ่งขึ้น

การใช้สารเคมีหลากหลายชนิดในของเล่นพลาสติกนั้นเกิดขึ้นมาเป็นเวลานานในหลากหลายภาคส่วนของโลก ซึ่งสารเคมีเหล่านี้ส่งผลร้ายต่อสุขภาพของมนุษย์ไม่น้อย ต้องยอมรับว่ามันเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ปกครองที่จะรู้ว่าพลาสติกแบบไหนควรจะหลีกเลี่ยง และของเล่นพลาสติกแบบใดที่เป็นอันตรายต่อบุตรหลานที่เป็นเหมือนดังดวงใจ

ในภาพรวมที่เกิดขึ้นนั้นพลาสติกที่มีความอ่อนนุ่มมีโอกาสที่จะสัมผัสกับสารเคมีที่เป็นอันตรายได้มากกว่า เนื่องจากเด็ก ๆ มักจะสูดดมกลิ่นของเล่นเหล่านี้ที่กระจายออกจากของเล่นภายในห้องแม้ว่าปกติจะเล่นของเล่นทีละชิ้นสองชิ้นก็ตามที

ข้อบังคับและการแจกแจงรายละเอียดบนลาเบลแต่ละพื้นที่หรือประเทศนั้นแตกต่างกันออกไป และที่สำคัญ คือ ในประเด็นเหล่านี้ไม่มีข้อตกลงนานาชาติว่าสารตั้งต้นตัวไหนควรถูกแบนในการใช้งานสำหรับวัสดุสำหรับของเล่น ส่วนใหญ่แล้วข้อกำหนดและรายชื่อสารเคมีที่ต้องระวังระดับสากลในกลุ่มของเล่นมักจะเป็นสารตั้งต้นที่มีคุณสมบัติอันตรายแต่เดิม เช่น Phthalates แต่สิ่งที่มีนั้นไม่ครอบคลุมได้กว่างพอสำหรับสารเคมีที่ใช้ในพลาสติกสำหรับของเล่น

นักวิจัยจาก DTU และ University of Michigan ร่วมมือกับ UN Environment ค้นลึกลงไปในปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลสำหรับฟังก์ชันของสารเคมี และปริมาณสารเคมีที่พบในของเล่นพลาสติก ทั้งยังสำรวจปริมาณเด็กที่ได้รับผลกระทบและความเสี่ยงต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยทีมวิจัยได้จัดอันดับสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านสุขภาพและเปรียบเทียบผลลัพธ์กับรายชื่อสารตั้งต้นที่ถูกจัดลำดับไว้แล้วจากทั่วโลก

จากสารเคมีกว่า 419 ชนิดที่พบในวัสดุพลาสติกแข็ง พลาสติกอ่อน และโฟมซึ่งใช้ในของเล่นเด็ก ทีมวิจัยพบว่ามาสารตั้งต้นมากถึง 126 ชนิดที่ทำร้ายสุขภาพของเด็กไม่ว่าจะเป็นการก่อให้เกิดมะเร็ง หรือไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง รวมถึง Plasticizer (สารเติมแต่ง) 31 ชนิด คุณสมบัติติดไฟง่าย 18 ชนิด และกลิ่นที่เป็นปัญหาอีก 8 ชนิด นักวิจัยได้อธิบายถึงขอบเขตนิยามคำว่า ‘อันตราย’ โดยหมายถึงสารเคมีเหล่านี้ส่งผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจเกิน Reference Doses (RfD) หรือความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งสำหรับทางเดินหายใจที่มีมากเกินค่าที่กำนหด ซึ่งสารเหล่านี้ควรถูกจัดลำดับและยเลิกการใช้งานสำหรับวัตถุดิบของเล่น เปลี่ยนมาใช้สารตั้งต้นหรือวัตถุดิบที่มีความปลอดภัยมากกว่า

หนึ่งในทีมวิจัยเปิดเผยว่าผู้ผลิตของเล่นมักไม่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้กับของเล่น และฐานข้อมูลของสารประกอบของของเล่นก็หายไป อย่างไรก็ตามทีมวิจัยได้เก็บข้อมูลสารประกอบเหล่านี้โดยมีการศึกษาและทดสอบวัสดุทางเคมีกว่า 25 แบบที่แตกต่างกันออกไป

ข้อมูลที่เก็บมานั้นมีทั้งรายละเอียดแบบแผนที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาที่เด็กใช้กับของเล่นนั้น ๆ หรือมีการหยิบของเล่นเข้าปากหรือไม่ และเด็กหนึ่งคนจะมีของเล่นจำนวนเท่าไหร่ในบ้าน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้สามารถประมาณการโอกาสของการสัมผัสสารเคมีได้

สำหรับประเทศตะวันตกแล้วเด็กหนึ่งคนมีของเล่นพลาสติกเฉลี่ย 18 กิโลกรัม ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีของเล่นพลาสติกมากมายแค่ไหนที่รายล้อมเจ้าตัวเล็กอยู่ในชีวิตประจำวัน ซึ่งพลาสติกเนื้ออ่อนหรือพลาสติกอ่อนนั้นสามารถก่อให้เกิดการสัมผัสกับสารที่เป็นอันตรายได้มากกว่าสำหรับการสูดดม

แม้ว่าจะมีรายชื่อสารเคมีที่ต้องระวังยาวเหยียด แต่ทว่าในปัจจุบันยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนออกมามากนัก ทีมวิจัยจึงได้เสนอ Benchmark สำหรับการเฝ้าระวังและควบคุมสารเคมีเหล่านี้โดยมีพื้นฐานจากวัสดุที่มีโอกาสสัมผัสและความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ซึ่งความเข้มข้นในการใช้งานก็ถือเป็นอีกตัวแปรสำคัญในประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น

แนวความคิด Maximum Acceptable Chemical Content (MACC) หรือปริมาณการรับสารเคมีสูงสุดที่จะเกิดขึ้นได้กลายเป็นแนวทางเบื้องต้นในการรายงานสารเคมีที่พบในของเล่นพลาสติก ข้อมูลที่เกิดขึ้นจะช่วยให้ผู้มีส่วนในการตัดสินใจทั้งหลายสามารถพัฒนา Benchmark สำหรับสารเคมีในแต่ละการใช้งานที่เกิดขึ้น ซึ่งยังช่วยบริษัทผู้ผลิตของเล่นในการประเมิณปริมาณสารเคมีที่ใช้ในฟังก์ชันบางอย่างที่มีความจำเพาะว่าขัดต่อ Benchmark หรือไม่

สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง ทีมวิจัยแนะนำให้หลีกเลี่ยงของเล่นที่เป็นพลาสติกอ่อน และอย่าลืมระบายอากาศในห้องเด็กทุกวัน

ที่มา:
Man.dtu.dk

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง:
กนอ.-JICA โชว์นวัตกรรมเครื่องเก็บตัวอย่างกลิ่น
Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Thossathip Soonsarthorn
"Judge a man by his questions rather than his answers" Voltaire