Ethanol Renewable Energy

Beyond Carbon Neutrality การปลดล็อกเอทานอลแอลกอฮอล์

Date Post
18.07.2024
Post Views

หลายท่านสงสัยเกี่ยวกับหัวข้อนี้กันไหมครับว่าการปลดล็อกเอทานอลแอลกอฮอล์จะสามารถผลักดันประเทศไทยให้เข้าสู่คอนเซ็ปต์ Beyond Carbon Neutrality ได้อย่างไร วันนี้เรามาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันผ่านการนำเสนอของคุณธันยวีร์ พงษ์วัตนาสุข กรรมการผู้จัดการธุรกิจผลิตเอทานอลของบริษัท มิตรผล ไบโอฟูเอล จำกัด ในหัวข้อของ “การปลดล็อกการใช้แอลกอฮอล์ในประเทศไทยเพื่อส่งเสริม Carbon Neutrality”

เพื่อความเข้าใจในการนำเสนอหัวข้อนี้ ต้องอธิบายให้ทุกท่านเข้าใจก่อนว่าประเทศไทยนั้นมีการใช้เอทานอลมาเป็นส่วนประกอบของน้ำมันหลายประเภท ยกตัวอย่างเช่น น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 นั้นมีส่วนประกอบของเอทานอลหรือเอทิลแอลกอฮอล์ผสมอยู่ในอัตราส่วน 95% หรือแก๊สโซฮอล์ E20 ที่มีส่วนผสมของเอทานอลหรือเอทิลแอลกอฮอล์อยู่ที่ 20% ที่เหลือ 5% และ 80% ของทั้งสองตัวนี้เป็นน้ำมันเบนซินบริสุทธิ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันอุตสาหกรรมปิโตรเลียมมาเป็นส่วนประกอบ 

การปลดล็อกการใช้แอลกอฮอล์ในประเทศเพื่อส่งเสริม Carbon Neutrality

คุณธันยวีร์ พงษ์วัตนาสุข ได้เล็งเห็นถึงเป้าหมายที่ประเทศไทยกำลังขับเคลื่อนการพัฒนาและส่งเสริมการใช้แอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเอทานอลหรือเอทิลแอลกอฮอล์เพื่อบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality จากการลดการใช้พลังงานฟอสซิลด้วยการเพิ่มเอทานอลเข้าไปในส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อลดการใช้น้ำมันเบนซินบริสุทธิ์

Ethanol และ Bio-Ethanol มีความแตกต่างกันอย่างไร?

Ethanol และ Bio-Ethanol เป็นสารเคมีชนิดเดียวกันที่มีสูตรเคมี C₂H₅OH แต่แตกต่างกันในแหล่งที่มาของวัตถุดิบและกระบวนการผลิต นี่คือข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างทั้งสอง โดย Ethanol สามารถผลิตได้จากปิโตรเลียมหรือก๊าซธรรมชาติผ่านกระบวนการทางอุตสาหกรรม ส่วน Bio-Ethanol ผลิตจากพืชผลต่าง ๆ เช่น ข้าวโพด อ้อย ข้าวสาลี และวัสดุชีวมวลอื่น ๆ โดยกระบวนการหมักและที่สามารถนำมาปลูกใหม่ได้อย่างเช่น น้ำตาลหรือสตาร์ช ซึ่งสามารถหมุนเวียนทรัพยากรจากการปลูกพืชทดแทนได้แต่สามารถใช้งานได้เหมือน Ethanol ที่ผลิตมาจากทรัพยากรฟอสซิลที่มีอยู่อย่างจำกัด

ประโยชน์ของ Bio-Ethanol

Bio-Ethanol มีบทบาทสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โดยใช้เอทานอล 1 ลิตรสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเทียบเท่ากับ 1.80 กิโลกรัมของคาร์บอนที่ปล่อยจากการใช้แก๊สโซลีน และการใช้ Bio-Ethylene ที่ได้จากกระบวนการแยกน้ำของ Ethanol ก็สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการผลิตพลาสติกได้

นอกจากนี้ การใช้ Bio-Ethanol เป็นเชื้อเพลิงก็มีประสิทธิภาพในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน ในภูมิภาคเอเชียมีการนำเอทานอลไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง เช่น

  • ฟิลิปปินส์: ใช้ E10 ในการผลิตเชื้อเพลิง และกำลังพิจารณาการใช้ E20
  • อินโดนีเซีย: มีแผนเปิดตัว E5 ในบางพื้นที่ภายใน 3 ปี และจะขยายเป็น E15 ภายในปี 2031
  • อินเดีย: ใช้ E12 ในปัจจุบัน และวางแผนจะเพิ่มเป็น E20 ภายในปี 2025
  • เวียดนาม: ใช้ E5-Ron92 ตามกฎหมาย

ความท้าทายในประเทศไทย

ประเทศไทยมีศักยภาพในการนำเอทานอลไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งการอนุมัติของคณะรัฐมนตรีในการใช้เอทานอลในอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพเป็นก้าวสำคัญที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 4-5 ล้านตันต่อปี หรือเทียบเท่าการปลูกป่า 2 ล้านไร่ และเป็นแนวทางที่จะสนับสนุนเกษตรกรและอุตสาหกรรมผู้ผลิตเอทานอล

แนวทางการสนับสนุนอุตสาหกรรมเอทานอล

  1. ส่งเสริมการใช้ E20: การขยายการใช้ E20 จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเอทานอล
  2. เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเอทานอล: การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตจะช่วยให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันในตลาดได้มากขึ้น
  3. การขยายการใช้งานเอทานอล: ปลดล็อกการใช้เอทานอลในอุตสาหกรรมอื่น ๆ นอกจากเชื้อเพลิง เช่น อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ

การใช้เอทานอลยังมีประโยชน์ต่อเกษตรกรและผู้ผลิตในประเทศไทยอีกด้วย ปัจจุบันมีเกษตรกรจำนวน 4.5 ล้านคน (ประมาณ 14% ของเกษตรกรทั้งหมดในประเทศ) ที่ได้รับประโยชน์จากการผลิตและใช้เอทานอล ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร แต่ยังส่งเสริมความยั่งยืนในภาคการเกษตรอีกด้วย

สุดท้ายนี้งานสัมมนา Asean Sustainable Energy Week 2024 ในครั้งนี้ได้มอบความรู้และไอเดียที่มีค่าจำนวนมากเกี่ยวกับอนาคตของพลังงานในไทย หนึ่งในหัวข้อสำคัญ คือ “Beyond Carbon Neutrality กับการสนับสนุนการใช้เอทานอลเป็นอีกแนวทางในการลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยมุ่งส่งเสริมการใช้ E20 และขยายการใช้งานเอทานอลในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ความพยายามเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดคาร์บอนในประเทศ แต่ยังสนับสนุนเกษตรกรและอุตสาหกรรมผู้ผลิตเอทานอลในการสร้างรายได้และความยั่งยืนในภาคการเกษตร

ดังนั้น การประชุมดังกล่าวแสดงถึงทิศทางและแนวทางการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและการใช้เอทานอลในประเทศไทย ซึ่งเป็นก้าวสำคัญต่อการบรรลุ Carbon Neutrality และสร้างอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน

อ้างอิง : RE100

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Pisit Poocharoen
Former field engineer seeking to break free from traditional learning frameworks. อดีตวิศวกรภาคสนามที่ต้องการหลุดออกจากกรอบการเรียนรู้แบบเดิม ๆ
Digitech2024