AIS 5G เลือกใช้มีสายหรือไร้สายในโรงงานดีกว่ากัน?

‘มีสาย’ vs ‘ไร้สาย’ เลือกใช้ระบบเครือข่ายในโรงงานอย่างไรให้คุ้มค่า

Date Post
16.09.2024
Post Views

ปฏิเสธไม่ได้ว่าอินเทอร์เน็ต หรือระบบเครือข่ายในรูปแบบต่าง ๆ นั้นมีผลต่อการแข่งขันและการดำเนินธุรกิจของโรงงานอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นกระดูกสันหลังอันแสนสำคัญในการติดต่อสื่อสาร หรือใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจ แต่หนึ่งในคำถามยอดฮิตที่เรียบง่ายและคลาสสิกเสมอมา คือ “แล้วโรงงานจะเลือกใช้เครือข่ายแบบไหนดี? มีสายหรือไร้สาย ?” ซึ่งประเด็นดังกล่าวเป็นคำถามที่คิดได้ง่าย แต่ถ้าจะหาคำตอบ โรงงานต้องมองเห็นภาพของตัวเองให้ชัดเสียก่อนว่ามีความต้องการและเงื่อนไขแบบใด

ทำไมโรงงานที่มีระบบเครือข่ายข้อมูลดิจิทัลที่เข้มแข็งจึงเติบโตได้อย่างรวดเร็วและหนักแน่น?

สำหรับโรงงานหรือผู้ประกอบการที่ยังไม่เข้าใจว่าทำไมต้องมีระบบเครือข่ายในโรงงาน ต้องขอเล่าแบบนี้ก่อนว่า การใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลในโรงงานนั้นเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะเทคโนโลยีดิจิทัลมีส่วนสำคัญอย่างมากในการลดต้นทุน และเพิ่มความคล่องตัวของกิจกรรมต่าง ๆ ยกตัวอย่างที่เห็นง่ายที่สุด คือ งานเอกสารที่เปลี่ยนจากกระดาษเป็นไฟล์ ทำให้การเก็บรักษา การเข้าถึง และการนำมาใช้งานนั้นสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบย้อนหลังที่มาของข้อมูล ไปจนถึงการกำหนดสิทธิ์เข้าถึงต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างยืดหยุ่น

แน่นอนว่าปัจจัยสำคัญของการผลิตนั้นมีทั้งปัจจัยภายนอก คือ ความต้องการของลูกค้า ตลาด เศรษฐกิจ รวมถึงคู่แข่ง ในขณะเดียวกันปัจจัยภายในก็แฝงอยู่ในกระบวนการผลิต การจัดเก็บสินค้า การแสวงหาวัตถุดิบ การนำส่ง ฯลฯ เรียกได้ว่ามีกิจกรรมที่ต้องจับตาดู และตรวจสอบตลอดทั้งซัพพลายเชน ซึ่งในกระบวนการเหล่านี้มีข้อมูลเกิดขึ้นอยู่มากมายในแต่ละกิจกรรมย่อย ปัญหาสำคัญที่ผู้ประกอบการ และผู้จัดการต้องเจอ คือ ‘ข้อมูลที่ได้มานั้นมีความไม่สมประกอบ’ ทำให้การคาดการณ์ผิดพลาด การวางแผนผิดเพี้ยน ท้ายที่สุดความเสียหายที่เกิดขึ้นส่งผลต่อการเติบโตต่อธุรกิจโดยตรง

ยกตัวอย่าง การจดบันทึกข้อมูลจากเครื่องจักรเพื่อทำรายงาน เช่น แรงดันระบบท่อ การจดบันทึกอาจมองเห็นค่าที่ผิดเพี้ยน หรือมีการเขียนที่อ่านยาก ไปจนถึงคราบต่าง ๆ ที่ปนเปื้อนที่ทำให้ผู้ประเมินเข้าใจค่าผิดไป กรณีเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกกิจกรรมและทุกขั้นตอน ลองคิดดูว่าหากมีการจดข้อมูลคลาดเคลื่อนเพียงเล็กน้อย อาจจะแค่ 0.1 หรือ 0.01 แต่หากมีการคลาดเคลื่อนเล็ก ๆ แบบนี้เกิดขึ้น 50% ของธุรกิจ ภาพใหญ่ที่เห็นนั้นจะเกิดการคลาดเคลื่อนมากมายขนาดไหน? จะเห็นได้ว่าข้อมูลที่ผิดพลาดไม่สมประกอบก็เป็นปัญหาใหญ่ได้ ข้อมูลมาถึงมือของผู้รับผิดชอบล่าช้า เช่น ความเร่งด่วนในการซ่อมบำรุงก็อาจทำให้ปัญหาบานปลายได้อย่างง่ายดาย

เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ขอยกตัวอย่างข้อมูลจาก McKinsey & Company ที่เผยให้เห็นประโยชน์ของเครือข่ายข้อมูลในมุมของอุตสาหกรรม 4.0 ว่าสามารถลด Downtime ของเครื่องจักรได้ 30 – 50% เพิ่ม Productivity ของแรงงานได้ 15 – 30% เพิ่ม Throughput ได้สูงสุด 30% และทำให้การคาดการณ์ได้แม่นยำเพิ่มขึ้นถึง 85% 


3 ปัจจัยสำคัญในการใช้งานข้อมูลยุคดิจิทัล

เพื่อให้เข้าใจจุดเด่นและประเด็นสำคัญของการใช้ข้อมูลในยุคสมัยใหม่ หรือจะเรียกว่าเป็นการใช้ข้อมูลในยุคดิจิทัล ทุกคนจำเป็นจะต้องเข้าใจถึงความแตกต่างของคุณสมบัติสำหรับข้อมูลยุคดิจิทัลว่าแตกต่างจากข้อมูลยุคเก่าหรือจะเรียกว่าข้อมูลยุค Analog อย่างไรบ้าง โดยประเด็นที่ต้องพิจารณาเป็นหลัก 3 ประเด็น ได้แก่

ความถูกต้องของข้อมูล

ประเด็นสำคัญที่สุดของข้อมูล ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดหรือยุคไหนก็ตาม ความถูกต้องของข้อมูลนั้นสำคัญที่สุด ข้อมูลที่ผิดเพี้ยนย่อมส่งผลให้การต่อยอดใช้งาน และการทำความเข้าใจคลาดเคลื่อน ภายใต้การแข่งขันของธุรกิจยุคใหม่ที่รูปแบบของข้อมูลนั้นมีหลากหลาย เช่น ข้อมูลตัวเลข ข้อมูลเสียง ข้อมูลภาพต่าง ๆ ไปจนถึงความละเอียดของข้อมูลดิจิทัลที่วัดได้เป็นหลักทศนิยมหลายหลัก แตกต่างจากข้อมูลยุคเดิมที่เป็นการบันทึกลงเอกสารที่ความละเอียดไม่ได้มากเท่าข้อมูลแบบดิจิทัลที่ส่งผ่านเครือข่ายเข้าสู่ระบบโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดู Gauge แบบดั้งเดิมเพื่อบันทึกข้อมูล จะเห็นได้ว่าข้อมูลดิจิทัลลด Human Error ได้เป็นอย่างดี ทั้งยังช่วยให้สามารถติดตามข้อมูลย้อนหลังเพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงได้อย่างแม่นยำอีกด้วย

ความรวดเร็วของข้อมูล

นอกเหนือจากความถูกต้องของข้อมูลแล้ว ความรวดเร็วของข้อมูลยังมีส่วนสำคัญอย่างมาก หากข้อมูลมีความถูกต้อง แม่นยำ แต่กลับไม่สามารถนำมาใช้งานได้ทันเวลา ความสูญเสียก็สามารถเกิดขึ้นได้อยู่ดี จุดเด่นของข้อมูลยุคดิจิทัล คือ มีความรวดเร็วในการเข้าถึง และใช้งานสูง ทำให้เกิดความคล่องตัวในการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นชนิดของข้อมูลรูปแบบใดก็ตาม นั่นหมายความว่าระบบเครือข่ายที่ดีจะต้องรองรับการ Streaming รูปแบบข้อมูลที่แตกต่างกันได้อย่างเหมาะสม ไม่เกิดคอขวดในระบบที่ส่งผลต่อความล่าช้าของข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

ความสามารถในการตอบสนองต่อสถานการณ์

เมื่อข้อมูลมีความถูกต้อง และมีความรวดเร็วแล้ว คุณสมบัติที่ 3 คือ ความสามารถในการตอบสนองต่อสถานการณ์นั้นเป็นหัวใจสำคัญที่ต่อยอดมาจาก 2 คุณสมบัติแรก ความสามารถในการตอบสนองต่อสถานการณ์นั้นต้องอาศัยความเร็ว และความถูกต้องของข้อมูลเพื่อให้เกิดการโต้ตอบของข้อมูล ไปจนถึงการดำเนินการต่าง ๆ ได้แบบ Real-Time ยกตัวอย่างในกรณีของ Cyber Security ที่ความสามารถในการตอบสนองต่อสถานการณ์เป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเป็นการแข่งกับเวลาทั้งในการป้องกัน และการตอบโต้ต่อการจู่โจมที่เกิดขึ้นในระบบ ความเสียหายที่เกิดขึ้นเรียกได้ว่ามีมูลค่ามหาศาล นอกจากนี้ความหมายของคำว่าการตอบสนองต่อสถานการณ์นั้นยังหมายรวมถึงการใช้ทรัพยากรอื่น ๆ ในระบบเพื่อแก้ไขสถานการณ์อีกด้วย

สำรวจ ‘ความต้องการ’ ของระบบดิจิทัลในโรงงาน เงื่อนไขความสำเร็จของ Digital Transformation

สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลในโรงงาน ระบบโครงข่ายดิจิทัลในธุรกิจการผลิตหรือโรงงานอุตสาหกรรมเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะส่งเสริมให้ Digital Transformation ประสบความสำเร็จได้ ไม่ว่าจะในแง่ของการบริหารจัดการ การผลิต หรือการควบคุมคุณภาพ ผู้ประกอบการอาจมีคำถามว่า แล้วจะต้องเริ่มต้นอย่างไร ? และจะเลือกการใช้งานเครือข่ายแบบไหนดีกว่า

อย่างที่รู้กันดีว่ารูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายหลัก ๆ ในโลกทุกวันนี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ แบบไร้สาย และแบบมีสาย ซึ่งทั้งสองรูปแบบต่างก็มีเงื่อนไขการใช้งานจุดเด่นและจุดที่ต้องพิจารณาแตกต่างกันออกไป 

เลือกใช้เครือข่ายในโรงงานอย่างไรให้เหมาะกับโรงงานของคุณ

ในการเลือกใช้ระบบเครือข่ายในโรงงานนั้น สิ่งแรกที่ต้องทำความเข้าใจ คือ ภาพรวมของการเชื่อมต่อที่เกิดขึ้นทั้งหมดว่ามีอุปกรณ์หรือเครื่องจักรจำนวนเท่าไร จากนั้นจึงจัดลำดับความสำคัญของข้อมูล ประเภทของข้อมูล และทรัพยากรต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการรันระบบอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ และนโยบายที่เกี่ยวข้อง

ประเด็นสำคัญ คือ เทคโนโลยีที่ใช้ เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์อัจฉริยะต่าง ๆ นั้นรองรับการเชื่อมต่อแบบใดบ้าง และมี Protocol สำหรับการเชื่อมต่อแบบไหนที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ ดังนั้น การพิจารณาการเชื่อมต่อเดิมที่รองรับจะช่วยลดต้นทุนได้ แต่ในกรณีที่ต้องการติดตั้งอุปกรณ์เชื่อมต่อสำหรับเครื่องจักร Legacy เพื่อตรวจวัดค่าต่าง ๆ หรือติดตั้งตัวควบคุมรุ่นใหม่เพิ่มเติมควรพิจารณาถึงความต้องการทรัพยากรของระบบนั้น ๆ เช่น ความเร็วในการตอบสนอง หรือปริมาณข้อมูลที่เกิดขึ้น จากนั้นจึงเลือกใช้ Protocol ที่เหมาะสมซึ่งจะเกี่ยวข้องกับรูปแบบของเครือข่ายข้อมูลว่าจะเป็นไปในรูปแบบใดได้บ้าง

ในการเลือกใช้เครือข่ายสำหรับโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นมีสายหรือไร้สายนั้นมักจะให้ความสำคัญไปกับรูปแบบ Layout การจัดวางเครื่องจักร เทคโนโลยีที่รองรับ รวมถึงปริมาณการเชื่อมต่อที่เกิดขึ้น โดยจุดเด่นของการเลือกใช้การเชื่อมต่อแบบมีสาย และไร้สายสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่

จุดเด่นและข้อควรระวังสำหรับระบบเครือข่ายแบบมีสาย

จุดเด่น:

  • มีความเสถียรของการส่งสัญญาณสูง
  • เหมาะสำหรับโรงงานขนาดเล็ก มีเครื่องจักรเชื่อมต่อจำนวนไม่มากนัก เช่น ไม่เกิน 20 เครื่อง
  • มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากการเชื่อมต่อต้องเกิดขึ้นผ่านระบบสายหรือภายในเครือข่ายเท่านั้น การเชื่อมต่อจากภายนอกก็สามารถ Monitor ได้ง่ายกว่า
  • ในการใช้เครือข่ายระบบสายกับโรงงานขนาดเล็กจะมีต้นทุนที่ถูกกว่า สามารถทดลองและปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ง่าย จึงเหมาะกับโรงงานที่เริ่มต้น Transformation หรือต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงของโรงงานไปพร้อม ๆ กับบุคลากร 
  • เป็นเทคโนโลยีที่มีมายาวนาน ทำให้หาความรู้และการประยุกต์ใช้ได้ง่าย

ข้อควรระวัง:

  • การเปลี่ยนแปลง Layout หรือจัดวางเครื่องจักรใหม่มีต้นทุนสูงในการเดินสายและระบบที่เกี่ยวข้อง ขึ้นอยู่กับประเภทสายข้อมูลที่ใช้ด้วย ทำให้ขาดความยืดหยุ่นคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนสายการผลิต
  • สำหรับโรงงานขนาดใหญ่ การเดินสายจึงมีความซับซ้อนที่สูงขึ้น นำมาซึ่งต้นทุนการซ่อมบำรุงและเวลาที่ใช้สูงตาม
  • โรงงานที่มีเครื่องจักรเชื่อมต่อจำนวนมาก ทำให้ระบบและ Ecosystem ต้องมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นตาม ทำให้การ Scalable ต้องใช้ต้นทุนสูง
  • รูปแบบการเดินสายข้อมูลและเทคโนโลยีที่ใช้ (Network Topology) จะส่งผลต่อการตอบสนองต่อความผิดพลาด เช่น การเดินสายแบบดาว, แบบต้นไม้, แบบวงแหวน, Ethernet, Redundant Fiber Optic Loop และ Synchronous เป็นต้น

จุดเด่นและข้อควรระวังสำหรับระบบเครือข่ายแบบไร้สาย

จุดเด่น:

  • มีความคล่องตัวและความยืดหยุ่นในการปรับสายการผลิตสูง
  • สามารถรองรับการ Scalable ได้ดี โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนฮาร์ดแวร์จำนวนมาก
  • สำหรับโรงงานที่มีการเชื่อมต่อผ่านเครื่องจักรหรืออุปกรณ์จำนวนมากจะมีต้นทุนที่คุ้มค่ามากกว่าแบบมีสาย
  • ติดตั้งง่าย ยิ่งเทคโนโลยีใหม่ ๆ มักจะถูกนำเสนอพร้อมในรูปแบบ Plug and Play ที่พร้อมใช้งานทันที
  • ต้นทุนซ่อมบำรุงในภาพรวมจะมีเรื่องของระบบเครือข่ายที่ต่ำกว่า
  • สามารถใช้งานในพื้นที่ที่เข้าถึงยากหรือไม่ปลอดภัยได้

ข้อควรระวัง:

  • คุณภาพของสัญญาณขึ้นอยู่กับชนิดเทคโนโลยีที่ใช้ เช่น Bluetooth, Wi-Fi, Cellular 5G หรือ RFID เป็นต้น 
  • กายภาพของเครือข่ายนั้นไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า การซ่อมบำรุงหรือการตั้งค่าจำเป็นต้องมีชุดความรู้และทักษะยุคใหม่
  • มีความอ่อนไหวต่อความปลอดภัยของข้อมูลสูงกว่าแบบสาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานภายใต้รูปแบบของ IoT และ IIoT ที่เป็น Node เชื่อมต่อเข้ากับ Cloud ได้โดยตรง
  • การใช้งานกับโรงงานขนาดเล็กที่ไม่ได้ต้องการเจาะจงคุณสมบัติ ไร้สายอาจมีต้นทุนที่สูงเกินกว่าความเหมาะสมในการใช้งานจริง
  • สภาพแวดล้อมส่งผลต่อคุณภาพสัญญาณได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงงานที่มีเครื่องจักรแออัดหนาแน่น

นอกจากนั้นในการเลือกเทคโนโลยีทั้งแบบมีสายและไร้สาย ยังมีรายละเอียดคุณสมบัติตามโจทย์ความต้องการที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะเครือข่ายไร้สาย ที่มีความแตกต่างตามประเภทเทคโนโลยีและควรต้องเลือกอย่างเหมาะสม 

เลือกใช้เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายอย่างไรให้เหมาะสำหรับงานอุตสาหกรรม

หากพูดถึงเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สาย ผู้ใช้งานส่วนใหญ่อาจคิดถึงเทคโนโลยีที่คุ้นเคย เช่น Wi-Fi ซึ่งมีความยืดหยุ่น สามารถติดตั้งตามจุดที่ต้องการใช้งานได้  แต่เมื่อนำมาใช้กับงานอุตสาหกรรม อาทิ AGV/ Robotic หลายกรณีกลับพบปัญหาเรื่องความเสถียรในการใช้งาน จนทำให้ผู้ใช้งานขาดความเชื่อมั่น และไม่กล้าเลือกใช้งานเครือข่ายไร้สายอีก

สาเหตุสำคัญที่ Wi-Fi อาจไม่เสถียรกับงานในโรงงานนั้น อาจเกิดจากการใช้คลื่นความถี่ ที่เป็นสาธารณะ (Unlicense Spectrum) ที่ไม่สามารถควบคุมการเปิดใช้งานของผู้อื่นที่อาจรบกวนสัญญาณในพื้นที่นั้น ๆ รวมถึงเครื่องจักรต่าง ๆ ในโรงงานที่มักสร้างสัญญาณรบกวนในย่านความถี่เดียวกันด้วย ประกอบกับเทคโนโลยี Wi-Fi ที่ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ (Hand Over) ข้ามพื้นที่ระหว่างเสาสัญญาณ ทำให้มีการหยุดชะงักของการรับส่งข้อมูล เป็นที่มาของความไม่สเถียร ซึ่งหากเทียบกับเทคโนโลยีไร้สายแบบอื่น เช่น 5G ที่พัฒนามาจากเทคโนโลยีของโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทำให้สามารถรองรับการเคลื่อนที่ของอุปกรณ์อย่างต่อเนี่องและมีการกำหนดคลื่นความถี่ที่เฉพาะ จึงให้ความเสถียรรวมถึงมีความเร็วในการใช้งานและการตอบสนองที่ดีกว่าเนื่องจากระบบถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานเคลื่อนที่ตั้งแต่ต้น จะเห็นได้ว่าการเลือกเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายให้เหมาะสมตั้งแต่พื้นฐานและการต่อยอดใช้งานในอนาคตถือเป็นส่วนสำคัญอย่างมาก เพื่อให้เกิดความสะดวกในการต่อยอดสำหรับการใช้งาน และช่วยลดต้นทุนในการทำงานซ้ำซ้อนอีกด้วย

ในความเป็นจริงแล้ว ทางเลือกในการใช้งานระบบเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในรูปแบบของการเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่สามารถบูรณาการให้ระบบของโรงงานประกอบไปด้วยทั้ง 2 เทคโนโลยีนี้ได้ เช่น การเลือกใช้เครือข่ายแบบมีสายสำหรับงานที่มีความสำคัญสูงและไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ และใช้งานระบบไร้สายในจุดที่เข้าถึงยาก เรียกได้ว่าเป็นการเลือกใช้จุดแข็งของเทคโนโลยีทั้ง 2 แบบผสานเข้าหากันได้โดยเกิดประโยชน์สูงสุด

แน่นอนว่าการใช้งานเทคโนโลยีการเชื่อมต่อแบบไร้สายโดยทั่วไป ผู้ใช้งานหรือผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาถึง Ecosystem ต่าง ๆ ในระบบให้ครบถ้วน แต่ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างเทคโนโลยี 5G ที่สามารถติดตั้งทรัพยากรต่าง ๆ ลงไปในเครือข่ายได้ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนการใช้งานเครือข่ายได้อย่างชัดเจน เพิ่มความเร็วในการติดตั้ง และการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเองทั้งหมด

AIS Business 5G เครือข่ายไร้สายสำหรับภาคการผลิตที่มีดีมากกว่าแค่การเชื่อมต่อ

ภายใต้ความท้าทายที่เกิดขึ้นของการแข่งขันในยุคปัจจุบัน AIS Business ได้พัฒนาโซลูชันต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อทำให้ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันได้อย่างมีศักยภาพ ไม่ว่าจะเป็น AIS Fiber ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายผ่านระบบสาย มีความเร็วสูง และมีต้นทุนในการใช้งานที่ต่ำมากสำหรับธุรกิจ AIS Business ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านโครงข่ายโทรคมนาคมชั้นนำของประเทศไทยยังได้พัฒนาโซลูชันการเชื่อมต่อผ่านระบบ 5G ที่ครอบคลุมทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ EEC ที่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ สูงที่สุด ทั้งเทคโนโลยี 5G mmWave 26 GHz และศูนย์ AIS EEC ที่พร้อมต้อนรับผู้ประกอบการเพื่อสัมผัสกรณีตัวอย่างการใช้งานที่เกิดขึ้นจริงแล้วในประเทศไทย

AIS Business 5G คุ้มค่ากว่าด้วยโซลูชันลดต้นทุน และเวลาครบวงจร

จุดเด่นของสัญญาณ 5G จาก AIS Business นอกจากจะมีสัญญาณครอบคลุมทั่วประเทศแล้ว การบริการนั้นถูกออกแบบมาให้ครบทั้ง Ecosystem ในการใช้งาน ทำให้ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้นลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และพัฒนาโซลูชันขึ้นเองส่งผลให้ต้นทุนการใช้งานอยู่ในระดับต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับความคุ้มค่าที่เกิดขึ้น ซึ่งเทคโนโลยี 5G จาก AIS Business มีความคล่องตัว และความเร็วในการใช้งานสูง สามารถรองรับการเชื่อมต่อของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ได้มากถึง 1 ล้านอุปกรณ์ต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร

โซลูชัน 5G จาก AIS Business มีให้เลือกใช้งานหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่บริการเชื่อมต่อแบบเริ่มต้นที่รองรับการใช้งานทั่วไป ไปจนถึง 5G Dedicated Private Network ที่เป็นโรงงาน 5G เต็มรูปแบบ เน้นไปที่ความปลอดภัยและการใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพของเทคโนโลยี 5G เท่าที่จะเป็นไปได้ ในขณะที่เทคโนโลยี 5G Private Network ที่เปิดให้ใช้งานนั้นมาพร้อมกับความสามารถ Network Slicing ที่สามารถแบ่งช่องทางสื่อสารของข้อมูลให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น การส่งข้อมูลขนาดเล็กแต่จำนวนมากอาจจะไม่ต้องการความเร็วที่สูงแต่ต้องมีความต่อเนื่อง ในขณะที่ข้อมูลภาพที่มีความละเอียดสูงเป็นไฟล์ขนาดใหญ่อาจต้องการความเร็วในการส่งไฟล์ที่มากกว่าแต่จำนวนข้อมูลอาจจะไม่มากเท่ากับข้อมูลขนาดเล็กจากเซนเซอร์ ซึ่ง 5G จาก AIS สามารถปรับแต่งตั้งค่าการใช้งานเหล่านี้ได้ ทั้งยังมาพร้อมกับมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับ Cyber Security ระดับสากลที่ไว้ใจได้อีกด้วย

ในกรณีที่โรงงานต้องการการประมวลผลที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ AIS 5G ยังมาพร้อมกับเทคโนโลยี MEC หรือ Multi Access Edge Computing ที่ช่วยให้เกิดการประมวลผลผ่านเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องกังวลเรื่องความหน่วงที่มักเป็นปัญหาสำหรับโรงงานที่ต้องการการตอบสนองแบบ Real-Time หากต้องส่งข้อมูลสลับไปมาระหว่างโรงงาน และ Cloud

สำหรับโรงงานหรือธุรกิจที่ต้องการแพลตฟอร์มที่สามารถติดตั้งแอปพลิเคชันการใช้งานต่าง ๆ เพื่อลดต้นทุน ลดระยะเวลาในการติดตั้ง เพิ่มความคล่องตัวในการทำงาน AIS PARAGON PLATFORM เป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้ออกแบบ และทดสอบระบบออนไลน์ได้เลย โดยไม่ต้องรอระบบจริงติดตั้งเสร็จแล้วจึงประเมินผล ทำให้การออกแบบหรือทดสอบโครงการต่าง ๆ เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องกังวลเรื่องทุนจมหรือความสูญเปล่า

การใช้บริการโซลูชัน 5G จาก AIS Business จึงสามารถเพิ่มความรวดเร็วในการแข่งขัน ลดระยะเวลาทั้งการ Transformation และติดตั้งเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างครบวงจร เพราะ AIS Business ไม่ใช่เพียงผู้ให้บริการเครือข่ายเท่านั้น แต่ยังเป็น Total Solution ที่จับมือร่วมกับพันธมิตรทั้งภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และหน่วยงานภาครัฐ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการเทคโนโลยี 5G เข้ากับโรงงานอุตสาหกรรมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดอย่างครบมิติ และเกิดการใช้งานได้จริงในประเทศไทย เช่นเดียวกับกรณีการใช้งานอีกมากมายที่เกิดขึ้นแล้วในวันนี้ เช่น โรงงาน Midea ที่เป็นโรงงาน 5G เต็มรูปแบบโรงงานแรกของประเทศไทย, Smart Seaport ท่าเรืออัจฉริยะที่มีการควบคุมเครนระยะไกลและมียานยนต์อัตโนมัติทำงานในพื้นที่ร่วมกับยานยนต์ทั่วไป และการพัฒนาโดรนเพื่อใช้งานระยะไกลโดยไม่จำกัดระยะทางของสัญญาณ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าการใช้งานโซลูชัน 5G จาก AIS Business สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันการผลิตได้อย่างคุ้มค่า ลดปัญหาความยุ่งยากในการวางโครงสร้างพื้นฐานระบบ และไม่ต้องกังวลเรื่องคุณภาพของสัญญาณเมื่อใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ด้วยโซลูชันที่ครบ Ecosystem ตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย 5G ทรัพยากรที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในระบบ ตลอดจนพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญในการบูรณาการและออกแบบการใช้งานในวงการ มั่นใจได้ว่าพื้นฐานโครงสร้างด้านดิจิทัลของโรงงานจะเกิดความเข้มแข็งและยั่งยืนอย่างแน่นอน สนใจติดต่อสอบถามและปรึกษาทีมงาน AIS Business ได้ทันที นอกจากนี้ AIS Business ยังมีดิจิทัลโซลูชัน ที่หลากหลาย ตอบโจทย์การดำเนินงานธุรกิจ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
https://m.ais.co.th/LJHrp7Jtx

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Thossathip Soonsarthorn
"Judge a man by his questions rather than his answers" Voltaire