การระบุตัวตนด้วยใบหน้าอาจกลายเป็นเรื่องล้าสมัยไปแล้วเมื่อในปัจจุบันมีการพัฒนาระบบระบุตัวตนด้วย Analprint หรือรูทวารเพื่อใช้ในทางการแพทย์
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Stanford พัฒนาส้วมอัจฉริยะที่มีเซนเซอร์ในการตรวจสอบความผิดปรกติของร่างกายจากสิ่งปฏิกูลที่ถูกขับถ่ายออกมา รวมถึงลักษณะบางประการของมะเร็ง ส่งข้อมูลผ่านระบบ Cloud ที่มีความปลอดภัยสู่สมาร์ทโฟน
อุปกรณ์ชิ้นนี้สามารถปรับใช้ได้กับโรคเฉพาะบุคคลต่าง ๆ ที่มีการแสดงลักษณะออกมาทางการขับถ่าย เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก ไตล้มเหลว ซึ่งสามารถเอาข้อมูลเหล่านี้จัดลำดับการแสดงผลให้อยู่ลำดับต้น ๆ ได้
หนึ่งในเทคโนโลยีที่โดดเด่นของส้วมอัจฉริยะ คือ เทคโนโลยีระบุตัวตนด้วยภาพรูทวาร หรือ Analprint ซึ่งเป็นการจดจำภาพ Anoderm (คำที่มาจาก Anu + Derm) หรือผิวหนังบริเวณทวาร
Analprint เป็นการวิเคราะห์สำหรับระบุ Biometric โดยไม่จำเป็นต้องส่งคนไปยังคลินิก หรือส่งไปทดสอบในห้องแล็ปซึ่งมีค่าใช้จ่ายราคาสูง ทั้งยังใช้เวลาในการตรวจเลือดที่ยาวนาน กลุ่มข้อมูลที่จะได้จากการตรวจสอบโดยวิธีนี้มีความน่าสนใจอยู่ที่เป็นการติดตามข้อมูลอย่างต่อเนื่องในชีวิตประจำวัน ผ่านตัวอย่างข้อมูลที่มีความสำคัญอย่างน้ำลาย อุจจาระและปัสสาวะ
อุปกรณ์ต้นแบบนั้นถูกใช้งานกับชักโครกแบบกด มี Analprint Recognition รวมถึงการวิเคราะห์ปัสสาวะและอุจจาระที่มีความรวดเร็วพอ ๆ กับเวลาที่ใช้ในการ ‘ทำธุระ’ เลยทีเดียว โดยมีการใช้งาน 2 Factor Authorization เพื่อความปลอดภัยและส่งข้อมูลไปยัง Cloud อัตโนมัติ
การวิเคราะห์ปัสสาวะจะดำเนินการโดยกล้องความเร็วสูงสองตัว สังเกต Flow Rate และ Stack ของ Urinalysis Strips หรือแผ่นตรวจปัสสาวะที่เก็บไว้หลังพนัก มีการใช้งาน Infared ตรวจจับการเคลื่อนไหวเมื่อเริ่มปัสสาวะและทิศทางปัสสาวะ แน่นอนว่าระบบนี้ถูกทดสอบกับผู้ทดสอบชายและหญิงแล้ว ในเอกสารระบุว่าถูกออกแบบมาให้ผู่ชายสามารถฉี่และ ‘เล็งเป้า’ แผ่นทดสอบได้อย่างสะดวก เมื่อแผ่นทดสอบเปียกจะถูกดูดกลับเข้าไปใต้ที่นั่งและกล้องเริ่มวิเคราะห์ผลตัวอย่าง
สำหรับการวิเคราะห์อุจจาระ เซนเซอร์วัดแรงดันจะเป็นตัวกำหนดให้กล้องนั้นจับภาพไปที่โถส้วมจากสะอาดเป็นสดปรก ในกรณีของฝรั่งก็รวมไปจนถึงตอนที่มีทิชชูอยู่ด้วย ข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งไปยัง Neural Network หรือ AI ซึ่งจะประเมินเวลาตั้งแต่ระเบิดลูกแรกลงจนถึงลูกสุดท้าย
กล้องนี้ยังคงตรวจจับความเปลี่ยนแปลงของอุจจาระด้วย เช่นลักษระแข็งเหลว สีสันต่าง ๆ ขณะเวลาผ่านไปในชักโครกซึ่งโดยมากมักไม่ได้ถูกตรวจสอบจริงสักเท่าไหร่ สำหรับในรุ่นก่อนหน้าจะมีการติดตั้ง Fingerprint บนตัวกดชักโครกเพื่อระบุตัวตนแต่ปัจจุบันใช้กล้องบันทึกภาพรูทวารระยะสั้นเพื่อใช้ในการระบุตัวตนแทน เป็นการใช้งาน Image Recognition Algorithm โดยการแบ่งภาพเป็น Frame เปรียบเทียบกับชุดข้อมูลภาพของผู้ใช้ Analprint
ที่มา:
Vice.com
Med.stanford.edu