Store Master - Kardex

NECTEC ร่วมกับ SMC เปิดเวทีระดมสมอง พัฒนาเด็กอาชีวะ ด้าน Industrial IoT และ AI มุ่งสู่อุตสาหกรรม 4.0

Date Post
18.01.2024
Post Views

เปิดเวทีระดมสมอง พัฒนาเด็กอาชีวะสู่อุตสาหกรรม 4.0 อย่างเข้มข้น ปั้นวิทยาลัยต้นแบบ พร้อมสู่ Industrial IoT และ AI ตอบโจทย์อุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC

18 มกราคม 2567 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค สวทช.) ภายใต้งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) เปิดเวทีระดมสมอง พัฒนากำลังคนสู่ภาคอุตสาหกรรม 4.0 และหลักสูตร Industrial IoT และ AI ในอุตสาหกรรม 4.0 สำหรับสถาบันอาชีวศึกษา มุ่งพัฒนาวิทยาลัยต้นแบบ 6 วิทยาลัยและเครือข่าย ในพื้นที่ภาคตะวันออก(EEC) เพื่อพัฒนาเด็กอาชีวะให้ “ทำได้ ทำเป็น” ตอบโจทย์ความต้องการภาคอุตสาหกรรมอย่างตรงจุด 

คุณอุดม ลิ่วลมไพศาล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยไอโอทีและระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม เนคเทค สวทช.  กล่าวว่าสำหรับการพัฒนากำลังคนของเนคเทค สวทช. โดยศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน ในโครงการพัฒนาทักษะด้าน Industrial IoT แบบเข้มข้น สำหรับบุคลากรระดับอาชีวศึกษา ซึ่งเป็นความร่วมมือจาก 3 ภาคส่วน ได้แก่ เนคเทค สวทช., วิทยาลัยอาชีวศึกษาที่เข้าร่วมในโครงการฯ และสถานประกอบการที่เกี่ยวข้อง โดยก่อนที่มีการจัดอบรมในแต่ละหลักสูตร โครงการฯ จัดสัมมนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาและหลักสูตรในโครงการฯ ร่วมกับสถาบันอาชีวศึกษาในเขตพื้นที่ EEC และสถานประกอบการที่มีความสนใจนำเทคโนโลยีด้าน Internet of Things ไปใช้ โดยวิทยาลัยต่างๆ และสถานประกอบการมีบทบาทในการเสนอแนะแนวทางเกี่ยวกับหลักสูตร เช่น ทักษะเพิ่มเติมที่จำเป็น หรือ การประยุกต์ใช้ที่เหมาะสม ซึ่งทางโครงการฯ ได้ออกแบบหลักสูตร และพัฒนาชุดอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน เพื่อส่งให้ผู้เรียนได้ใช้ ซึ่งหลักสูตรจะมี 4 หลักสูตร ในแต่ละหลักสูตรจะคู่มือการสอน มีเอกสารและสื่อวิดิโอ พร้อมด้วยอุปกรณ์ประกอบการเรียน ได้แก่ 1) หลักสูตร IoT Fundamentals 2) หลักสูตร Advance IoT 3) หลักสูตร Basic Industrial IoT4) หลักสูตร Industrial IoT 

จากสถิติที่ผ่านมาโครงการฯ มีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องโดยในปี 2564-2566 มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้น 459 คน ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการฯ จะได้เรียนในหลักสูตร IoT Fundamentals  โดยเมื่อจบในแต่ละหลักสูตรจะมีการคัดเลือกทุกครั้ง เมื่อผ่านการอบรมในหลักสูตรสุดท้าย Industrial IoT จะมีการจัดงาน IoT Hackathon เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมขั้นสุดท้ายก่อนส่งนักศึกษาไปฝึกปฏิบัติงาน ให้สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนมาประยุกต์ใช้งานจริงในการแข่งขัน โดยในปี 2564 – 2566 มีจำนวนผู้ที่ผ่านการอบรมในทุกหลักสูตรทั้ง 3 ปี จำนวน 114 คน เข้าฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการทั้งหมด 73 แห่ง โดยส่วนใหญ่แล้วนักศึกษาจะเข้าฝึกปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งจะเป็นอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการผลิต เช่น รถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องจักร และหม้อแปลง  เมื่อนักศึกษาฝึกปฏิบัติงานจบตามหลักสูตรของแต่ละวิทยาลัย ทางโครงการฯ จะทำแบบประเมินเพื่อสอบถามไปยังสถานประกอบการถึงโอกาสการรับนักศึกษาเข้าทำงานต่อเมื่อสำเร็จการฝึกปฏิบัติงาน ตั้งแต่ปี 2564 – 2566 มีจำนวนการรับถึง 86 คน จากทั้งหมด 166 คน โดยมีอัตราการเพิ่มอยู่ที่ 20% – 30% ในทุกๆปี จากผลสำรวจการมีงานทำของผู้เข้าร่วมโครงการฯ ในปี 2564 – 2565 นั้น ผลสำเร็จผู้ที่เข้าร่วมจนจบโครงการฯ 67 คน ผู้ที่มีงานทำแล้ว 58 คน โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นอุตสาหกรรมขนาดกลาง และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ร่วมกันแล้วอยู่ที่ 81.04% ซึ่งจะเป็นอุสาหกรรมเกี่ยวกับ อุตสาหกรรมยานยนต์, อุตสาหกรรมพลาสติก และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

สำหรับโครงการฯ ในปี 2567 ถือเป็นการต่อยอดจากโครงการฯ ปี 2564 – 2566 เพื่อที่จะมุ่งพัฒนาวิทยาลัยต้นแบบที่มีความพร้อมทางด้านกำลังคน (ครู) เทคโนโลยี (อุปกรณ์) องค์ความรู้ (เครื่องมือ สื่อการสอน) ความพร้อมในการถ่ายทอดองค์ความรู้ในด้านเทคโนโลยี Internet of Things, Industrial IoT และ AI โดยนำผลผลิตที่ได้มาในปี 2564 – 2566 นั้นคือ หลักสูตรที่สามารถสร้างบุคลากรด้าน Industrial IoT ได้แก่ หลักสูตร Internet of Things และ Industrial IoT มาประยุกต์เป็นหลักสูตรในปัจจุบันที่มีสอนในวิทยาลัย โดยมีเป้าหมายเป็น 6 สาขาวิชา ได้แก่ ช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เมคคาทรอนิกส์ เทคนิคคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นสาขาวิชาที่มีความเกี่ยวข้องกับหลักสูตรดังกล่าว อีกทั้งยังได้เพิ่มความเข้มข้นของเนื้อหาหลักสูตรด้วยองค์ความรู้ทางด้าน AI ซึ่งได้ถูกผนวกการใช้งานร่วมกับ IoT จึงเกิดเป็นเทคโนโลยี AIoT (Artificial Intelligence : Internet of Things) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่สำคัญในการพัฒนา Factory 4.0

ในปี 2567 นี้มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 189 คน โดยทางโครงการฯ ได้มีการปรับเปลี่ยน และเพิ่มความเข้มข้นให้กับการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อสร้างวิทยาลัยต้นแบบจากเครือข่ายทั้งหมด โดยมีวิทยาลัยต้นแบบ จำนวน 6 วิทยาลัย ได้แก่

  1. วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ จ.ชลบุรี
  2. วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี จ.ชลบุรี
  3. วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) จ.ชลบุรี
  4. วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย จ.ระยอง
  5. วิทยาลัยเทคนิคพนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
  6. วิทยาลัยเทคโนโลยี ไออาร์พีซี จ.ระยอง

ล่าสุดเมื่อวันที่ 9 – 11 และ 16 – 17 ธันวาคม 2566 ทางโครงการฯ ได้ทำการเตรียมความพร้อมให้แก่ครูของทั้ง 6 วิทยาลัยข้างต้น มีการอบรมหลักสูตร Internet of Things และ Industrial IoT ร่วมทั้งได้มีการร่วมกันวางแผนการจัดการเรีนการสอนให้แก่นักศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการฯ ในปี 2567 โดยการอบรมหลักสูตร Fundamentals IoT และ Advanced IoT สำหรับนักศึกษาในโครงการฯ จะเริ่มในช่วงเดือนมกราคม 2567

สอบถามละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

คุณ ปิยวัฒน์ จอมสถาน (E-Mail: [email protected]โทร. 02-564-6900 ต่อ 2469)

คุณ นวลปรางค์ เฉลิมพักตร์ (E-Mail: [email protected]โทร. 02-564-6900 ต่อ 2328)

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Modern Manufacturing
  นำเสนอข่าวสารความรู้รอบด้านเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิต เพื่ออุตสาหกรรมไทยก้าวหน้าด้วยวิทยาการสมัยใหม่และเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย