ใช่ว่าวิกฤติจากไวรัสโคโรนาจะพาทุกอย่างพังไปเสียหมดทีเดียว สภาพแวดล้อมของโลกเรากลับได้รับการเยียวยาวให้ดีขึ้นหลังมนุษยชาติเริ่มกักตัวและลดกิจกรรมต่าง ๆ ลงอย่างมาก ทำให้โลกที่กำลังย่ำแย่ฟื้นตัวขึ้นมาได้ในระยะเวลาอันสั้น World Economic Forum จึงได้เสนอ 5 แนวทางที่จะช่วยให้รักษาการฟื้นตัวเหล่านี้เอาไว้ได้อย่างยั่งยืน
การมาถึงของ COVID-19 นั้นได้สร้างความเปลี่ยนแปลงขึ้นทั่วโลกตั้งแต่ราชการไปจนถึงภาคธุรกิจ อะไรที่เคยคิดว่าไม่น่าทำได้ก็เกิดขึ้น ช่วงเวลานี้จึงเหมือนกับการถูกกลั่นกรองให้เหลือเพียงแต่สิ่งที่จำเป็นเท่านั้นเพื่อตอบสนองให้เกิดการอยู่รอดของผู้คนและองค์กร
ตัวอย่างที่เราเห็นได้ชัดและใกล้ตัวอย่างหนึ่ง คือ การทำงานจากที่บ้าน หรือ Work From Home สำหรับตำแหน่งในออฟฟิศต่าง ๆ ที่ทำได้ หรือการผลัดกันเข้าเวรอยู่หน้างานบางส่วน การลดจำนวนแรงงานที่เกินความจำเป็นหรือไม่สามารถทำงานได้ตามเป้าหมาย
ถ้าเรายังคงทำแบบเดิม ใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลจำนวนมหาศาล การยกเว้นมาตรการทางสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ไปจนถึงสนับสนุนการผลิตแบบไม่ลืมหูลืมตาอนาคตก็คงไม่แคล้วพบเจอกับวิกฤตการณ์อีกเหมือนเดิม World Economic Forum จึงได้เสนอ แนวคิด 5 ประเด็นที่สามารถช่วยสร้างโอกาสในระยะยาวได้
1. ประเมินความเสี่ยงใหม่อีกครั้ง
เราต่างก็รู้ความเสี่ยงในสถานการณ์ต่าง ๆ ล่วงหน้าผ่านการคาดการณ์และวิสัยทัศน์ของผู้ประสบความสำเร็จ เช่น Bill Gates ที่ประกาศเกี่ยวกับแนวโน้มของไวรัสที่สามารถฆ่าคนได้มากกว่า 10 ล้านคน โดยพุ่งเป้าไปที่ไวรัสที่สามารถระบาดได้ผ่าน Ted Talk เมื่อปี 2015 แต่สิ่งเหล่านี้ต้องเกิดความเสียหายเสียก่อนภาคส่วนต่าง ๆ จึงจะเริ่มลงมือทำอะไรสักอย่าง
ปัญหาด้านสภาพแวดล้อมก็เช่นกัน ปัจจุบันมีการศึกษาจากวารสารทางการแพทย์ออกมาว่าจะมีผู้คนเสียชีวิตจากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงราว 5 แสนคนภายในปี 2050 หากการระบาดครั้งนี้เป็นบนเรียนที่สอนเราถึงผลกระทบอันเฉียบพลัน เราต้องวางแผนล่วงหน้าให้รัดกุมและมีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น
Modern Manufacturing: การวางแผนบริหารจัดการที่ประเมินความเสี่ยงให้ครอบคลุมถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี แต่การกำหนดแนวนโยบายในกรณีฉุกเฉินภายใต้สถานการณ์วิกฤตหรือขั้นตอนการดำเนินการและการตัดสินใจที่ชัดเจนจะสามารถช่วยให้ตอบสนองต่อปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่การประเมินความเสี่ยงที่ครอบคลุมนั้นสามารถบริหารจัดการในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิผล
2. ฟังมุมมองในระดับสากล
สิ่งที่ทำให้เราตระหนักได้จาก COVID-19 คือ ‘เราทุกคนต้องเผชิญหน้าสิ่งนี้เหมือนกัน’ เช่น การที่จีนส่งความช่วยเหลือให้กับอิตาลีแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์การเมือง ก้าวข้ามความนึกคิดการแบ่งแยกและเข้าสู่ความรู้สึกของผลกระทบที่มีร่วมกัน
แม้เส้นทางที่มองเห็นจะแบ่งออกเป็นการแยกดำเนินการรายประเทศหรือเป็นหนึ่งเดียวกันทั้งโลก แต่ความเข้าใจกันที่เพิ่มมากขึ้นภายใต้สถานการณ์และความเชื่อมโยงจะสามารถช่วยสร้างโมเมนตัมให้กับการดำเนินการทางนโยบายสิ่งแวดล้อม
Modern Manufacturing: ปฏิเสธไม่ได้ว่าวิสัยทัศน์จากผู้มีอิทธิพลในตลาดหรือวงการเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถนำมาต่อยอดและปรับปรุงนโยบายในการทำธุรกิจได้ แต่สิ่งสำคัญ คือ วิสัยทัศน์และมุมมองของผู้บริหารในองค์กรที่มีต่อความสำคัญในสถานการณ์ต่าง ๆ การมองเห็นถึงแนวทางดำเนินการของธุรกิจในอนาคตสามารถพาองค์กรขึ้นเป็นผู้นำ ไม่ว่าจะเป็นการอ้างอิงจากข้อมูลเทรนด์ในตลาด ซึ่งแนวโน้มที่อ่านจากเทรนด์ได้ทั้งหลายสามารถเป็นตัวชี้วัดที่บอกเราได้ว่าควรทำหรือไม่ทำอะไร
3. ให้ความสำคัญกับคนไว้ลำดับบนสุด
การตอบสนองต่อ COVID-19 นั้นถูกสะท้อนออกมาผ่านภาพของผู้ป่วย ทีมแพทย์ และกลุ่มที่ออกมาตอบสนองต่อสถานการณ์อย่างรวดเร็ว เอกชนหลายแห่งดำเนินการนโยบาย Social Distancing สนับสนุนการช่วยเหลือผู้สูงอายุ อาสาสมัตรทำงานด้านสาธารณสุข หรือธนาคารอาหาร แสดงออกถึงพละกำลังที่จะเกิดขึ้นได้หากมีการร่วมมือกันภายใต้เป้าประสงค์เดียวกัน
ธุรกิจนั้นหันเหสายการผลิตสู่การสนับสนุนอุปกรณ์การแพทย์และสิ่งของที่เกี่ยวกับสาธารณสุขผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของตัวเอง นอกจากนี้ยังให้การสนับสนุนแรงงานอีกหลากหลายทาง เช่น เพิ่มเงิน แสดงให้เห็นว่า Agile สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ท่ามกลางวิกฤตได้อย่างไร สำหรับภาครัฐที่ให้ความมั่นใจกับความช่วยเหลือจำนวนมากแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระจากไวรัสที่ดูไปก็คล้ายกับการแข่งขันไปให้ถึงยอดเขาเพื่อสนับสนุนให้เกิดความสะดวกสบายแก่ประชาชนมากที่สุด
ซึ่งทั้งหมดนั้นแสดงให้เห็นถึงการตอบสนองต่อสัดส่วนใหญ่ในสถานการณ์วิกฤตทั่วโลกที่จะเป็นไปได้ เราต้องดำเนินการเพื่อที่จะตบอสนองต่อคลื่นเหล่านี้ในเชิงรุก โดยเฉพาะกลุ่มที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
Modern Manufacturing: มนุษย์ถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในทุกช่วงสถานการณ์ โดยเฉพาะการตอบสนองต่อเหตุการวิกฤติ การสนับสนุนให้เกิดทักษะ การดูแลสวัสดิการและสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานสามารถสร้างความแตกต่างได้ไม่เฉพาะช่วงเวลาวิกฤตแต่ยังคงสร้าง Productivity ในสถานการณ์ปรกติได้เป็นอย่างดีเช่นกัน
4. เชื่อผู้เชี่ยวชาญ
องค์ความรู้เป็นสิ่งสำคัญในการตอบสนองต่อปัจจัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ดังเช่นในเวลาแห่งการแพร่ระบาดของไวรัสนี้ จะยิ่งเห็นได้ชัดเลยว่าความรู้นั้นมีค่าเพัียงใดในการตอบสนองต่อสถานการณ์อย่างเร่งด่วน ไม่เชื่อก็ลองดูตัวอย่างรัฐบาลใกล้ตัวเปรียบเทียบกับรัฐบาลไต้หวันก็อาจจะเห็นภาพชัดยิ่งขึ้น หรือการที่เราเห็น”
เราควรจะรับฟังนักวิทยาศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม และผู้แนะนำด้านนโยบายเพื่อเอาชนะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงทำงานควบคู่ไปกับผู้เชี่ยวชาญภาคธุรกิจเพื่อให้เดินไปได้บนทางที่ถูกต้อง
Modern Manufacturing: ไม่ว่ากิจการธุรกิจหรืออุตสาหกรรมกลุ่มใดก็ตาม ความรู้ถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดการมีที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในด้านที่ทำไม่ว่าจะการผลิต ด้านธุรกิจ หรือการตลาดย่อมเป็นสิ่งที่ทำให้ได้ความกระจ่างชัดเจนยิ่งขึ้น แต่ความท้าทายสำคัญ คือ การนำความรู้จักผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้มาจัดลำดับความสำคัญและผสมผสานกันให้เกิดความลงตัว
5. เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม
หลายแง่มุมในการตอบสนองต่อ COVID-19 นั้นคล้ายคลึงกับการเปลี่ยนแปลงที่จะต้องเกิดขึ้นจากการ Disruption ต่าง ๆไม่ว่าจะด้วยเทคโนโลยีหรือปัญหาสภาพแวดล้อม สิ่งที่น่าสนใจในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเหล่านี้นั้นล้วนต้องการการเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้างวัฒนธรรม เช่น การมาถึงของไวรัสระบาดครั้งนี้ทำให้เกิดประสบการณ์ของการทำงานจากที่บ้าน มันอาจไม่ได้ต้องการเทคโนโลยีใหม่อะไรมากมาย แต่สิ่งที่สำคัญนั่นคือมันต้องการความคิดที่สดใหม่
เห็นได้ชัดว่าเครื่องมือทั้งหลายที่เราคิดและพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานทั้งหลายกลายเป็นเจตจำนงค์ทางการเมืองที่ก่อให้เกิดการประยุกต์ใช้ ไม่ว่า IIoT เทคโนโลยีการติดตาม Workflow ต่าง ๆ ภายใต้สถานการณ์ที่ถูกบีบบังคับเช่นนี้ ทำให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรหใม่ขึ้นภายใต้บริบทเฉพาะกาล
Modern Manufacturing: การสร้างความยั่งยืนให้กับแนวปฏิบัติใหม่ ๆ หรือการสร้างค่านิยมให้กลายเป็นจริงได้ในองค์กร จำเป็นต้องมีลักษณะของวัฒนะธรรมองค์กรที่ส่งเสริมให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้อย่างสมเหตุสมผล ทำให้ง่ายต่อการปรับตัวและเอาตัวรอด การที่วัฒนธรรมองค์การมีความชัดเจนและยืดหยุ่นจะทำให้สามารถเปลี่ยนผ่านได้อย่างง่าย รับมือต่อการ Disruption รูปแบบใดก็ตามได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ที่มา:
Weforum.org