เทคโนโลยีสวมใส่และอุปกรณ์ติดตามสำหรับ Fitness ช่วยคาดการณ์ประสิทธิภาพการทำงานได้จากการเดินทาง

Date Post
20.12.2021
Post Views

แก้ปัญหาการติดตามประสิทธิภาพการทำงานและการวัดผลสำหรับการทำงานนอกสถานที่หรือการทำงานระยะไกล ด้วยการบูรณาเทคโนโลยีสวมใส่และอุปกรณ์ติดตามสถานะที่ใช้ในการออกกำลังกาย

แม้ว่าการทำงานหลายแห่งจะกลับมาเป็นการเดินทางเข้าสู่สำนักงานแล้ว แต่ในความเป็นจริงท่ามกลางการระบาดใหญ่การทำงานทั้งหมดก็ยังไม่อาจพูดได้เต็มปากว่ากลับมาเป็นเหมือนเดิมทั้งหมด การทำงานระยะไกลหรือการทำงานนอกสถานที่ก็ยังเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นไม่ได้หายไปเสียทั้งหมด การทำงานแบบไฮบริดจึงต้องการความชัดเจนต่าง ๆ เพื่อประเมินผลงานและความก้าวหน้า

การใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีกลุ่ม Consumer เพื่อคาดการณ์คุณภาพการทำงานของแรงงานแต่ละคนในผ่านการเดินทางหรือกิจกรรมต่าง ๆ จะสามารถเสริมช่องว่างที่ขาดหายไปนี้ได้ ถึงแม้ว่าการระบาดยังคงมีอยู่ แต่การเดินทางไปมาเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือการหาทรัพยากรเพิ่มเติมก็ตาม

จากการศึกษาที่ถูกเผยแพร่ในหัวข้อ Future of Work: COVID-19 and Beyond จาก IEEE Pervasive Computing แสดงให้เห็นถึงการวิเคราะห์ข้อมูลจากอุปกรณ์ติดตามพฤติกรรมและสมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นการจับข้อมูลกายภาพและรูปแบบพฤติกรรมในระหว่างการเดินทาง ข้อมูลเหล่านี้ ได้แก่ ระดับกิจกรรมทางกายภาพ การใช้โทรศัพท์ อัตราการเต้นของหัวใจ และความเครียด นอกจากนี้ระบบยังเฝ้าจับข้อมูลปัจจัยภายนอก เช่น ตำแหน่งสถานที่ สภาพอากาศ ระยะเวลาการเดินทาง และความหลากหลายของการเดินทาง

การศึกษาโดยใช้เกณฑ์สำหรับการวัดผลประสิทธิภาพงานสองประการ อันได้แก่ พฤติกรรมการทำงานแบบถ่วงความก้าวหน้า (Counterproductive Work Behavior) และ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร (Organizational Citizenship Behavior) ชี้ให้เห็นว่าแรงงานที่มีการทำงานประสิทธิภาพสูงนั้นมีความพร้อมทางร่างกายและความทนทานต่อความเครียดที่ดีกว่า แรงงานที่ทำงานได้ประสิทธิภาพต่ำกว่านั้นแสดงให้เห็นถึงระดับความเครียดที่สูงกว่าในช่วงเวลาก่อน, หลัง และระหว่างการเดินทาง แรงงานที่มีประสิทธิภาพต่ำกว่านั้นยังพบว่ามีการใช้โทรศัพท์ระหว่างการเดินทางในอัตราที่มากกว่าอีกด้วย เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วพบว่าแรงงานที่มีประสิทธิภาพการทำงานสูงนั้นจะมีความสม่ำเสมอที่มากกว่าไม่ว่าจะเป็นเวลาที่มาทำงานหรือออกจากที่ทำงาน

จากการศึกษานักวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บมาตลอดเวลา 1 ปี ในช่วง COVID-19 แรงงานกว่า 95% ที่ขับรถถูกจัดให้เป็นกลุ่มที่มีการเดินทาง นอกจากนี้ยังมีการตรวจจับเป็นเวลา 30 นาทีก่อนและหลังเดินทางอีกด้วย

ที่มา:
Home.dartmouth.edu

เนื้อหาที่น่าสนใจ:
พลิกโฉมการเก็บข้อมูลในทุกเสี้ยววินาทีของธุรกิจด้วย IIoT และเครือข่าย 5G ที่ดีที่สุด
Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Thossathip Soonsarthorn
"Judge a man by his questions rather than his answers" Voltaire
Digitech2024