Kosmo
EGS Renewable Energy

EGS ไออุ่นจากใต้พิภพสู่อีกหนึ่งพลังงานทางเลือก

Date Post
10.07.2024
Post Views

ถ้าพูดถึงพลังงานทางเลือกทุกคนคงจะเคยได้ยินเกี่ยวกับ ‘พลังงานจากความร้อนใต้พิภพ’ หรือ Traditional Geothermal Energy (TGE) กันมาไม่น้อยใช่ไหมครับ หลักการทำงานของการผลิตพลังงานชนิดนี้ คือ การใช้ประโยชน์จากแหล่งความร้อนใต้พื้นดินอย่างแหล่งน้ำร้อนใต้ดินตามธรรมชาตินำมาผลิตกระแสไฟฟ้าต่อไป แต่พลังงานชนิดนี้เองก็มีข้อจำกัดด้านทรัพยากรทางธรรมชาติเนื่องจากพลังงานชนิดนี้จำเป็นต้องพึ่งพาแหล่งน้ำร้อนใต้ดินที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้เกิดความไม่ยั่งยืนในการผลิตเมื่อน้ำร้อนถูกใช้จนหมด

แต่ข้อจำกัดด้านนี้ได้หมดไปหลังการมาถึงของระบบ EGS (Enhanced Geothermal Systems) ซึ่งถูกพัฒนาต่อยอดมาจากกระบวนการผลิตพลังงานดั้งเดิมอย่าง TGE โดยกระบวนการผลิตนี้ถูกคิดค้นเพื่อแก้ปัญหาการหมดไปของแหล่งน้ำร้อนธรรมชาติ 

ระบบ EGS ทำงานอย่างไร ?

กระบวนการสร้างโรงไฟฟ้าด้วยแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพแบบ EGS นั้นเริ่มจากการค้นหาพื้นที่ที่มีพลังงานความร้อนใต้ดินจากการเก็บข้อมูลทางธรณีวิทยาของพื้นที่ที่มีแนวโน้มสููงว่าจะมีแหล่งความร้อน จากนั้นจึงศึกษาและทำการทดสอบเงื่อนไขต่าง ๆ ที่จำเป็น เช่น การเจาะเพื่อทดสอบอุณหภูมิและการเรียงตัวของชั้นหินและดินก่อนดำเนินการก่อสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้า 

ขั้นตอนการทำงานของระบบ EGS คือ การปล่อยของเหลวลงไปยังแหล่งพลังงานความร้อนธรรมชาติลึกลงไป 3,000-5,000 เมตร ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ เมื่อของเหลวมีอุณหภูมิสูงขึ้นจากการดูดซับพลังงานความร้อนตามธรรมชาติและเกิดการเปลี่ยนสถานะจากของเหลว (Liquid) เป็นก๊าซ (Gas) จะถูกดูดกลับตามท่อส่งก๊าซที่ถูกจัดเตรียมไว้ และเข้าสู่กระบวนการผลิตพลังงานไฟฟ้าต่อไป

ระบบการผลิตแบบ EGS มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรเมื่อเทียบกับ TGE

EGS (Enhanced Geothermal Systems)

  1. ข้อดี: ขยายขอบเขตของพื้นที่ที่สามารถใช้พลังงานความร้อนได้ เนื่องจากไม่ต้องพึ่งพาแหล่งน้ำร้อนตามธรรมชาติ มีศักยภาพในการผลิตพลังงานสูง
  2. ข้อเสีย: การพัฒนา EGS อาจมีความเสี่ยงด้านแผ่นดินไหวเนื่องจากการสร้างรอยแยกในหินใต้ดิน และต้นทุนการลงทุนสูง

TGE (Traditional Geothermal Energy)

  1. ข้อดี: มีความเสถียรและเทคโนโลยีที่ใช้มีการพัฒนามาอย่างยาวนาน ต้นทุนการผลิตพลังงานต่ำกว่าการใช้ EGS
  2. ข้อเสีย: ขอบเขตของพื้นที่ที่สามารถใช้พลังงานความร้อนได้จำกัดอยู่ในพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำใต้พิภพธรรมชาติ

การผลิตพลังงานจากความร้อนใต้พิภพรูปแบบ EGS ยังอยู่ระหว่างการศึกษาผลกระทบเพิ่มเติมจากความต้องการพัฒนาระบบการผลิตรูปแบบดั้งเดิมอย่าง TGE จึงมีแค่บางประเทศเท่านั้นที่มีการนำระบบนี้ไปใช้และแบ่งปันข้อมูลเพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งกันและกัน แต่ในประเทศไทยยังไม่มีการนำระบบการผลิตแบบ EGS มาใช้ภายในประเทศเนื่องจากการก่อสร้างที่มีงบประมาณที่สูง และข้อมูลการนำไปใช้ที่ยังไม่มากเพียงพอ 

ทั้งนี้จุดประสงค์ของบทความ ‘EGS ไออุ่นจากใต้พิภพสู่อีกหนึ่งพลังงานทางเลือก’ มีความประสงค์ที่จะเพิ่มองค์ความรู้และเปิดมุมมองด้านพลังงานสะอาดให้ผู้อ่านทุกท่านได้ตระหนักถึงพัฒนาการอย่างรวดเร็วของมนุษย์ที่ต้องการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมให้กับโลกนี้

อ้างอิง : Enhanced Geothermal Systems | Department of Energy

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Pisit Poocharoen
Former field engineer seeking to break free from traditional learning frameworks. อดีตวิศวกรภาคสนามที่ต้องการหลุดออกจากกรอบการเรียนรู้แบบเดิม ๆ
Store Master - Kardex