ผู้ผลิตอุปกรณ์อัจฉริยะทั้ง Smartphone และ Smart Home อย่าง Xiaomi ที่เพิ่งเปิดตัว EV ไปไม่นานนี้ได้กล่าวถึงชิปเซมิคอนดักเตอร์ระดับ 3 นาโนเมตร ที่ได้ออกแบบขึ้นมาเอง ซึ่งถือเป็นความสำเร็จครั้งใหญ่ของประเทศผ่านวิดีโอสัมภาษณ์ตัวหนึ่ง ซึ่งในท้ายที่สุดแล้ววิดีโอดังกล่าวได้หายไปอย่างรวดเร็ว
Xiaomi ได้ประสบความสำเร็จในการออกแบบชิป SoC ขนาด 3 นาโนเมตร ซึ่งในระดับของการออกแบบนั้นเรียกได้ว่าไล่หลังผู้ผลิตชิปรายใหญ่อย่าง TSMC, Intel และ Samsung มาอย่างกระชั้นเลยก็ว่าได้ แต่ความสำเร็จนี้กลับเกิดขึ้นท่ามกลาง Trade War ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่อยู่ในสภาวะอ่อนไหวในเรื่องของเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์และเทคโนโลยีแห่งอนาคตอย่าง AI ซึ่งอาจนำไปใช้กับความต้องการทางการทหารได้
หากมองย้อนกลับไปในกรณีของ Huawei แล้วจะพบว่า Huawei นั้นได้ถูกขึ้นบัญชีดำและโดนถอดถอนออกจาก Ecosystem ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ แทบจะในทันที แต่ในกรณีของ Xiaomi นั้น กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐอเมริากยังไม่ได้ถูกนำขึ้นบัญชีดำทำให้ยังสามารถเข้าถึงชิปจากสหรัฐอเมริกาได้ นอกจากนี้ Xiaomi ยังจำเป็นต้องทำ EDA สำหรับซอฟต์แวร์จากสหรัฐอเมริกาอยู่อีกด้วย
ปัจจุบันบริษัทสัญชาติอเมริกันอย่าง Cadence Design Systems, Synopsys และ Mentor Graphics นั้นเกือบจะเป็นกลุ่มที่ผูกขาดซอฟต์แวร์ที่มีความก้าวหน้าสำหรับการออกแบบชิปเกือบทั้งหมดอยู่แล้ว และการที่ต้องทำ EDA ซึ่งต้องมีรายงานเกี่ยวกับชิปใหม่ที่ประสบความสำเร็จในการออกแบบนี้ก็สร้างความกังวลให้กับ Xiaomi อยู่ไม่น้อย
แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะมีความพยายามในการชะลออุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของจีนอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการแบนการส่งออกชิป AI ที่มีความก้าวหน้าสูง เช่น GPU จาก Nvidia เป็นต้น ทำให้จีนเองต้องพยายามพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ด้วยความสามารถของตัวเอง ซึ่งนอกเหนือจากการส่งออกชิปอันทรงพลังแล้ว จีนยังถูกแบนไม่ให้นำเข้าอุปกรณ์สำหรับผู้ผลิตของตัวเอง เช่น เครื่อง Lithography ระดับแถวหน้าของวงการ รวมถึงการเข้าถึงชิ้นส่วนสำคัญอีกมาก และในท้ายที่สุด คือ การเข้าถึงซอฟต์แวร์ EDA จากสหรัฐอเมริกา
ผลกระทบนี้ไม่เพียงแต่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ในจีนที่ต้องกรใช้ชิปในสมาร์ทโฟนและศูนย์ข้อมูลเท่านั้น แต่ทำให้ทั้งอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ถูกตัดออกจากเทคโนโลยีสมัยใหม่แทบทั้งหมด ซึ่งในกรณีนี้ถ้าขึ้นอยู่กับสหรัฐอเมริกาเพียงเท่านั้น จีนจะไม่สามารถซื้อหรือผลิตชิปประสิทธิภาพสูงได้เลย
ด้วยเหตุนี้บริษัทสัญชาติจีนอย่าง Huawei และ Xiaomi จึงได้พยายามที่จะออกแบบชิปประสิทธิภาพสูงของตัวเองขึ้นมา ซึ่งกรณีที่โด่งดังที่สุดคงหนีไม่พ้น Huawei ที่พัฒนาชิปล้ำสมัยขึ้นมาเองในแผนกชิป ด้วยการออกแบบ HiSilicon 5G-Handy ขึ้นมา
หากความพยายามนี้สำเร็จขึ้นอีกครั้ง ก็จะแสดงให้เห็นว่านโยบาย Boycott ของสหรัฐอเมริกไม่สามารถทำอะไรจีนได้และยังกลายเป็นการขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมเหล่านี้เป็นอิสระจากการนำเข้าของตะวันตกอีกด้วย
ความท้าทายสำคัญของ Xiaomi ในตอนนี้ คือ ต้องหาโรงงานที่สามารถผลิตชิประดับ 3 นาโนเมตร ให้ได้โดยที่มีอัตราปฏิเสธหรือการผลิตที่ล้มเหลวไม่มากจนเกินไป ซึ่งทางเลือกที่ใกล้ตัวคงหนีไม่พ้น TSMC แต่ในขณะเดียวกัน TSMC เองที่ต้องทำธุรกิจกับสหรัฐอเมริกาและทั่วโลกอาจจะต้องเจอแรงกดดันอีกทางหนึ่งแทน ทำให้แม้ว่าจะมีการออกแบบที่ประสบผลสำเร็จแต่ก็ยังมีความเสี่ยงอีกมากที่จะทำให้ความต้องการเหล่านี้เป็นจริงขึ้นได้ในท้ายที่สุด