ผู้ประกอบการโรงงานล้วนเข้าใจถึงความสำคัญของเทคโนโลยีสมัยใหม่ทั้งสิ้น แต่ผลลัพธ์ของการลงทุนกลับไม่แน่นอน ส่วนหนึ่งที่เป็นส่วนสำคัญเพราะวิธีการ Approach ต่อการลงทุน และการตั้งเป้าหมายที่เกิดขึ้น ซึ่งการจะทำให้เกิด Digital Factory ได้นั้นเรื่องของ ‘ข้อมูล’ เป็นปัจจัยสำคัญในการตั้งต้น โดยมีการเชื่อมต่อ (Connect) และการประมวลผล (Compute) เป็นส่วนประกอบอันขาดไม่ได้ที่ผู้ประกอบการมักจะมองข้ามไปอย่างไม่เข้าใจ
เรื่องของ Digital Transformation (DX) และเรื่องของ Digital Factory นั้นเป็นประเด็นที่ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยให้ความสนใจ ทั้งในแง่ของทักษะการล้มแล้วลุกอย่างรวดเร็ว (Resilience) เพื่อปรับตัวและควบคุมต้นทุน รวมถึงการเผชิญหน้ากับความท้าทายหลากหลายมิติ ทำให้การลงทุนเทคโนโลยีกลายเป็น ‘คำตอบสุดท้าย’ สำหรับหลาย ๆ คน แต่ในขณะเดียวกันวิสัยทัศน์ และมุมมองต่อคำตอบสุดท้ายนี้ส่งผลต่อการลงทุนว่าจะ ‘ล้มเหลว’ หรือ ‘ประสบผลสำเร็จ’
‘มองผิดที่ แก้ผิดจุด’ ปัญหายอดฮิตของความล้มเหลวในการทำ Digital Factory
ข้อมูลจากเอกสาร ‘Digital Factory Transformation Survey 2022’ โดย PwC ชี้ให้เห็นว่าในแต่ละปีนั้นมีการลงทุนในด้าน Digital Factory กว่า 1.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่ง 64% อยู่ในขั้นตอนเริ่มต้นของ Digital Transformation โดยมีบริษัทที่มองว่าการลงทุนนี้จะเป็นการขับเคลื่อนในด้านของ Resilience และความยืดหยุ่น (Flexibility) เพิ่มขึ้นถึง 67%
แต่ในขณะเดียวกันข้อมูลจาก McKinsey ได้แสดงให้เห็นว่า 70% ของ Digital Transformation ที่เกิดขึ้นนั้นต้องเผชิญหน้ากับความล้มเหลว หากพิจารณาตามเอกสารงานวิจัย ‘Why do so many digital transformations fail? A bibliometric analysis and future research agenda’ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสาร Journal of Business Research ฉบับที่ 174 เดือนมีนาคม 2024 ปัจจัยในการทำ Digital Transformation ที่ล้มเหลวประกอบไปด้วย 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ นวัตกรรมด้านดิจิทัล, การบริหารจัดการ, เทคโนโลยีดิจิทัล และระบบข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งปัจจัยทั้งหมดนี้ต่างเชื่อมโยงเข้าด้วยกันด้วยมิติของ ‘ข้อมูล’ ที่ขาดคุณภาพและไม่เชื่อมต่อกัน
ถอดประสบการณ์ ‘เพราะเหตุใด’ ธุรกิจจึงล้มเหลวในการทำ Digital Transformation
ความผิดพลาดเหล่านี้เกิดขึ้นได้กับธุรกิจทุกประเภท ไม่ได้เจาะจงหรือมีอภิสิทธิ์ว่าธุรกิจขนาดใหญ่หรือเล็กเท่านั้นที่จะล้มเหลวได้ ยกตัวอย่างในกรณีของ Hershey* ผู้ผลิตช็อกโกแลตแบรนด์ดังที่พยายามบูรณาการ ERP ที่ซับซ้อนในระยะเวลาอันสั้น และมีกำหนดการเปิดใช้งานในช่วง Cycle ของธุรกิจที่มีกำลังผลิตสูง ประกอบกับแรงงานที่ยังไม่สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ ทำให้เกิดปัญหาจำนวนมากขึ้นและแก้ได้ไม่ทันต่อความเร่งด่วน หรืออย่างในกรณีของ Ford Motor* ที่มีความทะเยอทะยานในการทำ Transformation แบบยกทั้งระบบ แต่ขาดความชัดเจนในเรื่องของยุทธศาสตร์ และมีขั้นตอนการดำเนินการที่ประสิทธิภาพยังไม่ดีพอทำให้เกิดความล้มเหลวขึ้น
จากการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญในภาคการผลิตหลากหลายสาขา พบว่าสาเหตุสำคัญที่การลงทุนทำ Digital Transformation เพื่อให้เกิดเป็น Digital Factory สำหรับประเทศไทยที่กลายเป็นความล้มเหลว มักเกิดขึ้นเพราะ ‘ความไม่เข้าใจ’ ในความต้องการของธุรกิจตัวเอง นำไปสู่ความเคยชินในการลงทุนที่อาจเกิดจากการไปเดินงานแสดงสินค้าแล้วเลือกซื้อเฉพาะสิ่งที่ตัวเองสนใจหรือรู้จักอยู่บ้าง แต่กลับไม่สอดคล้องกับความต้องการหรือความท้าทายที่มีอยู่จริงและเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กที่ขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี มักจะพบปัญหาความท้าทายเหล่านี้ได้มากกว่าบริษัทจากต่างประเทศที่มีผู้เชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์ในการปรับเปลี่ยนกันจนเป็นวัฒนธรรมหนึ่งในองค์กรไปแล้ว
* อ้างอิงข้อมูลจาก SANKA ผู้เชี่ยวชาญด้าน ERP และ CRM
ตั้งต้นความคิดด้วย ‘ผลลัพธ์’ ที่จับต้องได้เสียก่อน!
จะเห็นได้ว่าทั้งความเคยชินและลงทุนโดยไม่ได้พิจารณาถึงคุณค่าที่จำเป็นจะส่งผลให้ธุรกิจเกิดความล้มเหลวไม่อาจก้าวเข้าสู่การเป็น Digital Factory ที่มีประสิทธิภาพได้ ดังนั้น การย้อนกลับมาตั้งต้นที่ผลลัพธ์ที่ต้องการจึงเป็นการวางแผนและปรับวิธีคิดใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากกว่ารูปแบบอื่นใด
การตั้งต้นว่าจะผลิตอะไร มีคุณภาพและส่งต่อคุณค่าให้กับผู้ใช้หรือผู้บริโภคอย่างไร น่าจะเป็นการตั้งต้นที่เห็นภาพชัดเจนที่สุด จากนั้นจึงพิจารณาย้อนกระบวนการว่าต้องการขั้นตอนอะไรบ้าง และขั้นตอนเหล่านั้นต้องประกอบไปด้วยเงื่อนไขอย่างไรจึงจะได้ผลลัพธ์อย่างที่ต้องการไปพร้อม ๆ กับการทำให้ธุรกิจเติบโต
การพิจารณาลำดับขั้นเหล่านี้และการสำรวจข้อมูล (Data) จากสายการผลิตเดิมควบคู่กันไปจะทำให้เห็นแนวทางของการลงทุนชัดยิ่งขึ้น จะทำให้เห็นได้ชัดว่ากระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ไปจนถึงมือผู้ใช้นั้นเต็มไปด้วยข้อมูลจำนวนมหาศาล เป็น Value Streaming ที่บ่งบอกทั้งคุณภาพชิ้นงาน ศักยภาพในการผลิต รวมถึงต้นทุน กำไร และแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้
ดังนั้น การตั้งต้นพิจารณาที่ชิ้นงานหรือผลลัพธ์ที่ต้องการ จะต้องมาควบคู่กับข้อมูลที่มีคุณภาพ ซึ่งนิยามของข้อมูลที่ดีจะต้องประกอบด้วย ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ มีความแม่นยำ มีความสมบูรณ์ มีการอัปเดต และทันต่อสถานการณ์ เพื่อการได้มาและการต่อยอดข้อมูลดังกล่าว ระบบนิเวศของข้อมูลอย่างการเชื่อมต่อ (Connect) และการประมวลผล (Compute) จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก หากต้องการขับเคลื่อนโรงงานในรูปแบบของ Digital Factory ซึ่งแนวคิดการเชื่อมต่อและการประมวลผลนี้ยังเป็นแนวคิดที่ AIS Business ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนภาคการผลิตในปี 2025 นี้อีกด้วย
‘CONNECT & COMPUTE’ แนวคิดสำคัญของ AIS Business ในการขับเคลื่อนภาคการผลิตปี 2025
ความท้าทายสำคัญที่ AIS Business ต้องเผชิญเมื่อได้ทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับทั้งพันธมิตร SI, SA, หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรม และลูกค้าในภาคการผลิต คือ การใช้งานระบบอัตโนมัติในภาคอุตสาหกรรม โดยส่วนใหญ่นั้นยังขาดความเข้าใจอยู่อีกมาก ด้วยพฤติกรรมการลงทุนที่เคยชินกับการเลือกสินค้าตามงานแสดงสินค้า เช่น ลงทุนหุ่นยนต์ ลงทุน IIoT หรือลงทุนระบบ Machine Vision มูลค่าสูง แต่การขาดมุมมองเรื่องระบบนิเวศที่ต้องรองรับเทคโนโลยีซึ่งอาจไม่ใช่สิ่งที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อและประมวลผลแอปพลิเคชัน ซึ่งเป็นเหมือนกับถนนให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ในโรงงาน ทำให้การใช้งานเทคโนโลยีมูลค่าสูงที่ลงทุนไปนั้นไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ เกิดปัญหาคอขวด และในอีกหลายกรณีเป็นการทำงานแบบ Standalone ไม่สามารถส่งต่อหรือใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่เกิดขึ้นก่อนหน้าได้เลย ส่งผลให้การทำ Digital Transformation เพื่อมุ่งหน้าสู่ Digital Factory จำนวนไม่น้อยเกิดความล้มเหลว
AIS Business จึงชวนผู้ประกอบการกลับมาตั้งต้นกันที่ ‘คุณภาพของข้อมูล’ ว่าจะทำอย่างไรให้ได้ข้อมูลที่ได้คุณภาพ เที่ยงตรง โปร่งใส แม่นยำ และทันต่อการใช้งาน ก่อนที่จะไปให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีที่เป็นปลายทางอย่างหุ่นยนต์หรือเซ็นเซอร์ต่าง ๆ โดย AIS Business ในปี 2025 จึงให้ความสำคัญกับการเชื่อมต่อและการต่อยอดการใช้งานให้สามารถเกิดประสิทธิภาพขึ้นได้จริง และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายทางธุรกิจจากข้อมูลที่มีปัญหา เป็นการวางรากฐานของการเชื่อมต่อข้อมูลและการประมวลผลเพื่อให้เทคโนโลยีมูลค่าสูงอย่างหุ่นยนต์ เครื่องจักรอัจฉริยะ ระบบ Simulation รวมถึงอุปกรณ์ตรวจจับข้อมูลอย่างเซ็นเซอร์และ IIoT ที่มีจำนวนมากและต้องส่งข้อมูลอย่างต่อเนื่องสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไร้ปัญหาคอขวด และทำให้สามารถใช้ศักยภาพของ Digital Factory ได้อย่างสมบูรณ์แบบ จะเห็นได้ว่าการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลจำเป็นต้องมีการดำเนินการควบคู่ไปกับการลงทุนเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับความท้าทายของธุรกิจที่เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่การมุ่งไปด้านใดด้านหนึ่งเพียงอย่างเดียว
เริ่มต้นที่ CONNECT & COMPUTE ต่อยอดสู่ Sustainable Manufacturing ในงาน AUTOMATION EXPO 2025
การเผยโฉมของแนวคิด ‘Transforming Digital Manufacturing with the Power of CONNECT & COMPUTE’ ที่กลับมาสู่พื้นฐานอันสำคัญยิ่งของการผลิตสำหรับ Digital Factory จาก AIS Business นั้นเกิดขึ้นในงาน AUTOMATION EXPO 2025 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาตินงนุช พัทยา โดยภายใต้แต่ละแนวคิดย่อยมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
CONNECT
จุดเริ่มต้นแรกของการได้มาซึ่งข้อมูลที่มีคุณภาพ คือ การมีพื้นฐานการเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับแอปพลิเคชันที่ใช้ เช่น ต้องการใช้งานในสภาพแวดล้อมแบบใด อุปกรณ์มีการเคลื่อนไหวมากน้อยแค่ไหน ขนาดของข้อมูลเป็นอย่างไร ช่องสัญญาณมีการรบกวนกันเกิดขึ้นหรือไม่ และความถี่ในการส่งข้อมูลมากน้อยแค่ไหน การบริหารจัดการทรัพยากรในระบบเหล่านี้จะส่งผลต่อความสมบูรณ์ของข้อมูล และการได้มาซึ่งข้อมูลที่ทันต่อสถานการณ์ ซึ่งภายในงาน AUTOMATION EXPO 2025 ทาง AIS Business ได้มีการจัดแสดงเทคโนโลยีเครือข่าย 5G และระบบโครงข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม (Industrial Internet) ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเงื่อนไขของภาคการผลิตที่มีความซับซ้อนโดยเฉพาะ
COMPUTE
เมื่อสามารถได้มาซึ่งข้อมูลที่มีความแม่นยำ รวดเร็ว และถูกต้องแล้ว การต่อยอดและประมวลผลข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพจะเป็นอีกส่วนที่มีความสำคัญอย่างมากใน Data Streaming ที่เกิดขึ้นสำหรับ Digital Factory ยุคใหม่ที่เต็มไปด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติที่ต้องทำงาน Synchronize กันตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการทำงานกับเครื่องจักรด้วยกันเอง การประมวลผลของเครื่องจักรที่ต้องเกิดขึ้นพร้อมกับการประมวลผลของระบบอย่าง MES, SCADA หรือ ERP แบบ Real-Time เรื่องของความหน่วงในการประมวลผลจะมีส่วนสำคัญอย่างมาก โดยภายในงาน AUTOMATION EXPO 2025 ได้มีการจัดแสดงเทคโนโลยี AIS Cloud X ที่สามารถลดต้นทุนด้านการประมวลผลผ่านระบบเครือข่ายให้กับผู้ประกอบการ ทั้งยังลดต้นทุนที่ต้องใช้หากเปรียบเทียบกับระบบการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลแบบดั้งเดิมได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าใครกำลังมองหา Cloud ที่ใช้งานกับ AI หรือต้องการใช้งานศักยภาพที่สูงที่สุดของเทคโนโลยี AIS Business ก็ได้นำ AIS Thai Hyperscale Cloud มาเป็นตัวอย่างให้เห็นว่าการใช้งานเทคโนโลยีระดับ Cutting Edge ในภาคการผลิตสามารถเป็นไปได้ในทิศทางใดบ้าง
Sustainable Manufacturing
เพื่อให้เห็นภาพของแนวคิด CONNECT & COMPUTE ที่จับต้องได้ AIS Business จึงได้นำเสนอแอปพลิเคชันที่ต่อยอดการใช้งานเครือข่ายคุณภาพสูง และศักยภาพในการประมวลผลผ่านเครือข่ายที่โดดเด่นผ่านตัวอย่างการใช้งานจริงที่เกิดขึ้นในภาคอุตสาหกรรม เพื่อทำให้เกิดความยั่งยืนในธุรกิจและการแข่งขันที่จับต้องได้ ไม่ว่าจะเป็น AIS Carbon Manager Platform ที่ถูกออกแบบมาให้เชื่อมต่ออุปกรณ์ในโรงงานได้อย่างหลากหลาย สามารถแบ่ง Plant และอาคารต่าง ๆ เพื่อแยกคำนวณ Carbon Footprint ที่เกิดขึ้นได้อย่างสะดวก และ AIS Cloud PC ที่ช่วยลดต้นทุนด้านการใช้งานและการดูแลข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ด้วยการรัน Windows OS ผ่าน Cloud ที่เข้าถึงได้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก สะท้อนให้เห็นถึงแนวทางการประยุกต์ใช้งานที่หลากหลายและสร้างความแตกต่างให้กับ Digital Factory ในยุคใหม่ได้จริง
นอกจากนี้ AIS Business ยังได้นำอุปกรณ์ Rugged Handheld ที่มีการเชื่อมต่อผ่านเครือข่าย 5G มาให้ทดลองใช้กันภายในงาน AUTOMATION EXPO 2025 อีกด้วย
สำหรับแนวคิด CONNECT & COMPUTE จาก AIS Business ที่ได้เปิดตัวในงาน AUTOMATION EXPO 2025 นั้น เห็นได้ชัดว่าเป็นการกลับมาให้ความสำคัญกับเรื่องพื้นฐาน การวางโครงสร้างของระบบให้เกิดประสิทธิภาพ ให้ความสำคัญกับข้อมูลในฐานะกระดูกสันหลังสำหรับ Digital Factory ที่ไม่อาจปฏิเสธได้ นำไปสู่ก้าวแรกของการเปลี่ยนแปลงที่มั่นคงและใกล้ตัวผู้ประกอบการมากยิ่งขึ้น ซึ่งในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านโซลูชั่น IT แล้ว AIS Business เรียกได้ว่ามีความพร้อมทั้งเรื่องของเทคโนโลยี องค์ความรู้ กรณีศึกษา และพันธมิตรที่จะทำให้ Digital Transformation เกิดขึ้นและประสบความสำเร็จได้ ไม่ว่าจะเป็นโรงงาน SME หรือเป็นโรงงานที่มีมาตรฐานระดับสากลจากบริษัทแม่ที่คอยกำกับควบคุมก็ตาม
สนใจบริการโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลสำหรับภาคอุตสาหกรรมที่ครบทั้ง Ecosystem จาก AIS Business ติดต่อสอบถามและติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่