เพื่อสนับสนุนการรับมือกับมหาวิกฤตไวรัสระบาด MIT และ Harvard จับมือกันพัฒนาหน้ากากป้องกันที่สามารถเรืองแสงเมื่อมีการสัมผัสกับไวรัส COVID-19 ได้
ในปี 2014 ห้องทดลองวิศวกรรมชีวภาพ MIT ได้เริ่มต้นการพัฒนาเซนเซอร์ที่สามารถตรวจจับไวรัสอีโบลาเมื่อไวรัสเกิดแห้งติดกระดาษ ทีมนักวิทยาศาสตร์ขนาดเล็กจาก MIT และ Harvard ได้ร่วมมือกันตีพิมพ์งานวิจัยครั้งแรกในปี 2016 โดยปรับปรุงให้เทคโนโลยีสามารถระบุภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นของไวัสซิกา และตอนนี้ก็ถึงเวลาของไวรัสโคโรนาแล้ว
ทีมวิจัยได้ออกแบบให้หน้ากากสามารถสร้างสัญญาณฟลูออเรสเซนต์เมื่อมนุษย์ที่มีการติดเชื้อไวรัสโคโรนาหายใจ ไอ หรือจาม เมื่อเทคโนโลยีนี้สำเร็จจะช่วยให้การคัดกรองเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าการวัดอุณหภูมิ
หลักใหญ่ใจความสำคัญ คือ สัญญาณฟลูออเรสเซนต์นั้นจะเป็นการตรวจดูว่าไวรัสโคโรนานั้นมีอยู่ในน้ำลายหรือไม่ โดยเซนเซอร์ประกอบขึ้นจาก DNA และ RNA ที่จะจับตัวกับไวรัส วัสดุนี้จะถูกทำให้แห้งและแข็งตัวอยู่บนใยผ้าด้วยเครื่อง Lyophilizer ซึ่งดูดความชื้นออกจากวัตถุดิบพันธุกรรมโดยไม่ฆ่ามันเสียก่อน ทำให้สามารถใช้งานได้ที่อุณหภูมิห้องนานหลายเดือนซึ่งหมายถึงมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นด้วยเช่นกัน
เซนเซอร์นั้นต้องการ 2 ปัจจัยในการทำงาน อย่างแรกเลย คือ ความชื้นซึ่งร่างการของเราปลดปล่อยออกมาผ่านอนุภาคในการหายใจ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมูกหรือน้ำลาย อย่างที่สอง คือ การตรวจจับลำดับพันธุกรรมของไสรัส ซึ่งห้องทดลองที่เซี่ยงไฮ้ได้ระบุลำดับพันธุกรรมเอาไว้เมื่อเดือนมกราคม ทีมวิจัยได้ออกแบบให้สัญญาณฟลูออเรสเซนต์แสดงผลในระยะเวลา ๅข_ ชั่วโมง
สัญญาณนั้นไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ทีมวิจัยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Flourimeter เพื่อวัดแสงของฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งทีมวิจัยเสนอให้การใช้งานนอกห้องทดลองต้องมี Flourimeter แบบพกพาเพื่อใช้คู่กันซึ่งมีต้นทุนประมาณ 1 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ ราว 32 บาท
เมื่อเทียบกับเซนเซอร์ที่เคยคาดการณ์ไว้สำหรับไวรัสซิกา ที่มีมูลค่าคาดการณ์ประมาณ 20 ดอลลาร์ต่อชิ้นในขณะที่ตัวทดสอบมีมูลค่าราว 1 ดอลลาร์หรือน้อยกว่านั้นเมื่อทำการผลิตจำนวนมาก
ที่มา:
Businessinsider.com