Kosmo
สฟ.แม่เมาะ 2

กฟผ. ปรับสถานีไฟฟ้าแรงสูงเป็นดิจิทัล ประเดิมเปิด สฟ.แม่เมาะ 2 

Date Post
27.07.2023
Post Views

กฟผ. ยกระดับระบบไฟฟ้า เปิดสถานีไฟฟ้าแรงสูงดิจิทัลแห่งแรกทางภาคเหนือ “แม่เมาะ 2” รองรับพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีอัจฉริยะ ช่วยลดค่าใช้จ่ายการบำรุงรักษาและการใช้พื้นที่ลดลง สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าลงได้ 

วันนี้ (26 กรกฎาคม 2566) นายจำลักษ์ กันเพ็ชร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง และนายกิตติ เพ็ชรสันทัด รองผู้ว่าการระบบส่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมพิธีเปิดสถานีไฟฟ้าแรงสูงดิจิทัลแห่งแรกของภาคเหนือ “แม่เมาะ 2” ณ ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง 

พาชมไฮไลต์เทคโนโลยีการผลิตจาก Taiwan Excellence 2023

นายจำลักษ์ กันเพ็ชร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง กล่าวว่า เป็นเรื่องน่ายินดีที่สถานีไฟฟ้าแรงสูงดิจิทัล แม่เมาะ 2 ช่วยเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้า รองรับการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นของภาคเหนือและจังหวัดลำปาง จากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องทางด้านธุรกิจและการท่องเที่ยว ตลอดจนโครงการพัฒนาต่าง ๆ เช่น ทางหลวงพิเศษหมายเลข 5 บางปะอิน-เชียงใหม่ รถไฟฟ้าความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนพหลโยธิน นอกจากนี้ ยังรองรับการพัฒนาอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ให้เป็นเมืองน่าอยู่ ก้าวสู่เมืองเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำด้วยเทคโนโลยีทันสมัยที่มีการผลิตและใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นในอนาคต

ด้าน นายกิตติ เพ็ชรสันทัด รองผู้ว่าการระบบส่ง กฟผ. กล่าวเสริมว่า สถานีไฟฟ้าแรงสูงแม่เมาะ 2 เป็นส่วนหนึ่งของแผนบริหารจัดการโครงข่ายระบบไฟฟ้าให้มีความทันสมัยและมั่นคง (Grid Modernization) ของ กฟผ. รองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้น ในช่วงที่เปลี่ยนผ่านด้านพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่พลังงานสะอาดตามแผนพลังงานชาติ มุ่งขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2593

สถานีไฟฟ้าแรงสูงแม่เมาะ 2 ขนาดแรงดัน 115 กิโลโวลต์ เป็น 1 ใน 4 สถานีไฟฟ้าแรงสูงนำร่องที่ปรับปรุงและพัฒนาเป็นสถานีไฟฟ้าแรงสูงแบบดิจิทัลแล้วเสร็จเดือนพฤษภาคม 2566 มีการใช้อุปกรณ์ควบคุมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะแบบดิจิทัลในการรับและส่งสัญญาณด้วยแสง ผ่านสายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) ช่วยลดการใช้สายไฟฟ้าแบบทองแดง ลดค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงระบบควบคุมและป้องกันความสูญเสียในการจ่ายไฟฟ้า การบำรุงรักษาอุปกรณ์ ลดพื้นที่อาคารควบคุมและพื้นที่ลานไกไฟฟ้า โดยทั้งหมดนี้นำไปสู่ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่ลดลง ช่วยลดภาระให้กับประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าในระยะยาว

ทั้งนี้ กฟผ. มีการปรับปรุงสถานีไฟฟ้าแรงสูงแบบดิจิทัลที่ดำเนินการเสร็จแล้วอีก 3 แห่ง ได้แก่ สถานีไฟฟ้าแรงสูงตราด สถานีไฟฟ้าแรงสูงสตูล และสถานีไฟฟ้าแรงสูงกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีแผนการพัฒนาสถานีไฟฟ้าแรงสูงสู่รูปแบบดิจิทัลครอบคลุมทั่วประเทศภายในปี 2580

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์
Automation Expo