นักวิจัยจาก MIT พัฒนาหุ่นยนต์ขนาดเซลล์ด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกขนาดจิ๋วที่สามารถใช้งานในลำไส้หรือท่อน้ำเพื่อตรวจสอบปัญหาซึ่งมีการใช้พลังงานที่น้อยกว่ารูปแบบทั่วไป และสามารถทำงานได้ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย
หุ่นยนต์ขนาดเล็กนี้ถูกสร้างขึ้นจากแผงวงจรจากวัตถุดิบสองมิติและอนุภาค Colloid สามารถรับรู้สภาพแวดล้อม เก็บข้อมูล และทำการคำนวณได้ ซึ่ง Colloid นี้เองเป็นอนุภาคหรือโมเลกุลที่ไม่ละลายน้ำสามารถอยู่ได้ในของเหลวและอากาศ และการผสมผสาน Colloid เข้ากับวัตถุขนาดจิ๋วเพื่อสร้างความซับซ้อนให้กับวงจรกลายเป็นความหวังของนักวิจัยในการใช้งานเจ้าหุ่นขนาดเล็กเพื่อวิเคราะห์ปัญหาตั้งแต่ระบบย่อยของมนุษย์ไปจนถึงท่อน้ำมันและก๊าซ
หุ่นยนต์ขนาดจิ๋วนี้ไม่ไม่ต้องการพลังงานจากภายนอกหรือแบตเตอรี่จากภายใน ต้องการเพียง Photodiode เพื่อป้อนพลังงานเล็กน้อยให้กับการคำนวณและหน่วยความจำเพียงเท่านั้น ซึ่งเพียงพอต่อการใช้งานและการรับรู้สภาวะแวดล้อมโดยรอบเช่นกัน นับเป็นจุดเด่นในขณะที่ไมโครชิปทั่วไป เช่น CMOS หรือไมโครชิปที่มีซิลิคอนเป็นพื้นฐานนั้นกินพลังงานมากเกินไป
ที่มา:
- Mit.edu