ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนเศษขยะพลาสติกและก๊าซ CO2 ให้กลายเป็นแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนได้ผ่านพลังงานแสงอาทิตย์
- จักรยานไร้สนิม นวัตกรรมใหม่จากขยะพลาสติกรีไซเคิล
- ‘Powerfoyle’ สร้างพลังงานจากแสงสว่าง หมดปัญหาลืมชาร์จไฟ
- ล้ำไปอีกขั้น 3D Printing พิมพ์เซนเซอร์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ได้แล้ว !
วิธีการนี้นอกจากจะเป็นการค้นพบโซลูชันที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและนำเศษพลาสติกมาใช้ได้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าแล้ว วิธีการนี้ยังสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องกับวัสดุหลากหลายประเภทอีกด้วย
เปลี่ยนเศษพลาสติกและ CO2 ให้เป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรม
กระบวนการใหม่นี้ใช้เครื่องปฏิกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์ในการแปลงก๊าซ CO2 และเศษพลาสติกให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรม โดยเตาปฏิกรณ์ใช้วัสดุดูดซับแสงที่ทำจาก Perovskite วัสดุที่มีแนวโน้มในการเข้ามาแทนที่ซิลิคอนในการผลิตโซลาร์เซลล์ในอนาคต
โดยเมื่อแสงเกิดการตกกระทบกับ Perovskite แล้ว ก็จะเกิดการกระตุ้นอิเล็กตรอนและทำปฏิกิริยาเพื่อเปลี่ยนก๊าซ CO2 ให้กลายเป็นสารประกอบอย่าง Ethylene หรือ Ethanol ได้ ส่วนวัสดุอย่างพลาสติก PolyEthylene Terephthalate (PET) ที่นิยมใช้ในการบรรจุอาหารและเครื่องดื่มก็สามารถผ่านกระบวนการแบบเดียวกันเพื่อเปลี่ยนให้เป็น Propylene หรือ Buthanol ได้เช่นกัน
ทางทีมนักวิจัยยังได้ระบุว่าจุดเด่นของกระบวนการใหม่นี้อยู่ที่ความสามารถในการปรับแต่ง ที่สามารถทำการปรับเปลี่ยนตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นจากพลาสติกและ CO2 ได้ในอนาคต
ข้อมูลเพิ่มเติมยังระบุว่าปัจจุบันงานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจาก The European Research Council ที่หวังช่วยเร่งพัฒนาเทคโนโลยีนี้ให้เร็วขึ้นอีกด้วย สำหรับในอนาคตอีก 5 ปีข้างหน้านั้นทีมวิจัยก็ยังคาดหวังที่จะสร้างเครื่องปฏิกรณ์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นและสร้างเป็นโรงงานรีไซเคิลที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์แบบเต็มรูปแบบขึ้นมาได้
การพัฒนาวิธีการรีไซเคิลเหล่านี้ขึ้นจะช่วยให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ไม่ว่าจะเป็นก๊าซ CO2 ที่เกิดขึ้นในการผลิตหรือเศษพลาสติกที่มีการผลิตเป็นจำนวนมากก็ไม่ต้องถูกนำไปทิ้งฝังกลบให้เสียเปล่า เป็นอีกหนึ่งในวิธีการดี ๆ ที่ควรได้รับการพัฒนาต่อไปครับ