ทีมวิจัยจากสถาบัน Fraunhofer ประสบความสำเร็จในการพัฒนาหมึกเซรามิกที่สามารถทนต่ออุณหภูมิได้สูงกว่า 1,000 องศาเซลเซียส !
โดยหมึกเซรามิกนี้จะช่วยให้การแปรรูปชิ้นส่วนโลหะในอุตสาหกรรมยานยนต์สามารถทำเครื่องหมายด้วยรหัสเพื่อให้ชิ้นส่วนเหล่านี้สามารถทำการติดตามข้อมูลในสายการผลิตและสร้างการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่กระบวนการผลิตแบบดิจิทัลได้สำเร็จ
- นักวิจัย MIT พบวิธีจัดการความร้อนในการพิมพ์โลหะ 3 มิติ
- 7 ประเทศยุโรปร่วมพัฒนาโครงการรีไซเคิลใบพัดกังหันลม
- โครงการรีไซเคิลแม่เหล็กแบบใหม่ ลดการใช้ทรัพยากรอย่างสูญเปล่า
ปกติแล้วในการผลิตแบบ Digital Manufacturing ที่มีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วยเสริมการทำงานนั้น การทำรหัสเอาไว้บนชิ้นส่วนที่ผลิตขึ้นถือเป็นขั้นตอนปกติที่นิยมใช้เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบและติดตามกระบวนการผลิต
แต่ที่ผ่านมาในอุตสาหกรรมด้านงานโลหะนั้น การทำโค้ดรหัสบนชิ้นส่วนที่ผลิตกลับเป็นอุปสรรคเพราะชิ้นส่วนที่ต้องผ่านความร้อนสูงกว่า 1,000 องศา ซึ่งทำให้รหัสที่พิมพ์ไว้บนชิ้นส่วนเหล่านี้ถูกทำลายไปในระหว่างการทำงาน
หมึกเซรามิกลดระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจสอบชิ้นงาน
หมึกเซรามิก หรือ ‘Ceracode ink’ ที่ทีมวิจัยจากสถาบัน Fraunhofer-IKTS ได้พัฒนาขึ้นจึงสามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ด้วยอนุภาคเซรามิกที่สามารถทนต่อความร้อนได้และส่วนประกอบของแก้วที่จะละลายเมื่อเจอกับความร้อนเพื่อช่วยให้รหัสที่ทำไว้ติดอยู่กับพื้นผิวโลหะได้ ซึ่งทาง Fraunhofer ได้ระบุว่าหมึกนี้ยังมีความเสถียรสูงและยังอ่านค่าได้ง่ายอีกด้วย
โดยสิ่งนี้จะช่วยให้การตรวจสอบชิ้นงานในแต่ละวันสามารถเป็นไปได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น พนักงานสามารถทำการสแกนข้อมูลรหัสเพื่อตรวจสอบได้ว่าชิ้นงานตรงหน้ากำลังอยู่ในขั้นตอนใดหรือผ่านการแปรรูปในรูปแบบไหนมา และถ้าหากต้องการจะลดระยะเวลาในการตรวจสอบลงไปอีกนั้น การนำหุ่นยนต์เข้ามาช่วยในการอ่านและตรวจสอบข้อมูลชิ้นงานเหล่านี้ก็สามารถเป็นไปได้ด้วย Ceracode ink
ในอนาคตทาง Fraunhofer ยังต้องการที่จะหาวิธีการพิมพ์รหัสเหล่านี้ลงบนชิ้นส่วนโลหะที่มีรูปร่างโค้งงอ รวมไปถึงการพัฒนาระบบอัลกอริทึมที่จะสามารถอ่านรหัสได้อย่างแม่นยำบนพื้นผิวโลหะที่โค้งหรือไม่สม่ำเสมอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองที่จะช่วยผลักดันให้อุตสาหกรรมโลหะ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ให้สามารถเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการทำงานเข้าสู่รูปแบบ Digital Manufacturing ได้ง่ายดายยิ่งขึ้น