TPIPP พร้อมเดินหน้าขยายการลงทุนโรงไฟฟ้าขยะเพิ่มเติม ดันกำลังการผลิตไฟฟ้าเป็น 526 เมกกะวัตต์ ภายในปี 2567 เพื่อชดเชย Adder บางส่วนที่ทยอยหมดอายุลง พร้อมเปิดเผยความคืบหน้าโครงการจิกะโปรเจกต์
นายภัคพล เลี่ยวไพรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายบัญชีและการเงิน TPIPP เปิดเผยว่า ปัจจุบันบริษัทฯ อยู่ระหว่างการลงทุนในโครงการต่าง ๆ ดังนี้ (1) โครงการโรงไฟฟ้าขยะมูลฝอยระยะที่ 2 ของเทศบาลนครนครราชสีมา กำลังการผลิตติดตั้ง 12 เมกะวัตต์ ระยะเวลาซื้อขายไฟฟ้าตามสัญญา 20 ปี โดยคาดว่าจะเริ่มผลิตไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายได้ในเดือนเมษายน 2566 ส่งผลให้มีรายได้ และ EBITDA เพิ่มประมาณ 480 ล้านบาท และ 350 ล้านบาท ต่อปี
Vacon อินเวอร์เตอร์พร้อม PLC ในตัว | ทนทาน และสนับสนุน Preventive Maintenance [Super Source]
(2) โครงการโรงไฟฟ้าขยะองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา กำลังการผลิตติดตั้ง 9.9 เมกะวัตต์ ระยะเวลาซื้อขายไฟฟ้าตามสัญญา 20 ปี โดยคาดว่าจะเริ่มผลิตไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายได้ในเดือนเมษายน 2566 ส่งผลให้มีรายได้ และ EBITDA เพิ่มประมาณ 400 ล้านบาท และ 300 ล้านบาท ต่อปี (3) โครงการผลิตเชื้อเพลิง RDF เพื่อใช้ในโรงงานปูนซิเมนต์ของ TPIPL เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกเป็นการช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมของโลก และจะส่งผลให้มีรายได้ และ EBITDA เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ทั้งนี้ TPIPP ตั้งเป้าเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าภายในปี 2567 นี้ โดยเข้าร่วมประมูลโครงการโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทฯ มี EBITDA เพิ่มขึ้นจนสามารถชดเชย Adder ของโรงไฟฟ้า TG3 (18MW) และ TG5 (55MW) ที่จะทยอยหมดอายุลงในเดือนมกราคม และสิงหาคม 2565 นี้ ได้ (โดยภายหลังระยะเวลาดังกล่าว โรงไฟฟ้า TG3 และ TG5 ยังสามารถจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ EGAT ที่ราคาไฟฟ้าฐานได้) และบริษัทฯยังมีโรงไฟฟ้า TG4 และ TG6 ที่มีสัญญาจำหน่ายไฟฟ้าจำนวน 90 เมกะวัตต์ ที่ได้รับ Adder จาก EGAT
- TPIPP โชว์ผลงาน ไตรมาสแรก รายได้แตะ 2,650 ล้านบาท
- TPIPP เตรียมแผนรองรับธุรกิจโรงไฟฟ้า
- TPIPP เดินหน้าประมูลโรงไฟฟ้าขยะชุมชน 70 MW
- TPIPPF โชว์รายได้ปี 62 ทะลุ 10,905 ล้านบาท
ในส่วนความคืบหน้าโครงการเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต หรือ Prototype City of Advanced Futuristic Industries (PAFI) อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา มูลค่าลงทุนไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้านบาท เพื่อลงทุนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดสีเขียว นิคมอุตสาหกรรม การก่อสร้างท่าเรือเพื่อการพาณิชย์และการท่องเที่ยว คลังสินค้า และเมืองอัจฉริยะ อยู่ระหว่างเจรจาหาพันธมิตรต่างประเทศ เพื่อการร่วมลงทุนโดยมีผู้ลงทุนจากประเทศ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น เยอรมัน และมาเลเซีย ซึ่งได้ให้ความสนใจลงทุนในโครงการดังกล่าว
ในส่วนของการดำเนินการของภาครัฐ ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน (ผังเมือง) และบริษัทฯ ได้ยื่นคำขอรับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) แล้ว 3 โครงการ และอยู่ระหว่างการเตรียมเอกสารเพื่อยื่นคำขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับโครงการที่เหลือ ควบคู่ไปกับการจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โดย TPIPP ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายอย่างเคร่งครัดในทุกโครงการ