หากวันหนึ่งคุณอยากที่จะใช้ระบบขับขี่อัตโนมัติเพื่อทำการขับรถให้แล้วล่ะก็ ความเร็วในระดับไหนกันที่คุณจะเชื่อใจให้รถยนต์อัตโนมัติของคุณสามารถขับให้ได้ในเส้นทางปกติ หรือบนทางด่วน ?
คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งสหประชาชาติ UNECE (United Nations Economic Commission for Europe) ได้มีการตัดสินใจที่งาน World Forum for the Harmonization of Vehicle Regulations ในเมืองเจนีวา ให้ยานยนต์อัตโนมัติสามารถขับด้วยความเร็วที่มากกว่าเดิมได้ถึงสองเท่าบนทางด่วน จากเดิมที่รถยนต์อัตโนมัติมีการจำกัดความเร็วเอาไว้ที่ 60 กม./ชม. ให้กลายมาเป็น 130 กม./ชม. บนทางด่วน และยังสามารถทำการเปลี่ยนเลนด้วยตัวเองได้
- ยุคใหม่แห่งการบินโลก เหินฟ้าด้วยพลังงานสะอาด
- Tesla เล็งปลดพนักงานกว่า 10% และความก้าวหน้าของรถไฟฟ้าในไทย
- กฟผ. เปิดบริการ Supernova ตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบชาร์จเร็ว เครื่องแรกในเอเชีย
การตัดสินใจนี้เริ่มแสดงให้เห็นชัดในช่วงต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา และจะมีการบังคับใช้งานเต็มที่ได้เร็วที่สุดในเดือนมกราคมปีหน้า อ้างอิงจากข้อมูลของ UNECE ซึ่งทางสหภาพยุโรป (EU) เองก็ได้มีการประกาศเริ่มนำกฎใหม่มาปรับปรุงใช้แล้ว แม้ในขณะนี้จะยังไม่มีการปรับใช้กฎระเบียบสำหรับในระดับนานาชาติก็ตาม
ข้อกำหนดระบบการขับรถยนต์อัตโนมัติในปัจจุบัน
ในปัจจุบันการใช้ระบบขับอัตโนมัติอย่างเต็มรูปแบบยังไม่สามารถทำได้ในหลาย ๆ ประเทศ เช่นในประเทศเยอรมนีที่การใช้ระบบขับอัตโนมัติจะสามารถทำได้ในเฉพาะบางบางสถานการณ์อย่างเช่นในช่วงรถติดเท่านั้น และหากอยู่ในบางพื้นที่เช่น อุโมง์หรือพื้นน้ำแข็ง แม้ว่ารถยนต์อัตโนมัติจะมีระบบกล้องและเซ็นเซอร์ที่สามารถตรวจจับได้ รถยนต์ก็จะต้องทำการแจ้งเตือนผู้ขับขี่และต้องหยุดการใช้งานระบบขับอัตโนมัติในทันที
ซึ่งด้วยกฎหมายควบคุมความเร็วใหม่นี้ ก็ทำให้บริษัทรถยนต์หลาย ๆ แห่งสามารถทำการพัฒนาระบบขับอัตโนมัติของตนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อย่างเต็มที่ เช่นบริษัทรถยนต์ชื่อดังจากเยอรมนี Mercedes Benz ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายแรกที่นำเสนอรถยนต์ในระดับ S Class ที่มาพร้อมระบบคอมพิวเตอร์ on board และในสหรัฐอเมริกา รัฐต่างๆ เช่น แคลิฟอร์เนียและแอริโซนา ยังอนุญาตให้มีการใช้ยานยนต์ไร้คนขับในการจราจรบนถนนทั่วไปได้ ทำให้มีการนำมาใช้เป็นแท๊กซี่อัตโนมัติที่ไร้คนขับนั่นเอง
การนำระบบขับอัตโนมัติมาใช้ในท้องถนนอย่างกว้างขวาง ยังคงต้องมีการควบคุมและดูแลอีกมาก เพื่อสร้างมาตรฐานความปลอดภัยและความไว้วางใจให้กับผู้ที่ใช้รถและถนนทุกคน แต่กฎหมายใหม่นี้ก็แสดงถึงความก้าวหน้าของระบบอัตโนมัติที่ล้ำยุคขึ้นไปเรื่อย ๆ ซึ่งหากบริษัทรถยนต์อัตโนมัติทั้งหลาย สามารถสร้างความมั่นใจในระบบอัตโนมัติให้กับผู้ใช้งานได้แล้วล่ะก็ การขับขี่บนท้องถนนก็อาจจะไม่จำเป็นต้องมีมนุษย์อยู่หลังพวงมาลัยอีกต่อไปแล้วก็ได้ครับ