World Economic Forum หรือ WEF เปิดเผยรายงาน Global Competitiveness Index 4.0 2019 edition ดัชนีศักยภาพการแข่งขันทั่วโลกที่เกิดขึ้นในปี 2019 โดยประเทศไทยถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 40 จาก 141 ลำดับ
สำหรับในปี 2019 นั้นจากการจัดลำดับประเทศไทยตกลงมาจากลำดับที่ 38 ในปี 2018 มีการใช้พลังงานทดแทนหรือพลังงานหมุนเวียนสูงถึง 22% โดยทำการประเมินศักยภาพผ่าน 12 หัวข้อหลัก ได้แก่
- สถาบันหลัก (Institution) ได้คะแนน 54.8 คะแนน อยู่ลำดับที่ 67 ประเทศที่มีคะแนนดีที่สุด ฟินแลนด์
- โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ได้คะแนน 67.8 คะแนน อยู่ลำดับที่ 71 ประเทศที่มีคะแนนสูงที่สุด สิงคโปร์
- การปรับใช้เทคโนโลยี ICT (ICT Adoption) ได้คะแนน 60.1 คะแนน อยู่ลำดับที่ 62 ประเทศที่มีคะแนนสูงที่สุด เกาหลีใต้
- ความมั่นคงของเศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomy Stability) ได้คะแนน 90 คะแนน อยู่ลำดับที่ 43 ประเทศที่มีคะแนนสูงที่สุด หลายประเทศ (33 ประเทศ)
- สุขภาพ (Health) ได้คะแนน 88.9 คะแนน อยู่ลำดับที่ 38 ประเทศที่มีคะแนนสูงที่สุด หลายประเทศ (4 ประเทศ)
- ทักษะ (Skills) ได้คะแนน 62.3 คะแนน อยู่ลำดับที่ 73 ประเทศที่มีคะแนนสูงที่สุด สวิตเซอร์แลนด์
- ตลาดผลิตภัณฑ์ (Product Market) ได้คะแนน 53.5 คะแนน อยู่ลำดับที่ 84 ประเทศที่มีคะแนนสูงที่สุด ฮ่องกง
- ตลาดแรงงาน (Labour Market) ได้คะแนน 63.4 คะแนน อยู่ลำดับที่ 46 ประเทศที่มีคะแนนสูงที่สุด สิงคโปร์
- ระบบการเงิน (Financial System) ได้คะแนน 85.1 คะแนน อยู่ลำดับที่ 16 ประเทศที่มีคะแนนสูงที่สุด ฮ่องกง
- ขนาดตลาด (Market Size) ได้คะแนน 75.5 คะแนน อยู่ลำดับที่ 18 ประเทศที่มีคะแนนสูงที่สุด จีน
- พลวัตทางธุรกิจ (Business Dynamism) ได้คะแนน 72 คะแนน อยู่ลำดับที่ 21 ประเทศที่มีคะแนนสูงที่สุด สหรัฐอเมริกา
- ความสามารถด้านนวัตกรรม (Innovation Capability) ได้คะแนน 43.9 คะแนน อยู่ลำดับที่ 50 ประเทศที่มีคะแนนสูงที่สุด เยอรมนี
จะเห็นได้ว่าประเทศไทยนั้นมีจุดเด่นอยู่ที่ระบบการเงิน มีความเสถียรภาพของเศรษฐศาสตร์มหภาคในระดับสูง คะแนนศักยภาพโดยมากขอวประเทศไทยเรียกได้ว่าเกาะเส้นกลางเป็นส่วนใหญ่ แต่ที่น่าตกใจ คือ ความสามารถด้านนวัตกรรมที่เรียกได้ว่าตกเกณฑ์กลาง ซึ่งมีจุดอ่อนสำคัญอยู่ที่ส่วนของงานวิจัยและพัฒนาซึ่งมีคะแนนเพียง 33.6 คะแนน และในหมวดย่อยนี้ญี่ปุ่นถูกจัดให้เป็นอันดับ 1 ด้านวิจัยและพัฒนา
ที่มา:
Weforum.org