อีอีซี เผย ผลโรดโชว์ดึงทุนฝรั่งเศส ลงทุน อุตฯ การบิน พลังงาน 

อีอีซี เผย ผลโรดโชว์ดึงทุนฝรั่งเศส ลงทุน อุตฯ การบิน พลังงาน 

Date Post
07.07.2023
Post Views

อีอีซี เผย ผลโรดโชว์ฝรั่งเศส เพิ่มเชื่อมั่นนักธุรกิจชั้นนำ อุตฯ การบิน พลังงาน อาหาร และยานยนต์ไฟฟ้า สนใจลงทุนในอีอีซี

นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี เปิดเผยว่า ช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา อีอีซี ได้เดินทางไปจัดกิจกรรมพบปะนักลงทุน หรือโรดโชว์ ณ สาธารณรัฐฝรั่งเศส  พร้อมด้วย นางเจอดจันทน์ อรุณรัตน์ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายส่งเสริมการลงทุน) สำนักงานเศรษฐกิจการลงทุน ณ กรุงปารีส ผู้แทนจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) ผู้แทนจากภาคเอกชนไทย เช่น บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (EA) บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป ได้เข้าพบและหารือกับผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานฝรั่งเศส ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนรวมกว่า 20 ราย เพื่อให้ข้อมูลศักยภาพทางเศรษฐกิจของไทยและความคืบหน้าในการพัฒนาพื้นที่อีอีซี โดยมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และหารือถึงโอกาสความร่วมมือในอุตสาหกรรมที่ฝรั่งเศสมีความเชี่ยวชาญ สอดรับกับอุตสาหกรรมเป้าหมายอันเป็นที่ต้องการของพื้นที่ อีอีซี 

Rolls-Royce เปิดตัวเครื่องยนต์เทอร์โบพลังงานไฟฟ้าแบบไฮบริด

ทั้งนี้ อีอีซีได้ร่วมประชุมหารือกับหน่วยงานสำคัญด้านการลงทุนจากฝรั่งเศส เช่น สมาพันธ์นายจ้างฝรั่งเศสในต่างประเทศ (MEDEF International) Business France ร่วมพบปะกับผู้บริหารระดับสูงจากฝรั่งเศส ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สำคัญ เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ จากบริษัทชั้นนำกว่า 7 แห่ง อาทิ บริษัท Safran, Thales, GIFAS, Satys Aerospace, Volocopter, VoltAero เป็นต้น กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน จากบริษัท Total Energies กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร จากตลาดนานาชาติ Rungis บริหารโดยบริษัท Semmaris อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ เน้นในกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้า (EV) จากบริษัท Renault และบริษัทด้านเทคโนโลยี Dassault Systemes ซึ่งทุกบริษัทได้แสดงความสนใจในการเข้ามาลงทุนในพื้นที่อีอีซีของประเทศไทย

โดย อีอีซี ได้นำเสนอข้อมูลและโอกาสการลงทุนในพื้นที่ ทั้งด้านสิทธิประโยชน์สำคัญ เพื่อจูงใจนักลงทุนจากฝรั่งเศส ซึ่งจะมีการกำหนดสิทธิประโยชน์เฉพาะแต่ละคลัสเตอร์ พร้อมชูจุดเด่นในพื้นที่อีอีซี นอกเหนือจากความสะดวกจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลัก ได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด และท่าเรือแหลมฉบัง ที่รองรับการคมนาคมขนส่งอย่างไร้รอยต่อ ทั้งทาง บก เรือ อากาศ ซึ่งจะเป็นประตูเชื่อมโยงการเดินทางและขนส่งได้ทั่วโลกที่จะนำพาการลงทุนสู่พื้นที่ อีอีซี 

อีกทั้งได้สร้างระบบเชื่อมโยงทางธุรกิจ (ecosystem) และเตรียมการพัฒนาทักษะบุคลากรที่มีคุณภาพ เพื่อจูงใจและสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายจากนักลงทุนฝรั่งเศส

นอกจากนี้ คณะ ฯ ยังได้เข้าร่วมงาน Paris Airshow 2023 ซึ่งถือเป็นงานใหญ่ระดับโลกด้านอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ ที่จะมีผู้เข้าร่วมงานเป็นทั้งหน่วยงานภาครัฐและบริษัทเอกชนชั้นนำในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศจากทั่วโลก โดยได้มีการรับทราบถึงแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อาทิ อากาศยานที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฮบริด อากาศยานขึ้นลงแนวดิ่งที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า (eVTOL) เป็นต้น โดย อีอีซี ได้ใช้โอกาสนี้เป็นเวทีพบปะและหารือร่วมกับภาคเอกชนด้านอากาศยานชั้นนำจากประเทศต่างๆ โดยมีหลายบริษัทได้ให้ความสนใจจะขยายการลงทุนมายังประเทศไทย และสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่อีอีซีด้วย 

สำหรับประเทศฝรั่งเศส ถือเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยลำดับที่ 9 มีมูลค่าการลงทุนในพื้นที่อีอีซี (2561- 2565)   รวม 15,406.51 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมการแพทย์ ยานยนต์ และอากาศยาน โดยประเทศฝรั่งเศส ได้ให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์ Low Carbon Strategy สู่ประเทศในอาเซียน และพร้อมจะขยายการลงทุนในอุตสาหกรรม BCG พลังงานทดแทน และอุตสาหกรรมด้านอากาศยาน

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์
Store Master - Kardex