ประเภทของเครื่องกลในโรงงานอุตสาหกรรม (Machine Tools)

ประเภทของเครื่องกลในโรงงานอุตสาหกรรม (Machine Tools)

Date Post
18.04.2024
Post Views

เครื่องกลโรงงาน หรือ Machining เป็นกระบวนการผลิตรูปแบบหนึ่ง โดยนิยาม คือ การที่มีการนำเนื้อวัสดุ (Material) ออกจากเนื้อชิ้นงาน (Workpiece) ด้วยเครื่องมือตัดเฉือน (Cutting Tools) เพื่อเปลี่ยนชิ้นงานให้เป็นรูปร่างตามที่ต้องการ เครื่องกลโรงงานมีการพัฒนาที่ค่อนข้างช้าในช่วง 10 ปีให้หลัง ซึ่งลักษณะของการออกแบบยังคงคล้ายคลึงกับในปี 90 โดยปัจจุบันเทคโนโลยีเครื่องกลโรงงานที่ล้ำสมัยสุดจะเป็นอุปกรณ์เครื่องจักร CNC ที่สามารถผลิตชิ้นงานที่ให้ความแม่นยำและซับซ้อน

โดยปัจจุบันมีเครื่องจักรกลโรงงานและเครื่องมือตัดเฉือนมากมายหลายร้อยชนิดที่สามารถผลิตชิ้นงานได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ น้ำหนักน้อยจนถึงมาก วัสดุมากมายหลากหลาย หากจะให้แบ่งประเภทของเครื่องจักรกลในโรงงานว่ามีกี่ประเภททางนายช่างมาแชร์ขอแบ่งออกเป็น 7 ประเภทหลัก ๆ ตามลักษณะการทำงานตัดเฉือนของเครื่องจักรกัน

1. การกลึง (Turning)

การกลึง หรือ Turning คือ การที่เอาเนื้อวัสดุออกด้วยการหมุนชิ้นงานด้วยความเร็วรอบสูง ๆ (High RPM) ขณะที่อุปกรณ์ตัดเฉือนหรือมีดกลึงจะอยู่กับที่และมีจุดตัดจุดเดียว ดังนั้น รูปร่างชิ้นงานที่ออกมาหลังจากการกลึงจะมีลักษณะกลมมนหรือทรงกระบอก โดยอุปกรณ์เครื่องจักรกลที่ทำการกลึงก็คือ เครื่องกลึง (Lathe ; Turning Machine) นั่นเอง

การกลึงถือเป็นกระบวนการผลิตชิ้นงานที่เก่าแก่ที่สุด เนื่องจากมีการใช้งานมาตั้งแต่สมัยยุคอียิปต์ และถือเป็นต้นแบบของกระบวนการผลิตแบบอื่น ๆ อีกด้วย

2. การกัด (Milling)

การกัดชิ้นงาน จะทำโดยใช้เครื่องกัด (Milling Machine) เป็นการนำเนื้อวัสดุของชิ้นงานออก โดยจับยึดชิ้นงานที่สามารถเคลื่อนตัวได้ และใช้มีดกัดที่เป็นอุปกรณ์ตัดเฉือนที่หมุนด้วยความเร็วสูงกัดเนื้อชิ้นงานออก ซึ่งเป็นกระบวนการแบบ Multi-Point Cutting สามารถสร้างชิ้นงานให้เป็นรูปร่าง ทำให้เรียบ, ทำร่อง, ทำบ่า (Flat Surface, Shoulder, Incline Surface, Divetails, T-Slots) เป็นต้น

กระบวนการกัดถือเป็นกระบวนการพื้นฐานที่นิยมมากในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากทำได้ไวและสามารถผลิตชิ้นงานได้หลากหลายรูปร่าง แต่ข้อเสียก็คือ ความแม่นยำอาจจะไม่สูงมากนัก เนื่องจากมีค่า Degree of Freedom ค่อนข้างสูงนั่นเอง

3. การเจียระไน (Grinding)

การเจียระไนหรือที่เราชอบเรียกกันสั้น ๆ ว่า ‘การเจียร์’ คือ การที่ให้ชิ้นงานไปสัมผัสกับเครื่องมือตัดเฉือน ซึ่งในที่นี้ คือ หินเจียร์ ซึ่งมีคุณสมบัติแข็งและสาก จะหมุนด้วยความเร็วรอบสูงเพื่อนำเนื้อวัสดุออกตามที่เราต้องการ โดยเครื่องจักรกลเราจะเรียกว่า เครื่องเจียร์ หรือ Milling Machine นั่นเอง

โดยกระบวนการเจียร์นั้นจะมีความแม่นยำและได้ผิวของเนื้อชิ้นงานที่สูงมาก โดยค่าความแม่นยำอยู่ที่ +/- 0.025 mm เลยทีเดียว และสามารถผลิตชิ้นงานได้หลากหลายรูปร่างอีกด้วย

4. การเลื่อยและการแทงขึ้นรูป (Broaching)

หากพูดถึงกระบวนการเลื่อยและการแทงขึ้นรูปอาจจะคิดว่าเป็นคนละกระบวนการกัน แต่ทว่าหากแบ่งตามลักษณะการตัดเฉือนเนื้อวัสดุออก เราจะเรียกรวมกระบวนการทั้งสองนี้ว่า Broaching โดยกระบวนการ Broaching คือ การที่เครื่องจักรนำเนื้อวัสดุออกด้วยการใช้อุปกรณ์การตัดเฉือน (Cutting Tools) ที่มีลักษณะเป็นฟัน (Broach) ตัดเฉือนโดยการเคลื่อนที่ผ่านชิ้นงานซึ่งอาจจะเป็นการเคลื่อนที่ครั้งเดียวหรือการเคลื่อนที่กลับไปกลับมา

หากแบ่งประเภทของกระบวนการ Broaching ตามลักษณะการเคลื่อนที่แล้วจะแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ

  1. การเคลื่อนที่แบบเส้นตรง (Linear)
  2. การเคลื่อนที่แบบหมุน (Rotary)

5. การไส (Planer/Shaper)

กระบวนการไส คือ การที่เรานำเนื้อวัสดุด้วยการเคลื่อนของอุปกรณ์ตัดเฉือนหรือมีดไสเป็นเส้นตรง (Linear Motion) และวิ่งกลับไปกลับมา (Oscillating) โดยขาไปมีดไสจะกินเนื้อวัสดุ แต่ช่วงจังหวะชักกลับมีดไสจะหลบชิ้นงานอัตโนมัติ และชิ้นงานก็จะถูกป้อนเข้ามาเรื่อย ๆ ตามจังหวะการไส โดยการไสถือเป็นการตัดเฉือนแบบ Single Point Cutting โดยนิยามของคำว่า Shaper จะมีการไสที่ยาวถึง 36 นิ้ว แต่ Planer จะมีระยะที่ยาวกว่าถึง 50 ฟุต

6. เครื่องเจาะ (Drilling)

การเจาะ คือ การนำเนื้อชิ้นงานออกโดยการหมุนตัดเนื้อวัสดุของอุปกรณ์การตัดหรือดอกสว่านเพื่อสร้างรูในเนื้อชิ้นงาน สามารถสร้างรูปร่างได้ทั้ง Reaming, Boring, Counterboring, Countersinking และการทำเกลียวใน

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Naichangmashare
กลุ่มวิศวกรที่มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมหลายสาขา รวมตัวกันสร้างชุมชนแบ่งปันความรู้ด้านอุตสาหกรรม เพื่อให้งานช่างและวิศวกรรมเป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน ติดตามได้ทาง FB นายช่างมาแชร์