ในอุตสาหกรรมด้านแม่พิมพ์และโลหการ การชำรุดสึกหรอของเครื่องมือมักเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ต่ำลง การตรวจสอบเครื่องมือระหว่างการทำงานจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ผลิตทุกโรงงานหลีกเลี่ยงไม่ได้
- Hitachi เตรียมนำ GAI ฝึกฝนพนักงานรุ่นใหม่ในสายการผลิต
- มองการมาถึงของยุคแห่ง AI ผ่านสายตามหาเศรษฐี Bill Gates
- แรงงานเผย AI เพิ่มภาระงานให้เกือบเท่าตัวทั้งที่ควรจะทำงานง่ายขึ้น
แต่ขั้นตอนเหล่านี้ต่างก็ทำให้เวลาที่ใช้ในการผลิตเพิ่มมากขึ้นและต้องเสียต้นทุนและเวลาในการตรวจสอบดูแลเครื่องมือ ปัญหาเช่นนี้ทำให้นักวิจัยจาก Fraunhofer IPT ได้พัฒนาวิธีการบันทึกการสึกหรอของเครื่องมืออย่างเป็นระบบในระหว่างการทำงานขึ้นมา
โดยทั่วไปแล้วระบบที่นิยมใช้ในการพิจารณาสภาพการสึกหรอของเครื่องมือตัด คือการใช้กล้องจุลทรรศน์สำหรับการวัด (Measuring microscopes) หรือการใช้เทคโนโลยีสแกนวัตถุด้วยเลเซอร์ แต่ทั้ง 2 วิธีการนี้ก็ยังมีปัญหาทั้งต้นทุนที่สูงและการระบุปัญหาที่อาจไม่ครอบคลุมได้เพียงพอ
โครงการวิจัย ‘CAMWear 2.0’ จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อพัฒนาระบบที่สามารถบันทึกและประเมินสภาพการสึกหรอของเครื่องมือตัดได้อย่างแม่นยำระหว่างการทำงานในเวลาแบบเกือบเรียลไทม์ โดยนักวิจัยที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเทคโนโลยีทางการแพทย์นั้นได้เลือกนำเอากล้องจุลทรรศน์เข้ามาติดตั้งรวมกับเครื่องมือกัด เพื่อให้พนักงานสามารถประเมินสภาพเครื่องมือระหว่างการทำงานได้อย่างแม่นยำนั่นเอง
AI จำแนกส่วนที่สึกหรอจากเครื่องมือ
เมื่อได้ภาพถ่ายจากกล้องที่ติดตั้งเอาไว้แล้ว ทางทีมก็ได้นำระบบ AI เข้ามาทำการฝึกฝนเพื่อให้ระบบสามารถจำแนกเครื่องมือประเภทต่าง ๆ ได้ โดยเน้นไปที่บริเวณที่สึกหรอของอุปกรณ์ ซึ่งในการทดลองจริงทางทีมก็ได้ระบุว่าคุณภาพของภาพถ่ายที่ได้จากกล้องนั้นเป็นที่น่าพึงพอใจ ซอฟต์แวร์ประมวลผลภาพสามารถระบุรูปร่างของส่วนที่สึกหรอได้อย่างแม่นยำและน่าเชื่อถือ
ปัจจุบันระบบนี้ยังได้รับการปรับปรุงเพิ่มยิ่งขึ้นสำหรับการใช้งานในภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ โดยเป้าหมายส่วนหนึ่งก็คือการปรับแต่งโมเดล AI เพิ่มเติมเพื่อให้สามารถทำการระบุและวิเคราะห์การสึกหรอได้แม่นยำยิ่งขึ้น ซึ่งทางทีมก็ได้มีการร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับซัพพลายเออร์ด้านฮาร์ดแวร์ที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อให้ระบบนี้สามารถถูกส่งต่อไปใช้งานในอุตสาหกรรมได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
เพิ่มเติมจากผู้เขียน : การสำรวจวิศวกรจากชุมชนวิจัยของผู้ผลิตเครื่องมือและแม่พิมพ์ในปี 2020 พบว่าโรงงานหลายแห่งมักจะมีการเปลี่ยนเครื่องมือที่ ‘เร็วเกินไป’ แทนที่จะสายเกินไป โดยอายุการใช้งานของเครื่องมือที่ถูกเปลี่ยนเร็วเกินไปนั้นเฉลี่ยแล้วยังสามารถถูกใช้งานได้อีกมากถึง 30% เลยทีเดียว
โครงการนี้ก็จะช่วยให้ผู้ผลิตหลายแห่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ลดต้นทุนและเวลาที่ต้องใช้ในการทำงานลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะกลายเป็นมาตรฐานแบบใหม่ที่ช่วยเสริมการทำงานในแต่ละวันของโรงงานให้ดียิ่งขึ้นไปได้อีกขั้น