CV ประกาศรับกำจัดขยะจากชุมชน และโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อผลิต RDF ป้อนโรงไฟฟ้า CPX ช่วยลดปัญหาการจัดการขยะของสังคม และนำขยะมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป
นายเศรษฐศิริ ศักดิ์สิทธิเสรีกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โคลเวอร์ เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CV เปิดเผยว่า บริษัท โคลเวอร์ รีไซเคิ้ล จำกัด (CVR) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ CV ดำเนินธุรกิจคัดแยกและแปรรูปขยะ RDF (Refuse Derived Fuel) จากขยะชุมชน และขยะอุตสาหกรรม(ชนิดไม่อันตราย) โดยรับกำจัดขยะอุตสาหกรรม(ชนิดไม่อันตราย) ได้แก่ เศษพลาสติก, เศษผ้า, เศษยาง, เศษหนัง เป็นต้น เพื่อนำมาแปรรูปเป็น RDF type 3 กำลังการผลิต 300 ตันต่อวัน โดยได้รับใบอนุญาต 106 ประกอบกิจการ ผลิตเชื้อเพลิงจากขยะอุตสาหกรรมและขยะชุมชน เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์เมื่อเดือนพฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้บริการของ CVR มี 2 รูปแบบ ได้แก่ 1.) รูปแบบ Onsite ให้บริการรื้อร่อนขยะชุมชน ทั้งขยะใหม่ และขยะเก่า ณ บ่อขยะเอกชนต่างๆ โดยหลังรื้อร่อนจะได้ RDF type 1 และขยะอินทรีย์ โดย RDF type 1 จะถูกส่งไปยังโรงแปรรูปขยะ RDF ของ CVR ที่จ.พิจิตร เป็น RDF type 3 (ขนาดไม่เกิน 3 cm.) และ 2.) รูปแบบ Factory เป็นกระบวนการแปรรูปเชื้อเพลิง RDF ที่โรงงาน ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือตอนล่าง จ.พิจิตร
Hexagon นำ Digital Twin พัฒนาระบบฝึกอบรมการใช้เครื่องจักร
สำหรับ RDF ที่ได้จากกระบวนการแปรรูปขยะ RDF ในส่วนที่ผลิตจากขยะอุตสาหกรรม (ชนิดไม่อันตราย) จะถูกส่งไปยังโรงไฟฟ้าโคลเวอร์ พิจิตร (CPX) เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าและจำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และส่งขายให้กับลูกค้าโรงงานอุตสาหกรรมภายนอก อาทิ โรงงานปูนซีเมนต์เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนถ่านหินได้ ส่วน RDF ที่ได้จากการรื้อร่อนขยะชุมชน บริษัทฯ ก็สามารถส่งขายให้กับลูกค้าโรงงานอุตสาหกรรมภายนอกเช่นกัน
ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถแปรรูปขยะ RDF และผลิตเชื้อเพลิงได้อย่างต่อเนื่อง บริษัทฯ พร้อมรับกำจัดขยะจากโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ที่ต้องการกำจัดของเสีย (ชนิดไม่อันตราย) อย่างถูกวิธีและถูกต้องตามกฎหมาย อาทิ เศษผ้า เศษไม้จากการแปรรูป เศษพลาสติก และมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าบ่อขยะฝังกลบเอกชน ที่ต้องการเคลียร์พื้นที่บ่อฝังกลบขยะที่เต็มแล้วหรือใกล้จะเต็ม รวมถึงพร้อมรับขยะพลังงาน จากแหล่งชุมชน อาทิ ห้างสรรพสินค้า สถานศึกษา โรงแรม เป็นต้น โดยผู้สนใจสามารถติดต่อทาง CVR เพื่อส่งขยะดังกล่าวมาใช้ผลิตเป็นเชื้อเพลิง RDF ได้ ถือเป็นส่วนหนึ่งในการลดปัญหาการจัดการขยะของสังคม และนำขยะมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป
นอกจากนี้ ยังเป็นการช่วยให้องค์กรต่าง ๆ สามารถลด Carbon Footprint for Organization (CFO) ขององค์กรและ Carbon Footprint of Product (CFP) จากการกำจัดขยะอีกด้วย
นายเศรษฐศิริ กล่าวว่า ขอเชิญชวนให้ชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง นำขยะมากำจัดกับทาง CVR เพื่อใช้ผลิตเป็นเชื้อเพลิง RDF เพราะด้วยรูปแบบดังกล่าว ถือเป็นการพัฒนาพลังงานสะอาดเพื่อแก้ไขปัญหาขยะชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ โดยประโยชน์ที่จะได้รับมีมากมาย อาทิ ชุมชนและสังคม จะได้พื้นที่บ่อฝังกลบเดิมกลับมาใช้ประโยชน์ โดยไม่ต้องขยายพื้นที่หรือหาหลุมขยะเพิ่ม สามารถกลับมารองรับขยะใหม่ได้อีกครั้งหรือนำพื้นที่บ่อขยะเดิมไปพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวได้ เป็นการจัดการขยะอย่างยั่งยืนและลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากปัญหาขยะ
นอกจากนี้ทำให้โรงงานอุตสาหกรรม มีแหล่งกำจัดขยะอุตสาหกรรมประเภทไม่อันตรายที่ถูกต้องตามกฎหมาย ลดค่าใช้จ่ายกำจัดขยะ และลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร (CFO) และผลิตภัณฑ์ (CFP) อีกทางหนึ่ง