การปฐมพยาบาลเบื้องต้น สำหรับอุบัติเหตุไฟฟ้าในโรงงาน

Date Post
02.07.2024
Post Views

อุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การจัดการสามารถทำได้ในเชิงรุก คือ มาตรการป้องกัน และเชิงรับ คือ การแก้ไขและปฐมพยาบาล ซึ่งโอกาสเกิดอุบัติเหตุจากไฟ้าในโรงงานมีสูงกว่าครัวเรือน เนื่องจากมีการใช้เครื่องไม้เครื่องมือรวมถึงเครื่องจักรกำลังสูงอยู่สม่ำเสมอ

อาการบาดเจ็บจากไฟฟ้ามีได้หลายรูปแบบ เช่น แผลไฟไหม้ หัวใจล้มเหลว หรือส่งผลให้เสียชีวิตได้ ให้จำไว้เสมอว่าร่างกายของมนุษย์นั้นเป็นสื่อนำไฟฟ้าได้อย่างดี การทำงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าจำเป็นต้องตั้งสติให้ดี โดยเฉพาะในกิจการอุตสาหกรรมที่มีเครื่องจักรซึ่งใช้งานไฟฟ้าแรงสูง

ปัจจัยใดบ้างที่ต้องระวัง?

  1. การใช้สายไฟที่ไม่ได้มาตรฐานรวมถึงการเดินสายไฟที่ไม่มีคุณภาพสามารถทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้โดยไม่คาดคิด
  2. การใช้งานสายไฟฟ้าที่ชำรุดหรือการต่อสายไฟฟ้าเพิ่มโดยไม่ตวจสอบสภาพ
  3. น้ำและความชื้นเป็นศัตรูตัวฉกาจสำหรับระบบไฟฟ้าและเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง
  4. ระบบไฟฟ้าส่องสว่าง
  5. ใช้ไฟฟ้าเกินกำลัง เช่น ต่อไฟฟ้าหนึ่งจุดเกินแผงวงจรรับได้
  6. ระบบสายดินชำรุด
  7. ระบบตัดไฟฟ้าไม่ทำงาน

อาการที่บ่งบอกถึงอันตราย

  1. อาการไหม้โดยเฉพาะบริเวณที่ช่องทางที่สามารถเข้าไปในร่างกายได้ เช่น ปาก ตา หู จมูก ช่องขับถ่าย
  2. หายใจได้ไม่สะดวก
  3. ชีพจรอ่อน
  4. กล้ามเนื้อยึด
  5. ระบบหายใจล้มเหลว
  6. อาการมึนงง
  7. หมดสติ
  8. หัวใจหยุดเต้นหรือเต้นผิดจังหวะ

ในหลายกรณีแม้ภายนอกจะดูปรกติและไม่มีอาการบาดเจ็บเกิดขึ้น แต่การบาดเจ็บนี้จำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์เสียก่อนเพื่อความมั่นใจว่าไม่มีอวัยวะภายในเกิดปัญหา

เพื่อความปลอดภัยแนะนำให้ตัดไฟฟ้าในพื้นที่เกิดเหตุและพื้นที่ใกล้เคียงก่อน ระยะปลอดภัยสำหรับไฟฟ้ารั่ว คือ 25 เมตร จากจุดเกิดเหตุ ก่อนดำเนินการขั้นต่อไปต้องแน่ใจก่อนว่าไม่มีไฟฟ้ารั่วไหลในบริเวณแล้วหลังการตัดกระแสไฟฟ้าควรถอดสายไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องในระยะใกล้เคียง โรงงานควรมีระบบตัดไฟฟ้าฉุกเฉินเพื่อป้องกันความเสียหายขยายตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเครื่องจักรอย่าง CNC และระบบ Smart Factory ซึ่งมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของไฟฟ้าสูงจำเป็นต้องมีระบบรองรับที่เหมาะสม

ก่อนเข้าถึงตัวผู้ประสบเหตุ ผู้ช่วยเหลือจำเป็นจำต้องป้องกันตัวเองด้วยการยืนบนวัสดุที่ไม่นำไฟฟ้า เช่น หนังสือ แผ่นยาง แผ่นไม้ จากนั้นจึงใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ไม่นำไฟฟ้าเช่นแท่งไม้นำแหล่งพลังงานที่คาดว่าเป็นตัวต้นเหตุออกจากการสัมผัสร่างกายผู้บาดเจ็บ จากนั้นจึงตรวจความปลอดภัยของผู้บาดเจ็บ

https://www.youtube.com/watch?v=CDXII2wSKsQ

ขั้นตอนการปฐมพยาบาล

  1. ตรวจสอบภาพบาดแผลและสติสัมมปชัญญะของผู้ประสบเหตุ (อย่าเพิ่งเคลื่อนย้ายผู้ประสบเหตุก่อนการประเมินเบื้องต้น) ด้วยการสอบถามชื่อหรือเรียกชื่อ จากนั้นให้ผู้ประสบเหตุพยายามลืมตาและขยับลูกตาตามทิศทางที่ผู้ช่วยเหลือบอก
  2. เรียกผู้ช่วยเลหือและติดต่อหน่วยพยาบาล
  3. หากผู้ประสบเหตุหมดสติให้ทำการตรวจชีพจรเบื้องต้น และทำ CPR ในกรณีที่ผู้ช่วยไม่หายใจ
  4. นำผู้ป่วยนอนราบบนผ้าให้หัวอยู่ต่ำกว่าเท้า โดยหาเก้าอี้วางให้เท้าพาดเพื่อให้มีการไหลเวียนของเลือดที่ดี ยกเว้นแต่มีการบาดเจ็บบริเวณเท้า
  5. ปลดเสื้อผ้าที่รัดให้หลวมขึ้น
  6. ในกรณีที่มีบาดแผลไฟไหม้ หรือสีผิวเปลี่ยนให้นำน้ำเย็นมาชโลมในบริเวณดังกล่าวประมาณ 20 นาที ระวังอย่าใช้ครีมหรือยาสำหรับแผลไฟลวก
  7. ห้ามเคลื่อนย้ายผู้ประสบเหตุหากมีการตกจากที่สูงร่วมด้วย
  8. พยายามพูดคุยกับผู้ประสบเหตุจนกว่าหน่วยพยาบาลจะมาถึงเพื่อให้ผู้ประสบเหตุมีสติอยู่ตลอดเวลา

อ้างอิง:

  • https://www.osha.gov/dte/grant_materials/fy08/sh-17792-08/electrical_english_r6.pdf
  • http://www.dgfasli.nic.in/first_aid_eng.pdf
  • http://sja.org.uk/sja/first-aid-advice/heart/shock.aspx
Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Thossathip Soonsarthorn
"Judge a man by his questions rather than his answers" Voltaire
Taiwan-Excellent