อย่าเข้าใจผิด! การดื่มกาแฟแบบปกติในชีวิตประจำวันไม่ได้ก่อให้เกิดอาการเกี่ยวกับโรคหัวใจโดยเฉพาะอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งความเข้าใจดังกล่าวเป็นความเชื่อที่ถูกส่งต่อมาอย่างเลื่อนลอยเป็นเวลานาน
จากการศึกษาของ UC San Francisco ไม่พบหลักฐานใด ๆ ที่บ่งชี้ว่าการบริโภคกาแฟในระดับปานกลางจะก่อให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งตามข้อมูลที่ได้ยังเปิดเผยอีกว่าการดื่มกาแฟเป็นประจำทุกวันจากตัวอย่างหลายพันคนทำให้มีความเสี่ยงของหัวใจเต้นผิดจังหวะลดลง 3% รวมถึงอาการหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว, Premature Venticular และโรคเกี่ยวกับหัวใจอื่น ๆ อีกด้วย โดยการศึกษานี้ยังมีการติดตามข้อมูลต่ออีก 4 ปี
ในช่วงเวลาที่ผ่านมาผู้เชี่ยวชาญในสังคมต่างพากันออกมาบอกให้หลีกเลี่ยงคาเฟอีนเพื่อลดโอกาสของหัวใจเต้นผิดจังหวะซึ่งไม่มีหลักฐานอ้างอิงแต่อย่างใด แต่ในทางกลับกันการบริโภคกาแฟกลับให้ประโยชน์เสียด้วยซ้ำ เช่น ลดโอกาสการเกิดมะเร็ง โรคเบาหวาน หรือโรคพาร์กินสัน
การศึกษานั้นเน้นไปทีท่การบริโภคกาแฟเป็นกิจวัตรว่าเกี่ยวข้องกับการเกิดขึ้นของอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่ และพันธุกรรมจะเกิดการเปลี่ยนแปลงจากผลกระทบในการดูดซึมคาเฟอีนหรือไม่ โดยกลุ่มตัวอย่าง 386,258 คนได้เข้าร่วมในการทดสอบ มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 56 ปี มีสตรีเกินกว่าครึ่งหนึ่งของผู้เข้าร่วมมาเล็กน้อย
จากการศึกษาที่ต่อเนื่องหลังการทดสอบถึง 4 ปี พบว่ามีกลุ่มตัวอย่างเพียง 4% เท่านั้นที่เกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะขึ้น แต่กลับไม่พบหลักฐานยืนยันการเพิ่มความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบพันธุกรรมหรือตรวจสอบกระบวนการดูดซึมคาเฟอีนที่ีแตกต่างกัน นักวิจัยกล่าวว่าการบริโภคกาแฟในปริมาณที่เพิ่มขึ้นจะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะเสียมากกว่า
ข้อจำกัดของการศึกษานี้ คือ การไม่ได้ลงรายละเอียดไว้ว่ากาแฟที่บริโภคนั้นเป็นประเภทใด เป็น Espresso (กาแฟร้อน) หรือไม่ และการทดสอบทางคลินิคก็เกิดขึ้นแบบสุ่มแต่ก็สามารถแสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนเพียงพอที่จะยืนยันได้ว่าการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนนั้นไม่มีหลักฐานใดที่จะทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะได้
ที่มา:
Ucsf.edu
เนื้อหาที่น่าสนใจ: Robosta Cafe’ โรงงานผลิตกาแฟระบบอัตโนมัติที่ทุกคนสัมผัสได้ |