ที่มาภาพ: José-Luis Olivares, MIT

ระบบเก็บพลังงานแบบใหม่เปลี่ยน Wi-Fi ให้เป็นพลังงานที่สามารถใช้ได้

Date Post
31.03.2020
Post Views

อุปกรณ์ที่สามารถควบคุมคลื่นรังสีระดับ Terahertz ได้นั้นมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นอุปกรณ์แจกจ่ายพลังงานหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่ได้

ที่มาภาพ: José-Luis Olivares, MIT

อุปกรณ์ใด ๆ ก็ตามที่สามารถส่งสัญญาณ Wi-Fi ได้ย่อมปลดปล่อยคลื่น Terahertz ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กที่มีความถี่อยู่ระหว่างไมโครเวฟและแสงอินฟาเรดออกมาด้วย คลื่นรังสีความถี่สูงนี้รู้จักกันในชื่อ T-Rays

คลื่น Terahertz นั้นพบได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน และหากนำคลื่นเหล่านี้มาทำให้เกิดความเข้มข้นก็จะสาสามารถกลายเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกใหม่ได้ ลองจินตนาการถึงพวกอุปกรณ์เสริมโทรศัพท์ที่ปล่อย T-Rays ออกมาเพื่อใช้ชาร์จมือถือดูก็ได้ครับ แต่ในปัจจุบันคลื่น Terahertz นั้นกลับกลายเป็นความสูญเปล่าอย่างน่าเสียดาย เนื่องจากไม่มีวิธีที่จะดักจับและเปลี่ยนมันให้เป็นพลังงานที่สามารถใช้ได้

นักฟิสิกส์จาก MIT จึงออกไอเดีย Blueprint สำหรับอุปกรณ์ที่เชื่อว่าสามารถจะแปลงเจ้า Terahertz ที่กระจัดกระจายอยู่ให้มารวมกันเพื่อสร้างกระแสไฟฟ้าที่สามารถจ่ายไฟฟ้าให้เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ในบ้านหลากหลายชนิดได้

ด้วยการใช้จุดเด่นจากวิศวกรรม Quantum หรือ Atomic Behavior จากคาร์บอนของกราฟีน พวกเขาพบว่าการผสมกราฟีนเข้ากับวัตถุดิบอื่น ซึ่งที่ทดลองใช้ Boron Nitride เจ้าอิเล็กตรอนของกราฟีนนั้นจะปรับเปลี่ยนการเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน คลื่น Terahertz ใด ๆ ก็ตามที่ผ่านมาควรจะถูกส่งไปในทิศทางนั้นด้วยอิเล็กตรอนของกราฟีน เหมือนกับการควบคุมทางเดินอากาศ

พลังงานที่ได้จะถูกแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC Current) ในเบื้องต้นนั้นวัตถุดิบที่ใช้จะต้องมีความสะอาดสูงมากหรือปราศจากการเจือปนใด ๆเพื่อให้อิเล็กตรอนผ่านไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งมีพลังงาน Terahertz เข้ามามากเท่าไหร่ยิ่งแปลงไฟฟ้ากระแสตรงได้มากเท่านั้น

การวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนโดยหน่วยวิจัยของกองทัพสหรัฐและสำนักงานวิจัยภายใต้สถาบันนาโนเทคโนโลยีสำหรับทหาร (ISN)

ที่มา:
News.mit.edu

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Thossathip Soonsarthorn
"Judge a man by his questions rather than his answers" Voltaire