ระบบ Automation และบทบาทที่เปลี่ยนไปของแรงงาน

Date Post
27.10.2020
Post Views


ตอนนี้ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็มีแต่คนพูดถึงเรื่องของระบบ Automation เต็มไปหมด เพราะเทรนด์ที่กำลังถูกพูดถึงในขณะนี้ยังรวมไปถึง ความกังวลเกี่ยวกับเรื่องของหุ่นยนต์ที่จะเข้ามาแทนที่การทำงานของมนุษย์ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ ‘ผิดอย่างมหันต์’ เพราะแรกเริ่มเดิมทีการเกิดขึ้นของระบบ Automation มีขึ้นเพื่อสนับสนุนการทำงานของมนุษย์ หรือทำงานในส่วนที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ ซึ่งจริงๆ แล้วระบบออโตเมชันสามารถลดต้นทุนได้เป็นอย่างมาก ส่งผลให้เกิดความต้องการ (Demand) และการใช้ทรัพยากรมากขึ้นในภาคส่วนอื่นๆ รวมถึงภาคส่วนของออโตเมชันเองด้วย ทั้งยังเพิ่มกำลังการผลิตและสร้างโอกาสใหม่ๆ ของธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการใช้เทคโนโลยีเป็นประจำอยู่แล้วสามารถเห็นผลได้อย่างชัดเจน ซึ่งปัจจุบันในตลาดต่างประเทศมีการตื่นตัวในการใช้ระบบออโตเมชันและหุ่นยนต์เป็นอย่างมาก ส่งผลต่อการแข่งขันในตลาดโลกอย่างกว้างขวาง

เทรนด์การนำหุ่นยนต์มาแทนที่คนส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นและการขาดแคลนแรงงานฝีมือซึ่งเป็นช่องว่างที่ถูกเติมเต็มด้วยเทคโนโลยี ทำให้ผู้คนต่างวิตกกังวลว่าคนจะอยู่ตรงไหนในงานอุตสาหกรรม? เรื่องราวทำนองนี้เคยเกิดขึ้นแล้วในช่วงศตวรรษที่ 19 กับปรากฏการณ์หวาดกลัวเครื่องจักรเข้ามาแทนที่มนุษย์ แต่เราก็ก้าวข้ามมันมาได้แล้ว อย่างที่เห็นในปัจจุบัน ก่อนที่จะรู้ว่าที่แรงงานมนุษย์อยู่ตรงไหนของอุตสาหกรรมยุคปัจจุบัน เรามารู้จักประโยชน์ของหุ่นยนต์หรือระบบ Automation กันก่อนครับ


ระบบ Automation คืออะไร?

ระบบ Automation คือ ระบบควบคุมอัตโนมัติที่สามารถเริ่มต้นการทำงานได้เองผ่านการรันโปรแกรมที่วางเอาไว้ เพื่อช่วยในการควบคุม สั่งงาน หรือรับคำสั่งงานต่างๆ รวมถึงกำหนดการทำงานของระบบควบคุมอัตโนมัติให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ระบบ Automation ช่วยอะไรได้?

จากรายงานพบว่าค่าเฉลี่ยความสามารถในการทำงานของแรงงานเมื่อนำหุ่นยนต์เข้ามาเพิ่มขึ้น 0.37% เพิ่มผลผลิตของอุตสาหกรรมที่ใช้ถึง 13.6% ซึ่งเป็นไปตามจุดประสงค์หลักของการใช้งานหุ่นยนต์ดังนี้

  1. ลดต้นทุน – ระบบ Automation ช่วยลดเวลาในการทำงานได้เป็นอย่างดี รวมถึงการอำนวยความสะดวกให้กับแรงงานทำให้ไม่เกิดค่าใช้จ่ายจากการบาดเจ็บหรือ Downtime
  2. เพิ่มคุณภาพ – ระบบ Automation นั้นเป็นสิ่งที่มีความแม่นยำสูง สามารถผลิตชิ้นงานที่มีความละเอียดสูงและทำงานในรูปแบบพิเศษที่มนุษย์ไม่อาจทำได้
  3. เพิ่มความสามารถในการผลิต – การทำงานภายใต้เงื่อนไขอันจำกัด เช่น สถานที่ สภาพแวดล้อม ระยะเวลา ต้องมีการบริหารจัดการที่ดีไม่อย่างนั้นจะสูญเสียอย่างมาก เช่น การบริหารจัดการคลังสินค้าที่ดีจะไม่ก่อให้เกิดการส่งชิ้นส่วนที่ล่าช้า หรือการทำงานซ้ำๆ อย่างต่อเนื่องได้โดยไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงจากความเมื่อยล้า
  4. รักษาสุขภาพและความปลอดภัยที่ดี – การใช้งานระบบควบคุมอัตโนมัติสามารถส่งเสริมความปลอดภัยของกระบวนการผลิตได้เป็นอย่างดี ด้วยระบบเซนเซอร์ตรวจจับการทำงาน สามารถทดแทนแรงงานมนุษย์ในการปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ เช่น ระบบหยุดการทำงานของหุ่นยนต์เมื่อมีคนเข้าไปใกล้

จะเห็นได้ว่าระบบ Automation นั้นเข้ามาสนับสนุนการทำงานของมนุษย์ โดยเฉพาะการปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงต่อความสูญเสียเป็นหลักไม่ว่าจะเป็นการยกของหนัก การขนย้ายวัสดุในพื้นที่จำกัด หรือการทำงานในพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมอันตราย ทำให้ระบบควบคุมอัตโนมัติและหุ่นยนต์ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ยกระดับการแข่งขันในตลาดอุตสาหกรรมขึ้นไปอย่างรวดเร็ว

เพื่อนบ้านว่าอย่างไรกันบ้าง?

จากรายงานของ International Federation of Robotics (IFR) แสดงข้อมูลการใช้งานหุ่นยนต์ในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมที่เพิ่มมากขึ้น การแข่งขันในตลาดเน้นความสามารถของเทคโนโลยีการผลิตเป็นกำลังสำคัญ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขาดแคลนแรงงานฝีมือในการผลิต มี ROI (Return on Investment) ที่มีประสิทธิภาพมากกว่า กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับความนิยมในการใช้งาน คือ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีการเติบโตถึง 41%

Credit: IFR.org
Source: IFR.org

ประเทศผู้นำด้านเทคโนโลยีอย่างเยอรมนี ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกามีการใช้งานเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากฐานการผลิตเดิมมีการใช้งานหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว

Credit: IFR.org
Source: IFR.org
Credit: IFR.org
Source: IFR.org
Credit: IFR.org
Source: IFR.org
Credit: IFR.org
Source: IFR.org
Source: IFR
Source: IFR.org

แม้แต่ในประเทศจีนที่มีจำนวนแรงงานเป็นอันดับต้นๆ ของโลกยังเกิดกระแสการใช้งานหุ่นยนต์อัตโนมัติขึ้นเป็นจำนวนมาก ทำให้เห็นถึงลักษณะการแข่งขันที่เปลี่ยนไปและหากองค์กรไม่มีการปรับตัวจะทำให้เกิดการว่างงานเพิ่มขึ้นจำนวนมากซึ่งไม่เป็นผลดีต่อแรงงาน ผู้ผลิต และ GDP อย่างแน่นอน

Credit: IFR.org
Source: IFR.org

เทรนด์การผลิตที่เกิดขึ้นนี้เพิ่มความท้าทายในการแข่งขันบนเวทีโลก การนำระบบ Automation และหุ่นยนต์มาใช้งานจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หากต้องการอยู่รอดบนเวทีอุตสาหกรรมสากล แล้วแรงงานจะอยู่ตรงไหนของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น?

บทบาทแรงงานยุคอัตโนมัติ

รูปแบบการทำงานของแรงงานต้องเปลี่ยนไป การทำงานที่มีลักษณะเป็นการทำซ้ำๆ และการปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงเป็นงานของระบบควบคุมอัตโนมัติ แรงงานสำหรับควบคุมระบบกลายเป็นหน่วยที่จำเป็นสำหรับการผลิตซึ่งมีการทำงานคล้ายคลึงกับผู้ควบคุมเครื่องจักร ในทางกลับกันการทำงานที่ใช้มนุษย์เป็นตัวขับเคลื่อนหลักของการผลิตนั้นต้องเพิ่มมูลค่าของผลงานผ่านความสามารถของแรงงานแทน MM Thailand เสนอแนวทางสำหรับแรงงานดังนี้

1.เรียนรู้และปรับตัวกับระบบ Automation – การเลือกใช้ระบบควบคุมอัตโนมัติในส่วนที่มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการสูญเสียมากร่วมกับการใช้แรงงานเป็นอีกตัวเลือกที่ดีสำหรับงานอุตสาหกรรม การพัฒนาแรงงานให้เป็นแรงงานฝีมือทำงานร่วมกับระบบจึงเป็นกุญแจสำคัญ กรณีนี้ขอยกตัวอย่าง Boxed บริษัท Startup ที่มีการพัฒนาระบบขนส่งในคลังสินค้าขึ้นมาบนเป้าหมายเพื่อรักษาแรงงานที่ร่วมกันก่อตั้งบริษัทขึ้นมา ด้วยระบบรางขนส่งอัตโนมัติและ AGV หรือพาหนะลำเลียงวัสดุที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษให้อ่านค่าและสัญลักษณ์ Tag ต่างๆ ในคลังสินค้าได้อย่างแม่นยำ เพื่อช่วยบริหารการทำงานภายใต้พื้นที่จำกัดให้แรงงานประจำตามจุดต่างๆ Boxed ปรับเปลี่ยนจากแรงงานทั่วไปให้กลายเป็นแรงงานฝีมือที่สามารถควบคุมเครื่องมือผ่านการฝึกอบรมที่มีความสะดวกสบายมากขึ้นและใช้เวลาน้อยลง

2.แรงงานต้องมีความเชี่ยวชาญพิเศษ – การทำงานบางรูปแบบไม่สามารถนำระบบ Automation เข้ามาแทนที่ได้ภายใต้เงื่อนไขเฉพาะเจาะจง เช่น ส่วนประกอบอาหารซึ่งมีความแปรปรวนสูง ไม่ว่าจะเป็นความชื้น แบคทีเรีย อุณหภูมิ ซึ่งการแก้ไขปัญหาล่วงหน้าในกระบวนการผลิตเหล่านี้มนุษย์สามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสมและรวดเร็วกว่า ยกตัวอย่างโรงงานผลิตซอสถั่วเหลืองในประเทศญี่ปุ่นที่ใช้แรงงานในการผลิตด้วยกรรมวิธีที่ส่งต่อกันมาเป็นเวลา 750 ปี แรงงานต้องมีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมากในแต่ละขั้นตอนเพื่อให้ได้ซอสถั่วเหลืองที่คุณภาพไม่แตกต่างจากต้นตำรับที่สืบทอด ซึ่งการตอบสนองของแรงงานต่อกลิ่น ความเข้มข้นของถั่วหมัก ความชื้น ลักษณะวัตถุดิบ ฯลฯ เป็นตัวแปรในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าจำเป็นอย่างมากในการจดจำและแก้ปัญหาเมื่อสินค้าเป็นสิ่งที่อ่อนไหวต่อรสนิยมผู้บริโภค

3.สุดยอดแรงงานฝีมือ – แน่นอนว่าสุดยอดแรงงานที่ทำได้ทุกอย่างได้ด้วยตัวเองย่อมเพิ่มมูลค่าของทั้งตัวเองและผลงานได้เป็นอย่างดี ความเจ๋งนี้ได้มาจากความพยายามและการสั่งสมประสบการณ์มาเป็นเวลายาวนานจนกระทั่งบ่มเพาะความสามารถในด้านนั้นๆ ให้ผลิดอกออกผลเป็นสุดยอดผลงาน หนึ่งในกรณีตัวอย่างที่น่าสนใจ คือ แนวคิด One Man One Engine ของ Mercedes-Benz (AMG) ในการผลิตเครื่องยนต์รุ่นพิเศษด้วยมือของวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ 1 คน ต่อ 1 เครื่อง โดยวิศวกรจะเป็นผู้ประกอบทุกชิ้นส่วนของเครื่องยนต์รวมถึงการตรวจสอบต่างๆ ด้วยตัวเองจนกระทั่งขั้นตอนสุดท้าย คือ ปิดลายเซ็นของตนเองลงบนเครื่องยนต์
แนวคิด One Man One Engine

https://www.youtube.com/watch?v=KJ_OCDE-5ns

การผลิตเครื่องยนต์ AMG ภายใต้แนวคิด One Man One Engine


การมาถึงของเทคโนโลยีใหม่อย่างระบบ Automation นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ เช่นเดียวกับความหวาดกลัวที่มนุษย์เคยกลัวว่าวันหนึ่งเครื่องจักรจะเข้ามาแทนที่มนุษย์ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วลงเอยด้วยการที่มนุษย์ฝึกควบคุมและใช้งานเครื่องจักร การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้เช่นกัน มนุษย์ต้องปรับตัวจากการใช้เครื่องจักรมาเป็นการควบคุมและทำงานร่วมกับระบบอัตโนมัติ สิ่งที่แรงงานควรดำเนินการ คือ การพัฒนาความสามารถ การปรับตัว รวมถึงทัศนคติของแรงงานในการทำงานเพื่อให้เติบโตร่วมกับเทคโนโลยีได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การเปิดใจพัฒนาตัวเองเป็นกุญแจสำคัญสำหรับเทคโนโลยีที่กำลังมาถึง หากไม่รู้ว่าควรเริ่มอย่างไร ตัวเองชอบระบบ Automation แบบไหน หุ่นยนต์ที่ต้องใช้งานในสายของตัวเองเป็นแบบใด

สามารถติดตามอัปเดตข้อมูลเทคโนโลยีอุตสาหกรรมรวมถึงข้อมูลใหม่ๆ ได้ที่เว็บไซต์ MM Thailand และเพจ MM Modern Manufacturing


Source:

Robots at Work, Georg Graetzy and Guy Michaels, June 22, 2017
https://www.scottautomation.com/news/articles/benefits-of-industrial-automation-and-robotics/
http://www.acieta.com/why-robotic-automation/robotics-manufacturing/
The Impact of Digitalization and Robotization on Employment, Stephen Ezell, Information Technology & Innovation Foundation (ITIF)
International Federation of Robotics

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Thossathip Soonsarthorn
"Judge a man by his questions rather than his answers" Voltaire