หนึ่งในเซนเซอร์ที่นิยมใช้งานมากที่สุด คือ เซนเซอร์ที่ใช้เทคโนโลยี LVDT เพราะมีความทนทานสูง มีการพัฒนาและใช้งานอย่างแพร่หลายในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยมีจุดเด่นอยู่ที่ความทนทานและอายุการใช้งานที่ยาวนาน ทำให้โรงงานจำนวนมากนิยมใช้ในกิจกรรมการผลิต
เทคโนโลยี Linear Variable Differential Transformer หรือ LVDT นั้นถูกใช้กันอย่างแพร่หลายมาเป็นเวลามากกว่า 50 ปี ซึ่งแต่เดิมถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในห้องทดลอง แต่ในปัจจุบันถูกนำมาใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น การประมวลผลในการผลิต, การทหาร, อากาศยาน, ใต้ทะเล, น้ำมันและก๊าซ, การผลิตพลังงาน, บรรจุภัณฑ์, หุ่นยนต์ และงานวิจัยและพัฒนาสำหรับแอปพลิเคชันการตรวจวัดตำแหน่งแบบ Linear โดยมีจุดเด่นอยู่ที่ความทนทาน ความเชื่อถือได้ ความอ่อนไหวในการตอบสนอง ความแม่นยำ การใช้งานที่ยาวนานรวมถึงการที่ไร้แรงเสียดทานเชิงกลในการใช้งาน
LVDT คือ Electromechanical Transducer ที่วัดการเคลื่อนไหวที่มีเล็กน้อยได้ โดยมีค่าระหว่าง ±0.254 มิลลิเมตร และ ±254 มิลลิเมตร โดยทำการแปลงค่าการเคลื่อนที่แบบ Linear เป็นสัญญาณทางไฟฟ้าซึ่งจะถูกตีความโดยกระบวนการและระบบควบคุม โดย LVDT จะประกอบด้วย 2 ส่วนที่สำคัญ คือ กรอบภายนอกที่มีขดลวดพันอยู่โดยรอบทำหน้าที่เป็นแม่เหล็ก และแกนภายในที่เคลื่อนไหวเชิงกลได้ทำหน้าที่ตรวจวัด อย่างไรก็ตาม LVDT ดั้งเดิมต้องการอุปกรณ์ภายนอกเพื่อสร้าง Output ดิจิทัล ในขณะที่ LVDT ยุคใหม่สามารถติดตั้งโมดูล Signal Conditioning ไว้ภายในได้แล้ว
จุดเด่นที่ทำให้ LVDT มีการใช้งานมาอย่างยาวนาน
- สามารถใช้งานได้หลากหลายแอพลิเคชั่น
- มีความทนทานสูง เหมาะกับอุตสาหกรรมหนัก เช่น โรงงานกระดาษหรือโรงงานผลิตไฟฟ้า
- LVDT สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้แม้เพียงเล็กน้อยในระดับซับไมครอน ความละเอียดขึ้นกับตัว Signal Conditioner
- การทำงานนั้นไร้แรงเสียดทานทำให้มีอายุการใช้งานเชิงกลแทบจะเป็นอนันต์ สามารถใช้งานได้หลายล้านวงรอบ จึงเหมาะใช้งานในพื้นที่ที่เข้าถึงยาก
- LVDT เป็นเซนเซอร์บอกตำแหน่งที่บางแอปพลิเคชั่นอาจมีเพียงเทคโนโลยีนี้ที่ใช้ได้ เช่น การใช้งานใต้น้ำและในอวกาศ
ด้วยการเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีต่าง ๆ ทั้งระบบแผงวงจร วัสดุที่เกี่ยวข้อง ทำให้ประสิทธิภาพของ LVDT นั้นเพิ่มขึ้นและมีการใช้งานได้อย่างกว้างขวางครอบคลุมกว่าที่เคย และคุณสมบัติเหล่านี้ถูกยกระดับไปอีกขั้นหนึ่ง โดย LVDT ยุคใหม่รองรับแรงดันได้สูงสุดถึง 20,000 PSI สามารถใช้งานได้ในอุณหภูมิสูงถึง 537 องศาเซลเซียส มีความทนทานต่อรังสี สามารถไว้วางใจในการใช้งานได้เพราะวัสดุมักมีความทนทานต่อการกัดกร่อน ใช้พลังงานน้อย ทั้งยังมีขนาดเล็กอีกด้วย
*Note Application – ศัพท์บัญญัติตามสำนักงานราชบัณฑิตยสภา คือ ‘แอปพลิเคชัน’ |