ภาษีคาร์บอนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM) ของสหภาพยุโรปจะเก็บภาษีบนผลิตภัณฑ์ที่มีการปล่อยคาร์บอนสูงเกินเกณฑ์ ทำให้ผู้ผลิตที่ต้องการส่งสินค้าออกไปขายในสหภาพยุโรปต้องหาทางลดการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการ ซึ่งมีอยู่หลายแนวทาง ตั้งแต่การเปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียนแทนฟอสซิล การเลือกใช้เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพพลังงาน ตลอดจนการเลือกใช้วัสดุรีไซเคิลในกระบวนการแทนวัสดุใหม่เนื่องจากวัสดุรีไซเคิลมีการปลดปล่อยคาร์บอนที่น้อยกว่า
ในส่วนของพลาสติกการปล่อยคาร์บอนในขั้นตอนการกลั่นจากน้ำมันได้ทำเสร็จสิ้นไปตั้งแต่ครั้งเป็นวัสดุใหม่ ไม่มีการทำซ้ำ ในขณะที่วัสดุที่เป็นโลหะในขั้นตอนการถลุงเหล็กเพื่อสร้างเป็นวัตถุดิบเหล็กก็ทำเพียงครั้งเดียว การใช้วัสดุรีไซเคิลจึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศได้
ทุกสิ่งที่ถูกใช้อยู่ในกระบวนการนั้นมีการปล่อยคาร์บอนทั้งสิ้น และคาร์บอนนั้นจะถูกคิดคำนวณลงไปในผลิตภัณฑ์ เรียกว่า ‘คาร์บอนฟุตพรินต์’ ในขณะที่บรรจุภัณฑ์เป็นสิ่งที่จำเป็นและใช้ในทุกชิ้นงานที่มีการส่งมอบไปยังลูกค้าผู้ใช้งาน การเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุรีไซเคิลก็เป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถลดการปล่อยคาร์บอนได้ โดยในปัจจุบันมีตัวเลือกวัสดุที่สามารถปกป้องสินค้าในระหว่างขนส่งและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ควรตรวจสอบให้แน่ชัดว่าเครื่องจักรในโรงงานสามารถรองรับวัสดุรีไซเคิลได้หรือไม่ ซึ่งเครื่องจักรรุ่นใหม่ ๆ มีการออกแบบเพื่อรองรับการผลิตด้วยวัสดุรีไซเคิลได้
บทความ นับถอยหลังสู่ CBAM: ไทยพร้อมแค่ไหนเมื่ออียูจะเก็บภาษีคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (ที่มา: บทความวิจัย บล.กรุงศรีฯ โดย Prapan Leenoi)
https://www.krungsri.com/th/research/research-intelligence/cbam-2023
บทความเกี่ยวกับการรีไซเคิล : รีไซเคิลสิ่งนี้ ดีต่อโลกแค่ไหน? (ที่มา: Nestle)
https://www.nestle.co.th/th/csv/environment/recycle-reduce-carbon
ในปัจจุบัน Walter บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องจักร ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลมากถึง 95 เปอร์เซ็นต์ โดยตั้งเป้าที่จะเพิ่มการหมุนเวียนให้มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2030 บรรจุภัณฑ์จากวัสดุรีไซเคิลจะช่วยลดการปล่อยก๊าซ CO2 ลงได้ถึง 60 ตันเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2022 และยังมีความแข็งแรงทนทานในการปกป้องผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
บรรจุภัณฑ์ PCR (Post-Consumer Recycled) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจาก Walter
(ที่มา: Walter GB)
การใช้ PCR (Post-Consumer Recycled) ซึ่งเป็นวัสดุที่รีไซเคิลได้ 100% เป็นเพียง 1 ใน 4 เป้าหมายความยั่งยืนที่ Walter มุ่งมั่นจะทำในอีก 2 – 3 ปีข้างหน้า พร้อมให้คำมั่นที่จะลดการปล่อย CO2 ลงครึ่งหนึ่งเพื่อหลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ ต่อผู้คน และจะดำเนินการอย่างโปร่งใสและมีจริยธรรม หรือ ทำในสิ่งที่ถูกต้องอยู่เสมอ
“เราตั้งเป้าหมายความยั่งยืนไว้ว่าจะต้องทำให้สำเร็จภายในปี 2030 แต่เป้าหมายหลักของเรา คือ Climate Neutral (การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ให้เป็นศูนย์) ภายในปี 2050 เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งบรรจุภัณฑ์ PCR มีส่วนสำคัญในเรื่องสิ่งนี้” Gerhard Schüßler หัวหน้าฝ่ายความยั่งยืนบริษัท Walter กล่าว
Walter ยืนยันว่า การผลิตพลาสติกรีไซเคิลสำหรับบรรจุภัณฑ์ PCR ใช้พลังงานเพียงครึ่งเดียวของพลาสติกใหม่ เท่ากับการลดการปล่อยคาร์บอนลง 60 ตันเมื่อเทียบกับปี 2022 รวมถึงใช้วัตถุดิบฟอสซิลและใช้พลังงานน้อยลง ในขั้นตอนต่อไป คือ การผลิตบรรจุภัณฑ์ไปยังทุกที่ที่มีศูนย์กระจายสินค้าของ Walter เพื่อลดการเดินทาง
นอกจากคุณสมบัติด้านความยั่งยืนแล้ว บรรจุภัณฑ์ PCR ยังมอบประโยชน์ให้กับลูกค้าของ Walter ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นความทนทานที่เหมือนพลาสติกใหม่ การปกป้องผลิตภัณฑ์จากการกัดกร่อนและความเสียหายได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาก ในปี 2023 จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ Walter เปลี่ยนมาใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ PCR และตั้งเป้าที่จะใช้เป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์มาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์ของ Walter มากถึง 85 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2024
บทความอ้างอิง: https://www.etmm-online.com/