ทีมวิจัยจาก University of California San Diego (UCSD) ได้พัฒนาอัลกอริทึมแบบใหม่ที่ทำให้หุ่นยนต์ 4 ขาสามารถเดินและวิ่งไดิบนพื้นผิวที่มีความท้าทาย โดยสามารถหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางทั้งแบบอยู่กับที่และเคลื่อนไหวได้
หุ่นยนต์ 4 ขานั้นดั้งเดิมถูกออกมาให้เป็นการใช้งานภาคสนาม โดยมีความสามารถในการเคลื่อนที่ซึ่งเป็นการใช้งานเทคโนโลยีกล้อง เซนเซอร์และมอเตอร์ต่าง ๆ ร่วมกัน แต่ในการใช้งานจริงการเผชิญหน้ากับสิ่งกีดขวางยังคงเป็นหนึ่งในปัญหาที่รบกวนการทำงานของหุ่นยนต์ภาคสนามได้อย่างมาก ทีมวิจัยจาก UCSD จึงได้พัฒนาอัลกอริทึมเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวขึ้นมา
ในการทดสอบที่เกิดขึ้นระบบที่พัฒนาจะนำหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติอย่างราบรื่นผ่านพื้นผิวหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นพื้นผิวทราย กรวด หญ้า ไปจนถึงดินโคลนที่ปกคลุมรากไม้และใบไม้โดยไม่ตกลงไปในหลุมร่องที่มี ซึ่งสามารถหลักเลี่ยงสิ่งของที่วางอยู่รวมถึงมนุษย์ได้อีกด้วย โดยหุ่นยนต์สามารถเดินทางผ่านสำนักงานที่พื้นที่มีความยุ่งเหยิงโดยไม่ชนสิ่งของต่าง ๆ อาทิ กล้อง โต๊ะ และเก้าอีี้
ระบบที่ถูกพัฒนานั้นทำให้ขาหุ่นยนต์นั้นทำงานได้อย่างหลากหลายยิ่งขึ้น โดยจะผสมผสานการรับรู้ของหุ่นยนต์ เช่น การมองเห็นที่ทำงานร่วมกับระบบรับรู้อื่น ๆ ที่เรียกว่า Proprioception ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ ทิศทาง ความเร็ว สถานที่และการสัมผัสของหุ่นยนต์ เช่น การรับรู้ของพื้นใต้เท้าหุ่นยนต์
การแก้ปัญหาของทีมนั้นใช้ข้อมูลขาเข้า 2 ชุดที่เรียกว่า Multi-modal Delay Randomization การผสานและการสุ่มข้อมูลขาเข้าจะเป็นการเทรนเสริมแรงให้การเรียนรู้ในรูปแบบของ End-to-End แนวทางดังกล่าวช่วยให้หุ่นยนต์ตัดสินใจได้รวดเร็วยิ่งขึ้นในระหว่างการนำทางและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพพื้นที่ล่วงหน้า
สำหรับผู้ที่สนใจโค้ดของทีมวิจัยสามารถดูได้ที่: https://github.com/Mehooz/vision4leg
ที่มา:
ucsd.edu