การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบันนั้น ส่วนที่เรียกได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของรถยนต์ไฟฟ้านั้นคงจะเป็นแบตเตอรี่อย่างไม่ต้องสงสัย โดยประเภทของแบตเตอรี่ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็ได้แก่แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน (Li-ion) นั่นเอง
- รัฐบาลอังกฤษทุ่มหลายล้าน ผลักดันการผลิตแบตเตอรี่ในประเทศ
- นักวิจัย MIT พบวิธียืดอายุแบตเตอรี่แบบใช้แล้วทิ้งให้ใช้งานได้นานขึ้น
- Honda ร่วม LG สร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนในอเมริกา
และแม้หลาย ๆ คนอาจจะมองว่าการใช้รถยนต์ไฟฟ้านั้นเป็นหนทางใหม่ที่มีความยั่งยืนมากกว่า แต่ที่จริงแล้วในการผลิตแบตเตอรี่เองก็ยังคงมีอุปสรรคในการกำจัดหรือนำแบตเตอรี่เก่ามาใช้งานใหม่ จึงได้เกิดงานวิจัยเพื่อสรรหาวิธีใหม่ในการนำแบตเตอรี่ที่หมดอายุแล้วมา Reuse อีกครั้ง
แยกวัสดุภายในแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน
ปัจจุบันการใช้งานแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนนั้น เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าหลายแห่ง ซึ่งอุปสรรคของการนำแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนมาใช้ซ้ำนั้น ก็มาจากการเกิดปฏิกิริยาของแบตเตอรี่จากสาเหตุต่าง ๆ ทั้งการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ, สนามแม่เหล็กภายนอกหรือการเปลี่ยนของค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของแบตเตอรี่เมื่อหมดอายุการใช้งาน ที่ส่งผลให้ส่วนประกอบของแบตเตอรี่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เพียงไม่กี่ส่วน
นักวิทยาศาสตร์จาก INM (Institute for New Materials), สถาบัน Fraunhofer ISC และ FAU (Friedrich-Alexander-Universität) ประเทศเยอรมนีจึงได้คิดค้นและออกแบบแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนที่สามารถแยกวัสดุภายในของแบตเตอรี่ออกจากกันได้อย่างง่ายดายเมื่อหมดอายุการใช้งานขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตแบตเตอรี่แต่ละแห่งสามารถทำการรีไซเคิลแบตเตอรี่ของตนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ทางทีมนักวิจัยยังต้องการให้ส่วนเสริมสำหรับการแบ่งวัสดุภายในแบตเตอรี่นี้สามารถใช้งานได้กับแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนทุกรูปแบบ เพื่อให้ผู้ผลิตแบตเตอรี่ทุกแห่งสามารถปรับปรุงกระบวนการรีไซเคิลของตัวเองได้มากขึ้น โดยส่วนที่สำคัญที่สุดคือจะต้องไม่ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของแบตเตอรี่ลดลงนั่นเอง
การคิดค้นใหม่ในครั้งนี้จะช่วยให้ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสามารถจัดการกับทรัพยากรในการผลิตแบตเตอรี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการนำมารีไซเคิลและใช้งานซ้ำอีกครั้งแทนการทิ้งไปอย่างสูญเปล่า ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีดี ๆ ที่จะช่วยสร้างความยั่งยืนของการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในโลกของเราให้เกิดความคุ้มค่าได้ครับ