เมื่ออุตสาหกรรมอาหารมาตรฐานคงที่ Brand Loyalty เกิดได้ไม่ยาก

Date Post
22.03.2021
Post Views

อุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของมนุษย์ในวงกว้าง โดยเฉพาะในเรื่องของความปลอดภัยและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ การควบคุมมาตรฐานจึงกลายเป็นหัวใจสำคัญของอุตสาหกรรมอาหารอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในขณะเดียวกันคุณภาพนั้นกลับแปรผันตามเวลา การทำงานในอุตสาหกรรมอาหารจึงต้องแข่งกับเวลาขับเคลื่อนไปพร้อมกับการสร้างความมั่นใจในคุณภาพ เพื่อสร้างการจดจำให้กับผู้บริโภคและต่อยอดสู่การเป็นลูกค้าประจำ

เมื่อพูดกันถึงอาหาร สิ่งที่ผู้บริโภคนึกถึงเป็นอย่างแรกคงหนีไม่พ้นรสชาติที่ตราตรึง ตามมาด้วยบรรจุภัณฑ์ที่สวยหรูหรือดูแล้วเข้าใจง่าย แต่อีกหนึ่งปัจจัยที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญและจ้องจับผิดมากกว่าที่ผู้ผลิตอาจเคยนึกถึง – คือ การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) เพราะแม้จะมีการผลิตอาหารที่รสชาติดี คัดเลือกวัตถุดิบมาระดับเลิศหรู หรือมีกระบวนการผลิตที่ละเอียดอ่อน ไปจนถึงบรรจุภัณฑ์ที่โดดเด่น แต่ถ้าสุดท้ายแล้วความพยายามเหล่านี้กลับกลายเป็นสิ่งที่ ‘ดีบ้าง’ ‘เสียบ้าง’ หามาตรฐานของสินค้าไม่เจอ หรือระดับมาตรฐานความสม่ำเสมอของคุณภาพอยู่ในระดับต่ำ คงไม่สามารถมองไกลไปถึงการสร้าง Brand Loyalty ได้ หรือรักษาฐานลูกค้าที่เหนียวแน่นเอาไว้ได้

เพื่อให้แน่ใจว่าอาหารที่ผลิตขึ้นมานั้นมีคุณภาพสม่ำเสมอ และสามารถเชื่อถือในตัวแบรนด์ได้ การควบคุมมาตรฐานจึงกลายเป็นหน้าด่านสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นเหล่านี้ขึ้น แน่นอนว่าการผลิตแบบอุตสาหกรรมนั้นแตกต่างจากงาน Hand Craft หรืองานทำมือที่สามารถพิถีพิถันและทุ่มเทเวลาได้เต็มที่เพียงเพื่ออาหารสุดยอดในปริมาณเล็กน้อย แต่ในทางอุตสาหกรรมนั้นปริมาณการผลิตก็เป็นอีกหนึ่งเงื่อนไขที่ต้องบริหารจัดการ การผลิตให้ได้ปริมาณมากนั้นต้องอาศัยความเร็วในการผลิตในขณะที่ยังคงต้องรักษาไว้ซึ่งคุณภาพและความปลอดภัยทางอาหารอีกด้วย

มาตรฐานอาหารจากอุตสาหกรรมจะคงที่ได้ต้องอาศัยปัจจัยใดบ้าง?

ความหมายของ ‘คุณภาพ’ ในการผลิตอาหารตามมุมมองของผู้บริโภคประกอบไปด้วย ความสะอาด รสชาติ และราคา ซึ่งปัจจัยทั้ง 3 นี้นั้นต้องเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ คงที่ ตอบสนองต่อความคาดหวังสำหรับผู้บริโภคได้ทุกครั้งที่เลือกบริโภค ไม่จำเป็นที่จะต้องดีไปเกินกว่าความคาดหวังมากหากไม่ได้รีแบรนด์หรือปรับความคาดหวังลูกค้าใหม่ ขอเพียงมาตรฐานนั้นไม่ลดลงจากเดิมก็สามารถตอบสนองต่อความคาดหวังต่อลูกค้าได้เพียงพอแล้ว

ถ้าต้องคุยกันถึงปัจจัยของรสชาติ ประเด็นนี้เป็นประสบการณ์ส่วนบุคคล เป็นรสนิยมที่อาจจะตัดสินได้ยากแต่ก็นับเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกบริโภคของมนุษย์ แม้ว่าอาจจะจับต้องได้ยากและอาจไม่สามารถจับผู้บริโภคได้ทั้งหมด แต่การคงคุณภาพรสชาติอาหารให้คงที่ไม่หวานเกินไป ไม่เค็ม ไม่มีรสสัมผัสที่เปลี่ยนไปก็เป็นสิ่งที่สามารถรักษาฐานลูกค้าเอาไว้ได้เช่นกัน

ความสะอาดทางอาหาร ความสำคัญอันดับ 1 

เมื่อต้องคุยกันถึงเรื่องของความสะอาด เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่า ในการแปรรูปหรือการผลิตอาหารนั้นวัตถุดิบหรืออาหารที่แปรรูปเสร็จแล้วมีโอกาสสัมผัสกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ของการผลิตโดยตรง ไม่ว่าจะฝุ่น ควัน ไอละอองในอากาศ หรือแม้แต่ความชื้นในพื้นที่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจแฝงไว้ด้วยภัยที่มีต่อสุขภาพ การดำเนินการที่ไม่เหมาะสม การเกิดความล่าช้าในขั้นตอน สามารถเพิ่มโอกาสในการสัมผัสกับความเสี่ยงเหล่านี้มากขึ้น ส่งผลต่อคุณภาพของอาหารโดยตรง

หากต้องลำดับความสำคัญของแต่ละช่วงกระบวนการในการผลิตว่าช่วงใดมีความเสี่ยงมากที่สุด ช่วงเวลาก่อนทำการบรรจุลงบรรจุภัณฑ์ หรือช่วงเวลาหลังการแปรรูปที่ปราศจากสิ่งใด ๆ ปกป้องนั้นถือเป็นช่วงที่มีความเสี่ยงสูงมากที่สุด เนื่องจากขั้นตอนเหล่านี้มักเป็นขั้นตอนที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วโดยมาก หากมีการปนเปื้อนหลังจากนี้และไม่มีการฆ่าเชื้อซ้ำก็อาจเกิดการปนเปื้อนได้ ในขั้นตอนที่มีความเสี่ยงสำคัญต่อมา คือ ขั้นตอนหลังจากทำการบรรจุลงบรรจุภัณฑ์ เช่น กรณีบรรจุภัณฑ์มีความไม่สมบูรณ์หรือเกิดความเสียหายหลังทำการผนึกหรือการให้ความร้อนเพื่อฆ่าเชื้อ (เช่นในอุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง) และสำหรับขั้นตอนการลำเลียงในระหว่างการผลิตหรือตอนทำการคัดคุณภาพวัตถุดิบถือเป็นขั้นตอนที่มีความเสี่ยงระดับรองลงมา

สำหรับการผลิตอาหารอย่างละเอียดใส่ใจทุกขั้นตอนนั้นไม่ได้หมายความว่าจะเป็นกระบวนการที่ต้องล่าช้าเพื่อเจียรไนเพชรเม็ดงาม ในทางกลับกันการผลิตอาหารในกระบวนการอุตสาหกรรมนั้นต้องหาสมดุลระหว่างความเร็วและความปลอดภัย การผลิตที่รวดเร็วตอบสนองต่อต้นทุนแต่ยังคงต้องควบคุมความปลอดภัยทางอาหารเอาไว้ด้วยในเวลาเดียวกัน

รักษารสชาติ มัดใจความคาดหวังผู้บริโภค

หากพิจารณาในเรื่องของรสชาติ หลายครั้งที่ความต้องการอันละเมียดละไมของมนุษย์นั้นกลับต้องใช้เวลาในขั้นตอนต่าง ๆ ที่ยาวนาน จนในบางครั้งเพื่อให้เกิดปฏิกริยาที่ใกล้เคียงกับระยะเวลาอันยาวนานนั้น กรรมวิธีพิเศษหรือสารเคมีเฉพาะได้ถูกเติมเสริมแต่เข้ามาเพื่อลดระยะเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ในขณะที่เป็นการปรับรสชาติให้ใกล้กับกรรมวิธีแบบดั้งเดิม

การรักษารสชาติของอาหารนั้นแรกเริ่มเดิมทีอาจจะเป็นเหมือนนามธรรม การนิยามรสชาติหรือรสสัมผัสนั้นเรียกได้ว่าเป็นประสบการณ์ส่วนบุคคล แต่แท้จริงแล้วรสชาติอาหารนั้นเป็นสิ่งที่สามารถจับต้องได้หากใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อแยกส่วนองค์ประกอบ อาทิ สัดส่วนของน้ำตาล ชนิดของสารประกอบในอาหาร หรือลักษณะของความกรอบ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นประสบการณ์ที่สำคัญของผู้บริโภคที่สามารถรับรู้และสร้างการจดจำได้เป็นอย่างดี สำหรับฐานลูกค้าเดิมนั้นเรียกได้ว่ารสชาติอาจเป็นความคาดหวังลำดับที่ 1 อาหารที่มีรสชาติที่ตรงกับความทรงจำนั้นสามารถเยียวยาช่วงเวลาที่ยากลำบากได้เช่นกัน

ราคา ผลรวมของความทุ่มเทและคุณค่าที่ผู้บริโภคให้การยอมรับ

หลายคนนั้นมีประสบการณ์กับการประเมินราคาหรือความคุ้มค่าของอาหารจากรสชาติ ส่วนผสมต่าง ๆ รวมถึงความสะอาด หากลองนึกถึงกรณีซื้อขนมมาสักหนึ่งถุงด้วยราคา 25 บาท แต่เมื่อบริโภคแล้วกลับให้ความรู้สึกว่าขนมชิ้นนี้ควรจะราคาไม่เกิน 10 บาท เนื่องจากรสชาติเพี้ยน หรือบรรจุภัณฑ์ไม่สมบูรณ์ทำให้ขนมไม่อยู่ในสภาพที่ควรจะเป็น ในทางกลับกันหากราคาที่ตั้งเอาไว้นั้นสอดคล้องกับคุณภาพที่สม่ำเสมอในผลิตภัณฑ์ทุกตัว ผู้บริโภคจะไม่เกิดปัญหาความรู้สึกที่ ‘ไม่สมราคา’ 

ในประเด็นของราคานั้น การควบคุมคุณภาพในทุกขั้นตอนจะส่งผลลัพธ์ในท้ายที่สุดอย่างชัดเจน และเพื่อรับประกันผลลัพธ์ที่ชัดเจนนั้นการมีเครื่องมือมาตรฐานสำหรับงานควบคุมคุณภาพสำหรับตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหารในขั้นตอนสุดท้ายจึงเป็นสิ่งสำคัญ ในการตรวจสอบขั้นสุดท้ายนี้จะทำให้ทราบได้ว่าผลิตภัณฑ์อาหารนั้น ๆ มีความพร้อมที่จะจัดจำหน่ายหรือไม่ และหากมีสิ่งผิดปรกติผสมอยู่ในอาหารก็จะสามารถคาดการณ์กระบวนการหรือขั้นตอนที่ก่อให้เกิดปัญหาด้วยเช่นกัน

ควบคุมมาตรฐานอย่างไรให้ลูกค้ากลายเป็นขาประจำ

เมื่อแบรนด์สามารถรักษาความคงที่ของคุณภาพเอาไว้ได้ คุณภาพและความสม่ำเสมอที่เกิดขึ้นจะแสดงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการตอบสนองต่อความคาดหวังในสินค้าได้ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างไม่ผิดพลั้ง กลายเป็นความเชื่อมั่นที่เกิดจากจุดเด่นไม่ว่าจะมาจากรสชาติ ความสะอาด หรือราคาที่เหมาะสม ความเชื่อมั่นที่มาจากความสม่ำเสมอนี้เมื่อจับเข้ากับการตลาดที่ชัดเจนจะเปลี่ยนให้ผู้บริโภคที่เป็นเป้าหมายกลายเป็นลูกค้าประจำได้โดยง่าย

การควบคุมคุณภาพของอุตสาหกรรมอาหารนั้นเป็นกลไกสำคัญในการสร้างความสม่ำเสมอด้านคุณภาพและมาตรฐาน การให้ความสำคัญกับการตรวจสอบคุณภาพขั้นสุดท้ายของผลิตภัณฑ์อาหารนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มเบื้องต้น ได้แก่

1. ความปลอดภัยทางอาหาร

ในการตรวจสอบความปลอดภัยทางอาหาร หรือการสำหรับการปนเปื้อนสามารถใช้เครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีกลุ่มกล้องจับภาพเพื่อทำการวิเคราะห์การปนเปื้อนจากกลุ่มตัวอย่างและเปรียบเทียบมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งในงาน QC ยุคปัจจุบันนั้นนิยมใช้งานกล้องพิเศษเพื่อตรวจจับแบคทีเรียหรือการปนเปื้อน หรือใช้การตรวจสอบในห้องทดลองเพื่อวัด Shelf Life ที่สามารถเกิดขึ้นได้จริง โดยมากการตรวจสอบความปลอดภัยจำเป็นต้องเก็บตัวอย่างจากอาหารที่แปรรูปเสร็จแล้วหรือเก็บตัวอย่างจากวัตถุดิบ ซึ่งการเก็บตัวอย่างนี้อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพหรือเกิดความเสียหายกับวัตถุนั้น ๆ ได้ การตรวจสอบความปลอดภัยทางอาการจึงมีการตรวจสอบทั้งแบบสุ่มตรวจเพื่อตรวจดูคุณภาพเชิงลึกและการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ทั้งหมดเพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงสูง

2. ลักษณะกายภาพภายนอก

ในการตรวจสอบขนาดลักษณะทางกายภาพภายนอกนั้น การใช้กล้องหรือ Vision Inspection Machine มาตรวจสอบสามารถทำได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว เมื่อมีการใช้งานคู่กับ AI หรือซอฟต์แวร์ที่สามารถตั้งค่าได้อย่างละเอียด การคัดกรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์จะสามารถควบคุมได้ แม้จะมีปริมาณการผลิตจำนวนมากก็ตาม โดยมากเทคโนโลยีการประกันคุณภาพการตรวจสอบลักษณะกายภาพภายนอกนั้นมักจะถูกติดตั้งเอาไว้ในสายการผลิตเพื่อให้สามารถตรวจสอบไปพร้อมกับการผลิตได้ในทันที นิยมใช้งานร่วมกับระบบอัตโนมัติอื่น ๆ เพื่อทำการเก็บข้อมูลและประเมินผลที่มีความแม่นยำสูง ไม่ว่าจะเป็นลักษณะรูปทรงภายนอก สีสัน ความมน หรือการโรยหน้าตกแต่งขนมต่าง ๆ ก็ล้วนเป็นปัจจัยจำเป็นทั้งสิ้น

3. ส่วนประกอบและโครงสร้างภายใน

ในการตรวจองค์ประกอบภายใน เป็นการตรวจสอบเชิงลึกอาจไม่สามารถทำได้อย่างรวดเร็วในระดับของสายการผลิตอัตโนมัติที่การดำเนินการด้วยเวลาเพียงเสี้ยววินาที การตรวจสอบรายละเอียดองค์ประกอบเหล่านี้จำเป็นต้องเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมที่ทำให้ผลลัพธ์ออกมามีความชัดเจนและแม่นยำมากที่สุด ไม่แตกต่างจากการตรวจสอบความปลอดภัยทางอาหาร งานตรวจสอบคุณภาพเชิงลึกจึงมักเกิดขึ้นในห้องทดลองหรือพื้นที่ควบคุมพิเศษ โดยโรงงานหรือกิจการขนาดเล็กสามารถนำส่งตัวอย่างไปยังหน่วยงานหรือบริษัทที่รับตรวจสอบโดยเฉพาะเพื่อลดต้นทุนในการเป็นเจ้าของเครื่องได้ แต่สำหรับธุรกิจขนาดกลางหรือขนาดใหญ่การนำสินค้าออกไปยังภายนอกนั้นอาจเป็นการเสียเวลาและโอกาสมากกว่าความคุ้มค่า เนื่องจากการขนส่งไปยังภายนอกนั้นต้องใช้เวลาในการขนส่ง ซึ่งการใช้เวลานั้นเองก็ส่งผลต่อตัวอาหารหรือวัตถุดิบด้วยเช่นกัน สำหรับเวลาที่ใช้ในการตรวจสอบอันยาวนานนั้นอาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางคุณสมบัติบางประการ เช่น การอมน้ำหรือการคายน้ำที่เปลี่ยนไป ค่าความเค็ม หรือการเพิ่มโอกาสในการปนเปื้อนอีกเช่นกัน เมื่อพิจารณาจากปริมาณการผลิตของโรงงานขนาดกลางและขนาดใหญ่แล้ว จำนวนการสุ่มตรวจสอบที่คิดเป็นสัดส่วนก็จะมีปริมาณมาก การลงทุนกับหน่วยงาน QC ภายในจึงมีความคุ้มค่ามากกว่าเมื่อมองไปถึงภาพรวมและการดำเนินการระยะยาว

ในโลกยุคใหม่ที่ผู้คนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างง่ายดายไม่ว่าจะเป็นช่องทางการสื่อสารเพื่อการบอกเล่าเรื่องราวประทับใจหรือเรื่องราวที่เสียใจ ตลอดจนการกระจายตัวขององค์ความรู้ที่ทำให้ผู้บริโภคสามารถทดสอบสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง เช่น การทดสอบปริมาณน้ำตาลในอาหาร หรือความเป็นกรด-ด่าง ตลอดจนเทรนด์การใส่ใจสุขภาพที่ปริมาณพลังงานตลอดจนแร่ธาตุสารประกอบต่าง ๆ ข้างบรรจุภัณฑ์กลายเป็นสิ่งสำคัญ การให้ความสำคัญกับการตรวจสอบและควบคุมมาตรฐานของความปลอดภัยทางอาหาร กายภาพภายนอก และส่วนประกอบโครงสร้างภายในของอาหารจึงกลายเป็นสิ่งที่จับต้องได้ ซึ่งผู้ผลิตต้องไม่ลืมความจริงเหล่านี้ของพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคปัจจุบันอย่างเด็ดขาด

Montrose เครื่องตรวจสอบคุณภาพอาหารภายใต้การดูแลโดย Science Tech

Science Tech ตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์สำหรับตรวจวัดคุณภาพในงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมอาหารที่ต้องการความพิถีพิถีน ไม่ว่าโรงงานขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ รองรับงานตรวจสอบคุณภาพไม่ว่าจะเป็นการทดสอบจุลชีพ, ตู้ปลอดเชื้อ, ตู้แช่แข็ง, ตู้ควบคุมคุณภาพยาและเวชภัณฑ์, ตู้บ่ม, เครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติทางเคมีคลินิก, เครื่องวิเคราะห์โปรตีนด้วยวิธี Kjeldahl, เครื่องวัดความเป็นกรด-ด่าง, เครื่องตรวจหาจำนวนจุลชีพในอากาศและตัววัดอุณหภูมิและเวลาใน Packing ผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งหนึ่งในเครื่องจักรที่โดดเด่นสำหรับการตรวจสอบรูปทรงของอาหารในอุตสาหกรรมสมัยใหม่แบรนด์ Montrose ภายใต้การดูแลของ Science Tech นั้นเรียกได้ว่าเป็นเครื่องมือเด็ดสำหรับการแข่งขันยุค 4.0 เลยทีเดียว

ในการตรวจสอบรูปทรงยุคใหม่นั้นจำเป็นต้องมีคุณสมบัติในการจัดเก็บและส่งต่อข้อมูลเพื่อวัดและประเมินผลภาพรวมการทำงานในรูปแบบของอุตสาหกรรม 4.0 การทำงานในรูปแบบอัตโนมัติที่สามารถตรวจสอบได้อย่างรวดเร็วรองรับการตรวจสอบจำนวนมหาศาลจึงเป็นคุณสมบัติสำคัญสำหรับเครื่องมือตรวจสอบยุคใหม่ โดยเครื่องตรวจสอบรูปทรงจาก Montrose มาพร้อมกับคุณสมบัติที่จำเป็นในการควบคุมมาตรฐานอุตสาหกรรมยุคใหม่ทั้งหมด สามารถเลือกการใช้งานตามความต้องการได้ ดังนี้

SnapQC – เครื่องตรวจวัดแบบตั้งโต๊ะ เหมาะสำหรับการใช้งานในห้องทดลองหรือพื้นที่ที่มีการควบคุม สามารถตรวจวัดชิ้นงานได้อย่างรวดเร็ว ลดความผิดพลาดในการตรวจสอบของมนุษย์ (Human Error) มาพร้อมหน้าจอแสดงผลแบบสีที่ถูกออกแบบให้ง่ายต่อการอ่านค่าและทำความเข้าใจ มีความเร็วตรวจสอบวัตถุ 10 ชิ้น ต่อ นาที

FocalPoint – เครื่องตรวจวัดชิ้นงานสำหรับสายการผลิต สามารถติดตั้งไว้เหนือสายการผลิตเพื่อใช้งานร่วมกับโซลูชันเดิมที่ใช้งานอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นสายพานอัตโนมัติหรือระบบอื่นใด ทำให้ไม่ต้องเกิดความยุ่งยากในการติดตั้งรื้อระบบใหม่ มีความเร็วตรวจสอบวัตถุ 1,500 ชิ้น ต่อ นาที

MT-Series – เครื่องตรวจวัดชิ้นงานสำหรับการติดตั้งในสายการผลิต สำหรับผู้ผลิตที่ต้องการเปลี่ยนแปลงสายการผลิตเดิม ขยายสายการผลิต เพิ่มกำลังการผลิต และเมื่อเกิดการแบ่งปันข้อมูลขึ้นเครื่องสามารถทำงานร่วมกับระบบการคัดแยกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานออกจากสายพานได้ทันที เหมาะสำหรับใช้งานในขั้นตอนก่อนใส่บรรจุภัณฑ์ โดยมีความเร็วตรวจสอบวัตถุ 3,000 ชิ้น ต่อ นาที

ระบบคัดแยกผลิตภัณฑ์ (Automatic Rejection) เป็นระบบพิเศษที่ช่วยให้เจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการ มั่นใจในผลิตภัณฑ์หรือตัวอย่างที่ผลิตออกมานั้น มีคุณภาพ สมบูรณ์ และปลอดภัย ซึ่งหลักการเหล่านี้ ถือเป็นการส่งมอบคุณค่าด้วยการใส่ใจให้แก่ลูกค้าและผู้บริโภค ซึ่ง ณ ปัจจุบัน เป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะพาแบรนด์เข้าไปอยู่ในใจของผู้บริโภคได้ 

มั่นใจได้ว่า Montrose จะเติมเต็มความต้องการของผู้ผลิตอาหารยุคใหม่  ตรวจสอบ วัดขนาด ลักษณะทางกายภาพภายนอก สี ความกว้าง พื้นผิว น้ำหนัก ความชื้น ท็อปปิ้ง และพารามิเตอร์อื่นๆ อีกมากมาย เรียกได้ว่า ‘ครบถ้วน’ และ ‘ตอบโจทย์’ ความต้องการของธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ความสามารถในการควบคุมปัญหาในสายการผลิตที่ชัดเจนและจับต้องได้นี้จะเปลี่ยนผู้บริโภคธรรมดาให้กลายเป็นขาประจำ สร้าง Brand Loyalty ด้วยความสามารถในการควบคุมคุณภาพที่สม่ำเสมอด้วยอุปกรณ์สำหรับงานควบคุมคุณภาพ และโซลูชันอันครบครันสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่มและยาจากบริษัท Science Tech 

สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังมองหาเครื่องมือทดสอบและควบคุมคุณภาพในงานอุตสาหกรรมอาหารแบรนด์ Montrose หรือโซลูชันที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ในการตรวจสอบคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหาร ยา และเครื่องดื่ม สามารถติดต่อบริษัท Science Tech ผู้เชี่ยวชาญด้านงาน QC ได้ทางช่องทางต่อไปนี้

สนใจสินค้าและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ:

Science Tech Co., LTD. 

Website: www.sciencetech.th.com
โทรศัพท์: 02-285-4101 Office,  Contact Person 097-220-5260 คุณรตนธรรม พรเจริญ, ผู้แทนขาย  
E-mail: [email protected], [email protected]
Line OA:  @science-tech 
Facebook: Science Tech Co., Ltd.

Logo-Company
logo-company
Thossathip Soonsarthorn
"Judge a man by his questions rather than his answers" Voltaire
Store Master - Kardex