AUTOMATION EXPO 2024 งานแสดงเทคโนโลยีและโซลูชันระบบอัตโนมัติสำหรับภาคการผลิตที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกที่เพิ่งจัดขึ้นได้เน้นย้ำความสำคัญกับ Ecosystem ที่เกิดขึ้นในโรงงานตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานไปจนถึงการต่อยอดเทคโนโลยีการวิเคราะห์ และจำลองเพื่อคาดการณ์สถานการณ์ในอนาคต การใช้งานศักยภาพเหล่านี้ของโรงงานยุคใหม่จำเป็นต้องมีการร่วมมือและบูรณาการร่วมกันจากหลากหลายภาคส่วน โดย AIS Business ในฐานะผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานและดิจิทัลโซลูชันได้ร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อนำเสนอโซลูชันใหม่ ๆ ที่สร้างความคล่องตัวในการแข่งขันยุคปัจจุบัน ซึ่งโซลูชันที่จัดแสดงทั้งหมดมีการนำไปใช้จริงภายใต้สภาพแวดล้อมอุตสาหกรรมแล้ว
ความท้าทายของการผลิตไม่ว่าจะยุคสมัยใดก็ต้องการที่จะลดความสูญเปล่า และสร้างผลกำไร ซึ่งการแข่งขันในยุคปัจจุบันนั้นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างความโปร่งใสของข้อมูลในการบริหารจัดการทรัพยากรที่ทันต่อสถานการณ์เพื่อเอาชนะความท้าทายที่เกิดขึ้น แต่ในประเด็นของการทำ Digital Transformation นั้นกลับมีปัญหาเกิดขึ้นหลากหลายมิติซึ่งไม่ได้ผูกติดเฉพาะกับประเด็นเรื่องเงินทุนเพียงอย่างเดียว ยังมีความท้าทายในเรื่องการของบูรณาการเทคโนโลยีที่หลากหลาย ความต้องการในเรื่องของการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานและระบบที่ต้องมีความยืดหยุ่นพอที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ตลอดจนประเด็นของการขาดแคลนแรงงานและทักษะที่จำเป็นสำหรับการผลิตยุคใหม่ยังเป็นอีกหนึ่งกำแพงสำคัญที่ทำให้การทำ Digital Transformation เกิดขึ้นได้ยาก การเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงแม้จะต้องมุ่งความสำคัญไปที่จุดใดจุดหนึ่งแต่ในขณะเดียวกันจำเป็นต้องมองให้เห็นครบทั้ง Ecosystem ที่เกี่ยวข้อง AIS Business จึงเห็นความสำคัญของการวางรากฐานด้านโครงสร้างดิจิทัล เพื่อนำไปพัฒนาโซลูชันที่สามารถตอบสนองความต้องการเหล่านี้ควบคู่ไปกับการทำงานกับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด ซึ่งสะท้อนออกมาเป็นโซลูชันที่จัดแสดงอยู่ภายในงาน AUTOMATION EXPO 2024 นั่นเอง
AIS Business ต่อยอดศักยภาพ ‘คน’ ด้วยโครงสร้างพื้นฐานและโซลูชันดิจิทัลสำหรับโรงงานใน AUTOMATION EXPO 2024
AUTOMATION EXPO 2024 นั้นเป็นงานแสดงสินค้าและโซลูชันระบบอัตโนมัติสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมยุคใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาหัวใจของธุรกิจอย่าง ‘คน’ หรือ ‘แรงงาน’ ที่อยู่ในภาคการผลิตด้วยการนำเสนอหัวข้อสัมมนาที่ทันสมัยและหลากหลาย รวมถึงการนำเสนอเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อการแข่งขัน ซึ่งการจัดงานในปี 2024 นี้มีหัวข้อสัมมนาที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลอยู่มากมาย ตั้งแต่ระบบเครือข่าย 5G, Cybersecurity ไปจนถึง Workshop การทำโครงการนำร่องขนาดเล็กในโรงงาน ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านทักษะและวิสัยทัศน์ของผู้เข้าชมงานให้สามารถเติบโตได้ภายใต้การแข่งขันยุคใหม่ที่มีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเสมือนแกนกลางสำคัญ
ในขณะเดียวกัน ส่วนจัดแสดงสินค้าและโซลูชันภายในงานนั้นมีทั้งเซนเซอร์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ Cobot และการจำลอง Flexible Manufacturing ขนาดย่อม ตลอดจนเครื่องพิมพ์ 3 มิติให้ได้เลือกชม โดยพื้นที่ไฮไลต์อย่าง Industrial Internet of Things: The Ecosystem นั้นมีโซลูชันด้านดิจิทัลสำหรับโรงงานเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ IIoT, แพลตฟอร์มสำหรับโรงงาน, ERP, MES, โซลูชันด้านโลจิสติกส์, AI Video Analytic และ AMR ที่ผู้ประกอบการสามารถขอคำปรึกษาได้อย่างใกล้ชิด โดยมี AIS Business ที่ได้นำเสนอโซลูชันที่มีความโดดเด่นในพื้นที่พิเศษนี้เอง
AIS Business ได้ร่วมจัดแสดงสินค้าในงาน AUTOMATION EXPO 2024 นับเป็นครั้งที่ 3 แล้วสำหรับจัดแสดงในพื้นที่พิเศษของงาน ซึ่งการจัดแสดงงานครั้งแรกเป็นการแสดงโซลูชันสำหรับพลังงานและการบำบัดของเสียที่สามารถปรับใช้งานได้อย่างหลากหลาย ในขณะที่การจัดแสดงงานครั้งที่ 2 นั้นเป็นการนำเสนอโซลูชันคลังสินค้าอัจฉริยะที่มีทั้งระบบจัดเก็บสินค้าและหุ่นยนต์ขนสินค้าขนาดเล็ก และในงานปี 2024 นี้เป็นการบูรณาการโซลูชันอันหลากหลายเข้าด้วยกัน โดยมีโซลูชันใหม่ ๆ อย่าง 5G AI Forklift ที่รองรับน้ำหนักได้มากถึง 1,000 กิโลกรัม, Cobot ที่ใช้งานกับกล้อง 3 มิติ, Cloud สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม, 5G FWA Private Network, 5G AI OCR สำหรับการทำ Document Automation ในโรงงาน และโซลูชันทีเด็ดอย่าง Paragon Platform ที่ลดต้นทุนและระยะเวลาการพัฒนา Software Application โดยเฉพาะ Software ด้านระบบอัตโนมัติ ได้อย่างคล่องตัว ซึ่งโซลูชันทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้จากความร่วมมือกับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญในภาคการผลิตของไทยและผู้ให้บริการโซลูชันด้านดิจิทัลระดับสากล
Paragon Platform จาก AIS Business เพิ่มความคล่องตัวและลดต้นทุนโครงสร้างพื้นฐาน
Paragon Platform เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์จาก AIS Business ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อลดต้นทุนการใช้งานเทคโนโลยีต่าง ๆ ในธุรกิจการผลิต ด้วยการผสานรวมความสามารถของเทคโนโลยี 5G, MEC และ Cloud เข้าด้วยกัน จึงเพิ่มความคล่องตัวในการพัฒนาแอปพลิเคชันในการใช้งานเทคโนโลยีและโซลูชันต่าง ๆ โดยสามารถเข้าถึงการใช้งาน และปรับแต่งคุณสมบัติการใช้งานของโครงสร้างพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นเครือข่าย 5G, MEC หรือ Cloud ให้เหมาะสมกับลักษณะการทำงานของแอปพลิเคชันต่างๆ รวมถึงสามารถ Deploy แอปพลิเคชันผ่านหน้าจอออนไลน์ได้แบบทันทีตามต้องการ ช่วยให้ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการในส่วนนี้ได้ดียิ่งขึ้น
ในการวางระบบโครงข่ายดิจิทัลและการควบคุมสั่งการต่าง ๆ แต่เดิมนั้นในโรงงานจะต้องลงทุนสร้าง Server หน่วยจัดเก็บข้อมูลตลอดจนหน่วยประมวลผลต่าง ๆ ซึ่งต้องมีการใช้งานพื้นที่ การดูแลรักษา ตลอดจนประเด็นเรื่องของความปลอดภัยที่ตามมา แต่การใช้ Paragon Platform สามารถลดต้นทุนและความซับซ้อนในกระบวนการดังกล่าวได้ เช่น การใช้ MEC เพื่อประมวลผลผ่านเครือข่าย ซึ่งมี Latency ที่ต่ำมากและมีความปลอดภัยในการส่งข้อมูลสูงกว่า เนื่องจากไม่ต้องส่งข้อมูลไปยัง Cloud หรือหน่วยประมวลผลที่ตั้งอยู่ที่ต่างประเทศ ทำให้การส่งต่อข้อมูลมีจำนวนจุดพักน้อย (Data Hop) และสามารถส่งข้อมูลกลับได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
หนึ่งในจุดเด่นของ Paragon Platform คือ บริการ Marketplace ที่รองรับผู้พัฒนาต่าง ๆ ในการให้บริการแอปพลิเคชันที่ทำให้เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่สร้างความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น Singtel และ Fortinet ที่จับมือกันพัฒนาความปลอดภัยทางไซเบอร์ และภายในงาน AUTOMATION EXPO 2024 ได้นำเสนอการใช้ศักยภาพของตัวแทนจำหน่ายโซลูชันและ System Integrator (SI) บน Paragon Platform ที่เป็นการทำงานแบบ Real-Time ผ่าน Web-Based ได้แก่
- Genesis 64 จาก Mitsubishi Electric ทำหน้าที่เป็นซอฟต์แวร์สำหรับระบบ SCADA
- Ignition (SCADA /HMI), N3URON IIoT Platform, Thingsboard (IoT Platform) โดย Appomax
- โซลูชันการซ่อมบำรุงเชิงคาดการณ์โดย IBCON
- แอปพลิเคชันสำหรับการติดตามระดับน้ำในแทงค์จาก Pico
- แอปพลิเคชันซ่อมบำรุงอัจฉริยะโดย Qonnect
ด้วยการที่ Paragon Platform ถูกออกแบบให้เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ซึ่งสามารถติดตั้งแอปพลิเคชันได้ การทำงานจึงเหมือนกับเป็น Server ของคอมพิวเตอร์ที่สามารถประมวลผล ติดตั้งโปรแกรมได้ ใช้งานได้สะดวก ไม่ต่างจากคอมพิวเตอร์ศักยภาพสูงแต่ไม่ต้องติดตั้งอยู่ในโรงงาน จึงไม่จำเป็นต้องลงทุนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ซึ่งปกติแล้วการทำงานในศักยภาพเหล่านี้จะต้องมีการลงทุนทั้ง 2 ส่วนในมูลค่าที่มหาศาลหากต้องการคุณสมบัติเทียบเท่าสิ่งที่ Paragon Platform สามารถมอบให้ได้
จากการที่ AIS Business ได้จับมือเป็นพันธมิตรเข้ากับตัวแทนจำหน่ายโซลูชันและเจ้าของเทคโนโลยีชั้นนำ จึงทำให้เกิดการบูรณาการ Paragon Platform เข้ากับกิจกรรมต่าง ๆ ในภาคอุตสาหกรรมได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโซลูชันจากแบรนด์ชั้นนำระดับสากลที่มักจะมาพร้อมกับรายละเอียดการบูรณาการที่ซับซ้อน เปลี่ยนสิ่งที่เคยเป็นเพียงแนวคิดหรือเป็นโครงการนำร่องกลายมาเป็นเทคโนโลยีที่สามารถใช้งานได้อย่างมั่นใจและมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
โซลูชันจาก AIS Business และพันธมิตร กับความสำเร็จของ Ecosystem ภาคการผลิตในประเทศไทย
โซลูชันจาก AIS Business ที่ตั้งอยู่บนโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยี 5G นั้นไม่ได้ถูกขับเคลื่อนจาก AIS Business เพียงหน่วยงานเดียว แต่ความสำเร็จที่ครอบคลุมความต้องการในภาคการผลิตที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลจากความร่วมมือกับพันธมิตรทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของเทคโนโลยี หน่วยงานภาครัฐ ลูกค้า ตลอดจนสมาคมต่าง ๆ เพื่อสร้าง Ecosystem ของการผลิตยุคดิจิทัลที่สามารถขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงได้จริง
ภายใต้ Ecosystem ที่เกิดขึ้นของพันธมิตรนั้นไม่ได้มีเพียงแต่ SI และตัวแทนจำหน่ายโซลูชันเท่านั้น แต่ AIS Business ยังร่วมมือกับหน่วยงานและสถาบันชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมการผลิตยุคใหม่ ซึ่งทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องวิจัยและ Sandbox สำหรับการขับเคลื่อนภาคการผลิต ตัวอย่างเช่น
- TGI (สถาบันไทย – เยอรมัน): ร่วมพัฒนา 5G Testbed เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำหรับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม และ SI ในการเรียนรู้ทดสอบ ทดลองเพื่อเชื่อมโยงเทคโนโลยี OT และ IT ในการทำงานร่วมกัน
- SMC (ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน): ร่วมพัฒนา 5G Testbed เพื่อเป็นพื้นที่ในการทดสอบ ทดลองสำหรับผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม ร่วมสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลสำหรับสมาชิก SMC ไม่ว่าจะเป็นการทดลองใช้งาน 5G Private Network, 5G Manufacturing Platform และ AIS Paragon Platform เพื่อร่วมสนับสนุน และผลักดันภาคอุตสาหกรรมสู่การผลิตยุค 4.0
- EEC Automation Park: พันธมิตรร่วมสนับสนุนการใช้งาน และให้ความรู้แก่ภาคอุตสาหกรรมถึงความสำคัญของเครือข่าย 5G ในภาคอุตสาหกรรม โดยเน้นให้ความสำคัญกับธุรกิจการผลิตในพื้นที่ EEC
- TARA (สมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์): เป็นพันธมิตรร่วมสนับสนุน SI และผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนการผลักดันให้เกิดการยกระดับภาคอุตสาหกรรมสู่การผลิตยุค 4.0 พร้อมด้วยให้คำแนะนำในเรื่องการสนับสนุนจากภาครัฐ
การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรมร่วมกับพันธมิตรนั้นทำให้เกิดแนวคิด Digital Industry Evolution ที่ให้ความสำคัญกับการยกระดับภาคการผลิต โลจิสติกส์-การขนส่ง และอสังหาริมทรัพย์-ค้าปลีก ผ่านเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ 5G และโซลูชันดิจิทัล โดยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างหลากหลายอุตสาหกรรม (Cross Collaboration Industry) เพื่อดึงเอาศักยภาพที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้ออกมา ซึ่ง AIS Business มีกรณีการใช้งานที่ประสบความสำเร็จเกิดขึ้นแล้วในปัจจุบันจำนวนมาก โดยมี 6 กรณีการใช้งานที่น่าสนใจ ได้แก่
1. การใช้ 5G กับ Autonomous Drone ครั้งแรกในประเทศไทย
การพัฒนา 5G AI Autonomous Drone System ที่เรียกว่า Horrus โดยบริษัท ARV ซึ่งเป็นโดรนที่ทำงานบนเครือข่าย 5G ซึ่งมีระยะทำการไกลระดับนอกสายตาได้ เหมาะสำหรับงานตรวจสอบโครงสร้างในพื้นที่เข้าถึงยากและการรักษาความปลอดภัย ซึ่งเป็นการทำงานอยู่บน Paragon Platform ที่มีความยืดหยุ่นสูงและปรับแต่งได้ง่าย
2. Edge Computing สำหรับการผลิต
ในกรณีของ Somboon Advance Technology มีการใช้งาน 5G Private Network และ Edge Computing เพื่อทำให้การประมวลผลเกิดขึ้นได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ เช่น งาน 3D Vision-Robot, AS/RS-Warehouse และ Unmanned AGV ซึ่งต้องการการประมวลผลที่รวดเร็ว แม่นยำ เพื่อแก้ปัญหาความหน่วงที่อาจส่งผลต่อการทำงานร่วมกันของระบบอัตโนมัติได้
3. การบริหารจัดการพลังงานแบบ Real-Time สำหรับโรงงาน
ในกรณีตัวอย่างของบริษัท สยามโตโยต้าอุตสาหกรรม จำกัด ได้มีการนำเทคโนโลยี 5G มาใช้ในการทำงานขององค์กรที่มีความสำคัญสูงอย่างการนำแพลตฟอร์มบริหารจัดการพลังงาน (Energy Platform) มาใช้ในการกระบวนการผลิต ทำให้สามารถติดตามข้อมูลการใช้พลังงานได้แบบ Real-Time
4. การบริหารจัดการเครือข่ายของระบบอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม
จากกรณีศึกษาของ SNC Industrial Automation ที่ใช้งาน Network Slicing ด้วยการทำ FWA (Fixed Wireless Access) เพื่อกำหนดคุณภาพเครือข่ายที่ใช้ในการสื่อสารของหุ่นยนต์และเครื่องจักรในโรงงาน ทั้งยังมีการใช้งาน Edge Computing เพื่อลดความหน่วงการสื่อสารที่เกิดขึ้น และเสริมความปลอดภัยของระบบเครือข่ายด้วย 5G Private Network
5. การบริหารจัดการเทคโนโลยีอัตโนมัติในพื้นที่เปิดของท่าเรือ
หนึ่งในตัวอย่างการใช้งานสำหรับพื้นที่กว้าง AIS Business ได้บูรณาการเครือข่าย 5G เข้ากับ Hutchison Ports ประเทศไทย ณ ท่าเรือแหลมฉบังทำให้แนวคิด Smart Seaport ซึ่งปั้นจั่นสำหรับยกตู้สินค้าสามารถควบคุมได้จากระยะไกล ทำให้ผู้ควบคุมไม่ต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงในการดำเนินการ ตลอดจนการใช้งานรถบรรทุกอัตโนมัติไร้คนขับที่สามารถทำงานในเส้นทางการจราจรร่วมกับรถบรรทุกทั่วไปได้อย่างปลอดภัย เพราะสามารถแแบ่งขนาดของช่องทางสัญญาณให้เหมาะกับการใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ด้วย Network Slicing
6. การควบคุมยานพาหนะอัตโนมัติในพื้นที่อันตราย
ในกรณีของ SCG นั้นได้มีการใช้งาน 5G Private Network ในพื้นที่การทำเหมืองซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อแรงงาน ทั้งความอันตรายในพื้นที่จำกัด การขาดอากาศ และโอกาสที่จะเกิดการถล่มของเหมือง การนำ 5G มาใช้ร่วมกับระบบอัตโนมัติ เช่น ยานยนต์ไฟฟ้าอัตโนมัติหรือการควบคุมระยะไกลจะช่วยลดการใช้แรงงานคนในพื้นที่ซึ่งต้องแบกรับความเสี่ยงได้ จึงเป็นการเพิ่มความปลอดภัย ตลอดจนสามารถลดการใช้พลังงานที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกได้อย่างชัดเจนอีกด้วย
ความสำเร็จเหล่านี้เป็นเพียงเรื่องราวส่วนหนึ่งที่สามารถเปิดเผยได้จากกรณีความร่วมมือกันระหว่างพันธมิตรและ AIS Business ที่มีความเชี่ยวชาญและเข้าใจถึง Ecosystem ของโรงงานอุตสาหกรรมยุคใหม่ที่ต้องอาศัยการบูรณาการทักษะที่หลากหลายเข้าด้วยกันได้เป็นอย่างดี
AIS Business ประตูสู่ Digital Transformation สำหรับโรงงานและนักพัฒนาที่อยากเติบโต
การขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมหรือการเปลี่ยนแปลงโรงงานนั้นไม่อาจประสบความสำเร็จได้เมื่อต้องดำเนินการอย่างโดดเดี่ยว การบูรณาการระหว่างเทคโนโลยีนั้นก็ไม่เคยเป็นเรื่องง่าย AIS Business ที่เข้าใจถึงความซับซ้อนและความท้าทายที่เกิดขึ้นจึงได้ร่วมกันสร้างพันธมิตรสำหรับภาคอุตสาหกรรมขึ้นมา โดยตั้งใจให้เกิด Ecosystem ที่สามารถตอบสนองได้ต่อผู้ประกอบการทุกขนาดทุกเงื่อนไข
ผู้ประกอบการที่กำลังมองหาการเปลี่ยนแปลงหรือการทำ Transformation สามารถเริ่มต้นได้อย่างสะดวกและง่ายดายไม่ว่าจะมีเงื่อนไขข้อจำกัดใด เพราะในกลุ่มพันธมิตรยังมีหน่วยงานอย่าง BOI ที่คอยสนับสนุนเรื่องเงินทุนภาษี มี SI ที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลายพร้อมให้คำแนะนำในการบูรณาการ มีพันธมิตรด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลจาก AIS Business ที่เพิ่มความคล่องตัว ความปลอดภัย และความสะดวกรวดเร็วภายใต้มาตรฐานระดับสากล ดังนั้นการเริ่มต้นพูดคุยกับองค์กรที่เป็นพันธมิตรที่อยู่ใน Ecosystem จึงสามารถตอบสนองได้ทั้งภาพลึกเฉพาะของโรงงานและภาพกว้างที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้อย่างครบวงจร
ในขณะเดียวกัน AIS Business ยังเปิดพื้นที่ Marketplace ของ Paragon Platform สำหรับเหล่านักพัฒนาที่ต้องการสร้างแอปพลิเคชันการใช้งานสำหรับภาคธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมากและมีความซับซ้อนสูง Paragon Platform จึงเป็นทั้งพื้นที่สำหรับการ Operate และทดลองการติดตั้งแอปพลิเคชันของโรงงานที่ช่วยลดต้นทุนได้มหาศาล ทั้งยังเพิ่มความคล่องตัวและรวดเร็วในการดำเนินการ ซึ่งในส่วนของ Dev. หรือผู้พัฒนาโซลูชัน-แอปพลิเคชันต่าง ๆ เอง Paragon Platform นับเป็นพื้นที่ที่สำคัญสำหรับการวางจำหน่ายหรือให้บริการที่มีคุณสมบัติครบครัน ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรในระบบ ตลอดจน Scalability ต่าง ๆ ที่ดึงดูดผู้ใช้ได้ด้วยความคุ้มค่าของแพลตฟอร์มที่ผสมผสานกับ Marketplace สามารถ Deploy และให้บริการได้อย่างง่ายดาย ซึ่งในมิติของ Startup หรือผู้พัฒนาโซลูชันแล้วนับเป็นโอกาสอันดีในการนำเสนอโซลูชันและบริการผ่านทางช่องทางที่มีความโดดเด่นในฐานะพันธมิตรของ AIS Business อีกด้วย
จากภาพของ AIS Business ที่มีความพยายามในการพัฒนาเทคโนโลยีและโซลูชันอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการวางบทบาทในการเป็นพันธมิตรและสร้าง Ecosystem ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ประกอบการได้ครบทุกมิติ ผู้เข้าชมงาน AUTOMATION EXPO 2024 จึงสามารถมองเห็นและสัมผัสได้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้จริง ไม่ใช่เรื่องเทรนด์หรือค่านิยมที่ไกลตัวอีกต่อไป แต่เป็นศักยภาพที่เข้าถึงได้แล้วในวันนี้โดยไม่จำเป็นต้องกังวลต่อการขาดแคลนความรู้ ความไม่แน่ใจในการเริ่มต้น หรือขนาดของธุรกิจที่มี การพูดคุยกับพันธมิตรใน Ecosystem ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น AIS Business เองหรือพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ จึงสามารถทำให้โรงงานในประเทศไทยเกิด Digital Transformation ได้บนพื้นฐานของความคุ้มค่าและสร้างผลลัพธ์ที่จับต้องได้อย่างไร้กังวล ทั้งยังสามารถเริ่มต้นได้ทันที!
หากองค์กรของท่านสนใจปรึกษาและพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีและโซลูชันสำหรับภาคการผลิตสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://www.ais.th/business/enterprise/industries/manufacturing
หรือปรึกษาทีมงานผู้เชี่ยวชาญได้ที่อีเมล:
[email protected]