Kosmo

เอนไซม์ Glucosidase ช่วยเร่งกระบวนการ Biofuel ไวขึ้น 30 เท่า

Date Post
08.08.2018
Post Views

นักวิจัยจาก Imperial College London ภาควิชา Chemical Engineering ได้ดัดแปลงเอนไซม์ Glucosidase เพื่อช่วยในการสลาย Carbohydrate ที่ซับซ้อนใน Biomass เช่น Cellulose จากเซลล์พืชให้กลายเป็น่วนประกอบพื้นฐานอย่าง Glucose ซึ่ง Glucose สามารถใช้ในการหมัก Ethanol ได้

การนำ Glucose แยกออกจาก Cellulose นั้นเป็นกระบวนการที่ใช้ต้นทุนและเวลาสูงในปัจจุบัน เพราะเอนไซม์จะหยุดทำงานเมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 70 องศาเซลเซียส และในตัวทำละลายสำหรับงานอุตสาหกรรม เช่น ของเหลวกลุ่ม Ionic ซึ่งหากเอนไซม์สามารถใช้งานได้ในสภาวะการณ์ข้างต้นกระบวนการทั้งหมดทำให้กระบวนการเพิ่มความเร็วได้กว่า 30 เท่า จึงเป็นที่มาของการพัฒนาในครั้งนี้ โดยกระบวนการดังกล่าวสามารถนำไปใช้ได้กับกระบวนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ เชื้อเพลง พลาสติก ยา และเครื่องสำอาง เป็นต้น

การดัดแปลงดังกล่าวเริ่มต้นด่วยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีทำให้ Glucosidase สามารถทนทานต่ออุณหภูมิได้กว่า 137 องศาเซลเซียส ทำให้ใช้งานในของเหลวกลุ่ม Ionic ได้ รวมถึงการใช้งานเอนไซม์เพียงตัวเดียวจากที่เคยต้องใช้ถึง 3 ตัวด้วยกัน


ที่มา:

  • Sciencedaily.com
Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Thossathip Soonsarthorn
"Judge a man by his questions rather than his answers" Voltaire