MIT จับมือ Ericsson วิจัยระบบโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายเคลื่อนที่ยุคใหม่

Date Post
20.08.2021
Post Views

แม้ว่าเราจะเพิ่งเข้าสู่ยุค 5G มาไม่นาน แต่การเติบโตของเทคโนโลยียังคงต้องเดินทางต่อไปเพื่อสรรค์สร้างสิ่งที่ดีกว่าให้กับสังคมมนุษย์ MIT Materials Research Laboratory จึงได้จับมือกับ Ericsson เพื่อร่วมมือกันในโครงการวิจัย 2 ชิ้นเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายใหม่ขึ้นสำหรับอุปกรณ์เครือข่ายเคลื่อนที่

สิ่งสำคัญสำหรับเครือข่ายพื้นฐาน คือ ความรวดเร็ว ความหน่วงที่ต่ำและการใช้งานที่เชื่อมั่นในคุณภาพการเชื่อมต่อได้ แน่นอนว่าการยกระดับสิ่งเหล่านี้ในสัดส่วนขนาดใหญ่นำมาซึ่งความซับซ้อนที่มากยิ่งขึ้นสำหรับผู้ให้บริการเครือข่าย Ericsson จึงได้ทำการวิจัยระบบเครือข่ายแบบ Cognitive ขึ้นซึ่งอาศัยการใช้งานปัญญาประดิษฐ์หรือ AI เพื่อทำให้เกิดความปลอดภัย การทำงานแบบอัตโนมัติ และปฏิบัติการณ์ด้านเครือข่ายที่ผลักดันโดยใช้ข้อมูลเป็นแกนกลาง

งานวิจัย 2 โครงการที่จะเกิดขึ้นนั้นจะให้ความสำคัญกับพลังในการประมวลผล ความเร็ว และการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพของเครือข่าย Cognitive โดยความสนใจแรกนั้นอยู่ที่การศึกษาพื้นฐานเพื่อค้นหาวัสดุใหม่ ๆ สำหรับชิปประมวลผลหรือ Computer Chip ที่ลอกเลียนแบบโครงสร้างสมองขอมนุษย์เพื่อที่จะได้ใช้พลังงานได้น้อยกว่าชิปที่ผลิตจากซิลิคอนทุกวันนี้ โครงการนี้ยังรวมถึงการวิจัยอุปกรณ์ที่ใช้วัสดุเหล่านั้นมถึงโครงสร้างสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ที่ระบบต้องใช้งาน

โครงการที่ 2 นั้นเป็นการร่วมมือกันสำรวจวิธีที่ทำให้ระบบอิเล็กทรอนิกในอนาคตนั้นเป็นระบบอัตโนมัติได้อย่างแท้จริงด้วยการกำจัดความต้องการในการประจุพลังงานแบบการชาร์จออกไป แต่ทีมวิจัยตั้งเป้าการประจุพลังงานผ่านอากาศโดยใช้คลื่นความถี่วิทยุที่ใช้กันในโทรทัศน์หรือสัญญาณสำหรับการสื่อสารแทน

แนวความคิดเหล่านี้เป็นการต่อยอดจากเทคโนโลยี 5G ที่เปิดทางสู่ IoT และโลกแห่งการเชื่อมต่อ ซึ่งในอนาคตอันใกล้อุปกรณ์ IoT จำนวนมหาศาลเหลือคณานับกับ AI จะเกิดขึ้นและโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ในปัจจุบันจะไม่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นตัวเทคโนโลยี โซลูชัน หรือตัวฮาร์ดแวร์เอง

สำหรับโครงการแรก Lithionics จะกลายเป็นส่วนสำคัญของความเปลี่ยนแปลง โดย Lithioincs นั้นมาจากคามคิดพื้นฐานในการใช้วัสดุอย่างลิเธียมที่ปกติมักใช้ในการกักเก็บพลังงานหรือใช้เป็นแบตเตอรี่ แต่นอกเหนือไปจากการใช้งานในการเป็นแบตเตอรี่แล้วความเป็นไปได้อื่น ๆ สำหรับลิเธียมในอนาคตนั้นอาจเป็นการเก็บข้อมูล การส่งต่อข้อมูล หรือการประมวลผลข้อมูลก็อาจเป็นไปได้ ซึ่งทีมวิจัยโครงการแรกให้ความสำคัญกับการพัฒนาวัสดุภายใต้แนวคิดในการใช้ประโยชน์จากลิเธียมเป็นสำคัญ

ในโครงการที่ 2 นั้นเป็นการต่อยอดจากแนวคิดที่มีอุปกรณ์จำนวนมหาศาลในระบบไม่ใช่แค่หลักร้อยล้านแต่กำลังพูดถึงอุปกรณ์ระดับพ้นล้านหรือล้านล้านชิ้น เป้าหมายของโครงการที่ 2 จึงเป็นความพยายามในการสร้างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไร้สายและเป็นอุปกรณ์อัตโนมัติอย่างแท้จริงซึ่งทีมวิจัยเรียกว่า Zero-power Systems ซึ่งเป็นระบบที่ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับแบตเตอรี่หรือสถานีชาร์จ โดยเทคโนโลยีใหม่นี้จะอาศัยคลื่นวิทยุ (RF) ใช้เป็นพลังงาน

ที่มา:
News.mit.edu

เนื้อหาที่น่าสนใจ:
‘Wi-Fi 6’ อีกหนึ่งเทคโนโลยีเครือข่ายที่มาแรงไม่แพ้ 5G ตอบรับการปรับตัวของเทรนด์ดิจิทัลในระดับโลก
Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Thossathip Soonsarthorn
"Judge a man by his questions rather than his answers" Voltaire
Digitech2024