ผู้ผลิตยานยนต์มักชะลอการ ‘เรียกคืน’ จนกว่าจะหาพวกได้จริงหรือ?

Date Post
02.03.2021
Post Views

หากใครสังเกตสถานการณ์ยานยนต์ในปัจจุบัน อาจจะเห็นได้ไม่ยากเย็นว่ายานยนต์ในปัจจุบันนั้นเกิดความผิดพลาดจากการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมาก และในสหรัฐอเมริกานั้นมักจะพบว่าการประกาศเรียกคืนนั้นมักจะเกิดขึ้นอย่างล่าช้าอย่างยิ่ง งานวิจัยที่ได้ศึกษาเรื่องการประกาศเรียกคืนยานยนต์ในสหรัฐอเมริกาเป็นเวลากว่า 48 ปี พบว่าผู้ผลิตยานยนต์ในสหรัฐอเมริกามักจะรอประกาศเรียกคืนหลังจากคู่แข่งเกิดปัญหาต้องเรียกคืนเช่นกัน แม้ว่าการเรียกคืนนั้นจะไม่ได้มีความผิดพลาดที่เกี่ยวข้องหรือคล้ายคลึงกันก็ตามที

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Indiana ในภาคส่วนของ Kelly School of Business ได้ตีพิมพ์เอกสารการศึกษา Hiding in the Herd: The Product Recall Clustering Phenomenon บนแหล่งข้อมูลออนไลน์อย่าง Manufacturing Service Operations Management ร่วมกับมหาวิทยาลัย Illinois, มหาวิทยาลัย Notre Dame, มหาวิทยาลัย Minnesota และ Michigan State University

ปรากฎการณ์ดังกล่าวทำให้เห็นว่าการประกาศนั้นอาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัญหาด้านคุณภาพในแต่ละกรณี หรือแม้แต่ความสนใจของกระแสสังคมเท่านั้น แต่ยังได้รับอิทธิพลจากการเรียกคืนของคู่แข่งอีกด้วย โดยนักวิจัยได้ทำการวิเคราะห์การเรียกคืนกว่า 3,117 ครั้งตลอดเวลา 48 ปี ตั้งแต่ปี 1966 – 2013 ใช้โมเดลในการสำรวจการเรียกคืนแบบคลัสเตอร์และจัดกลุ่มการเรียกคืนเป็นกลุ่มที่เป็นผู้นำและผู้ตามในคลัสเตอร์ ซึ่งพบว่า 73% ของการเรียกคืนนั้นเกิดขึ้นในกลุ่มคลัสเตอร์ที่มีปัญหายาวนานถึง 34 วันและมีการเรียกคืนตามมาเกิดขึ้นอยู่ที่ 7.6 โดยเฉลี่ย

หากพิจารณาค่าเฉลี่ยแล้วคลัสเตอร์เกิดขึ้นจากช่องว่าง 16 วันที่ไม่มีการประกาศเรียกคืนเกิดขึ้น โดยพบว่ามี 266 คลัสเตอร์ เกิดขึ้นในช่วงเวลาของการศึกษา ปรากฎการณ์เหล่านี้ทำให้แน่ใจว่าผู้ผลิตยานยนต์นั้นมีแนวโน้มชะลอการเรียกคืนยานยนต์จนกว่าตัวเองนั้นจะสามารถซ่อนตัวท่ามกลางสถานการณ์ได้ ซึ่งอาจจะเป็นไปได้โดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม

ทีมวิจัยพบว่า 67% ของบทลงโทษที่เกิดขึ้นในตลาดหุ้นนั้นมีความแตกต่างระหว่างผู้ที่นำขึ้นมาในการเรียกคืนซึ่งทำให้เกิดคลัสเตอร์ขึ้น และกลุ่มที่ดำเนินการเรียกคืนในฐานะผู้ตามและซ่อนตัวในกลุ่มของปัญหานั้นจะได้รับผลกระทบจากบทลงโทษของตลาดหุ้นที่น้อยกว่า ผลลัพธ์นี้ยังหมายถึงว่า ‘ในการเรียกคืนนั้นมีผลกระทบทางการเงินที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนระหว่างผู้ที่เริ่มเรียกคืนก่อนและกลุ่มผู้ตาม’

‘ผู้ที่ประกาศการเรียกคืนมากที่สุดในฐานะผู้ตาม คือ Toyota’

แม้ว่า Toyota จะมีประกาศการเรียกคืนน้อยที่สุด แต่เมื่อถึงเวลาการประกาศ 31% ของการประกาศนั้นก่อให้เกิดคลัสเตอร์และนำไปสู่กลุ่มที่เกิดการเรียกคืนตามในภายหลัง ตัวเลขของบริษัทที่ทำตามแนวคิดเช่นนี้มีอยู่ระหว่าง 5 – 9% ซึ่งหมายความว่าบริษัทเหล่านี้อยากจะซ่อนตัวอยู่ในกลุ่มไม่ทำตัวโดดเด่นเมื่อเกิดการนำการประกาศเรียกคืนด้วยบริษัทที่มีชื่อเสียงระดับสูงอย่างเช่น Toyota

ที่มา:
Blog.kelley.iu.edu

บทความที่น่าสนใจ:
ZF จับมือ Microsoft และ PwC Germany สร้างแพลตฟอร์มการผลิตดิจิทัลของตัวเอง
Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Thossathip Soonsarthorn
"Judge a man by his questions rather than his answers" Voltaire