Carbon Footprint Infographic

CARBON FOOTPRINT ความจริงที่คุณควรรู้เพื่อชีวิตที่ยั่งยืน

13.06.2024

ทุกปีใหม่ผมคิดว่าทุกคนคงเคยร่วมแสดงความยินดีกับการมาถึงของปีใหม่และไว้อาลัยให้กับปีเก่าที่ได้ผ่านพ้นไปกันสักครั้งในชีวิตใช่ไหมครับ ด้วยนาฬิกานับถอยหลัง 3 2 1 เมื่อสิ้นสุดการนับถอยหลังทุกคนต่างก็เต็มเปี่ยมไปด้วยความยินดี ความสุขสนุกสนานจากงานเฉลิมฉลองกันทั่วหน้า 

mmthailand Sustainability

แต่สิ่งที่ผมจะนำเสนอไม่ใช่เวลานับถอยหลังที่เต็มไปด้วยความสุขและยินดีปรีดาแบบนาฬิกานับถอยหลังวันปีใหม่แต่อย่างใดครับ แต่มันคือนาฬิกาที่จะเป็นตัวตัดสินอนาคต ของสิ่งมีชิวิตบนโลกใบนี้นั้นก็คือ Carbon Clock Countdown หรือนาฬิกานับถอยหลังคาร์บอน มันจะคอยนับถอยหลังว่าเรามีเวลามากแค่ไหนในการเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gases) อันเป็นสาเหตุให้เกิดปรากฏการณ์ภาวะโลกร้อน (Global warming) หากเวลาลดลงมากเท่าไหร่สิ่งที่จะเกิดตามมาคืออุณหภูมิของโลกเราจะสูงมากขึ้นเป็นสาเหตุให้เกิดภัยธรรมชาติมากมายเช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอย่างสุดขั้ว ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นจากน้ำแข็งขั้วโลกละลาย หรือใกล้ตัวอีกนิดก็คืออากาศที่ร้อนขึ้นกว่าเดิมหลายองศา จากปกติก็ร้อนอยู่แล้วแต่จะทวีคูณขึ้นจนไม่สามารถอยู่อาศัยได้

เราทุกคนจึงต้องมองหาวิธีการใหม่ๆเพื่อช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนให้ได้มากที่สุด วันนี้ผมจะมานำเสนอหนึ่งในแนวคิดที่เปรียบเสมือนเครื่องมือที่จะทำให้เราสามารถรู้ถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เราได้ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศของโลก แนวคิดนั้นคิอ CARBON FOOTPRINT นั่นเองครับ

นาฬิกานับถอยหลังคาร์บอน – Carbon Clock Countdown

Carbon Footprint มันคืออะไร 

Carbon Footprint เป็นแนวคิดที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวัดระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gases) ที่เป็นต้นตอของปัญหาภาวะโลกร้อน (Global Warming) ที่เราเกริ่นไปข้างต้น โดยพิจารณาถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้ง 7 ตัวตามภาพด้านล่างครับ

ก๊าซทั้งหมดที่ผมยกตัวอย่างมานั้นล้วนแล้วแต่เป็นก๊าซที่เกิดจากแทบทุกกิจกรรมการดำรงชีวิตของมนุษย์

ยกตัวอย่างเช่น คาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) จากการขนส่ง  Methane (CH₄) จากการสะสมของขยะและน้ำเสีย ไนตรัสออกไซด์ (N₂O)จากการเกษตรและอุตสาหกรรมบางประเภท ฟลูออรีน (Fluorine) จากอุตสาหกรรมเคมีและอุตสาหกรรมการแพทย์

โดยประเภทของ Carbon Footprint นั้นมีด้วยกันอยู่ 3 ประเภท

  1. คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของมนุษย์ –  การวัดปริมาณก๊าซจากกิจกรรมการใช้ชีวิต เช่น การรับประทานอาหาร การเดินทางทั้งที่บ้านและที่ทำงานหรือจะเข้าใจว่าเป็นการวัดระดับการปล่อยก๊าซแบบรายบุคคลก็ได้ครับ
  2. คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ – การวัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากวัฏจักรของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่การเริ่มต้นของวัตถุดิบจนสิ้นสุดปลายทางของผลิตภัณฑ์
  3. คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร – การวัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมทั้งขององค์กรไม่ว่าจะเป็นการผลิตสินค้า การขนส่ง แหล่งพลังงานที่ใช้กับองค์กรนั้น

การคำนวณเบื้องต้นของ Carbon Footprint

เมื่อขึ้นชื่อว่าเป็นแนวคิดที่เปรียบดั่งเครื่องมือวัดระดับก๊าซเรือนกระจก เราทุกคนคงรู้อยู่แล้วว่าเครื่องมือนั้นก็มีหลายระดับคือแบบที่มีความละเอียดสูงและต่ำ Carbon Footprint ก็เช่นกันครับ เราจะคำนวณออกมาได้ละเอียดถูกต้องมากน้อยตรงกับความเป็นจริงมากแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความชำนาญความเข้าใจด้านการคำนวณ Carbon Footprint ของบุคคลนั้น ๆ ซึ่งหากต้องการความละเอียดที่สูงขึ้นอาจต้องใช้หน่วยงานเฉพาะทางหรือผู้ชำนาญการเรื่องนี้โดยเฉพาะ แต่ผมจะมาบอกขั้นตอนการคำนวณเบื้องต้นที่จะให้ผู้ประกอบการสามารถทำตามได้โดยง่าย โดยมีขั้นตอนต่อไปนี้คือ

เมื่อได้ค่าของ Carbon Footprint มาแล้วสามารถนำไปเปรียบเทียบกับมาตรฐาน ISO 14064 หรือเก็บเป็นข้อมูลเพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปีถัด ๆ ไปได้ carbonfootprint.com – Carbon Footprint Calculator

กรณีศึกษาของบริษัทที่มีแนวโน้มที่ดีในการลดปริมาณ Carbon Footprint

ตั้งแต่ปี 2018-2020 บริษัท Nestlé ประสบปัญหาการเพิ่มขึ้นของปริมาณก๊าซคาร์บอนสูงกว่าค่าเฉลี่ยจึงเป็นสาเหตุให้เกิดโครงการ Net zero roadmap ขึ้นในปี 2020 โดยโครงการมีเป้าหมายเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็น 0 หลังจากเริ่มโครงการปริมาณก๊าซคาร์บอนที่ถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศได้ลดลงเรื่อยๆจนในปี 2023 ปริมาณก๊าซที่ถูกปล่อยนั้นต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยถึง 13.58% แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการพัฒนาสู่การอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมไปอีกขั้น 

สาเหตุที่เลือก Nestlé มาเป็นกรณีศึกษาเพราะNestléเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านการผลิตและส่งออกสินค้าบริโภคมากมาย จึงเป็นบริษัทที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าอุตสาหกรรมอื่นพอสมควร นั่นเพราะเมื่อมีอาหารก็ต้องมีเศษอาหารเหลือทิ้งจำนวนมาก 

รูปและเนื้อหาส่วนหนึ่งมาจาก  Nestlé Creating Shared Value and sustainability report 2023

แนวคิดนี้จะเป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิตได้อย่างไร ?

  • ผลประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม
  1. คุณภาพอากาศที่ดีขึ้นจากการลดการปล่อย Carbon Footprint
  2. มีส่วนช่วยลดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก
  3. ปกป้องระบบนิเวศรอบโดยรอบจากการถูกทำลาย
  • ผลประโยชน์ทางธุรกิจ
  1. ป้องกันการถูกกีดกันทางการค้าจากมาตรการ CBAM ของสหภาพยุโรป
  2. ลดต้นทุนจากการใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ การปรับปรุงกระบวนการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  3. ได้รับการยอมรับจากสังคม
  4. กระตุ้นให้เกิดนวัตกรรม เนื่องจากการพยายามลด Carbon Footprint อาจกระตุ้นให้องค์กรคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพดำเนินงานและควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

แล้วทำไมเราถึงต้องสนใจประเด็นนี้ ?

ผมอยากให้เราทุกคนลองจินตนาการถึงบ้านของเราดูนะครับ ทุกคนมีช่วงเวลาที่ดีและความทรงจำกับบ้านหลังนี้มากมาย แต่เมื่อเวลาผ่านไปเราก็จะเห็นได้ว่าบ้านหลังนี้นั้นผุพังลงเรื่อยๆ ผนังเริ่มมีรอยร้าว ท่อน้ำเริ่มขึ้นสนิม สิ่งที่เราทุกคนควรทำก็คงเป็นการซ่อมแซมทุกอย่างให้กลับมาใช้งานได้ดีเหมือนเมื่อก่อน แต่หากว่าการผุพังของบ้านหลังนี้นั้นมันมากเกินกว่าจะซ่อมแซมได้ทุกคนคงเลือกที่จะย้ายไปอยู่บ้านหลังใหม่ 

แต่ลองจินตนาการดูสิครับว่าถ้าเกิดบ้านที่เต็มไปด้วยความทรงจำนี้เป็นบ้านหลังสุดท้ายเพียงแห่งเดียวที่เราจะอยู่อาศัยได้ดูสิครับ โลกของเราก็เปรียบเสมือนบ้านหลังนั้นที่ผมยกตัวอย่างนั่นแหละครับ หากปล่อยมันผุพังไปโดยไม่มีการแก้ไขหรือซ่อมแซม มันจะพังทลายลงไปเรื่อย ๆ สิ่งที่เราทุกคนเรียกว่าบ้านก็อาจจะไม่เหลือให้เราเรียกมันว่าบ้านอีกต่อไป การดูแลรักษาบ้านจึงเปรียบเสมือนการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เราสามารถอยู่อาศัยบนบ้านที่เราเรียกว่า โลก นี้ได้อย่างยั่งยืนที่สุด หรือจะปล่อยให้ทุกอย่างมันสายเกินไปจนเราต้องไปค้นหาบ้านหลังอื่นที่ไม่รู้ว่าจะมีหรือเปล่ากันนะครับ

Pisit Poocharoen
Former field engineer seeking to break free from traditional learning frameworks. อดีตวิศวกรภาคสนามที่ต้องการหลุดออกจากกรอบการเรียนรู้แบบเดิม ๆ