การดำเนินธุรกิจตามนโยบายควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงประเด็นของ United Nation Sustainable Development Goals (UNSDGs) ที่ส่งผลต่อการผลิต การนำเข้า และส่งออกสินค้า ทำให้ผู้ประกอบการต้องเป็นส่วนหนึ่งของ Green Supply Chain อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งการทำ Green Transformation (GX) ก็จำเป็นที่จะต้องลงทุนเทคโนโลยีในหลากหลายมิติเพื่อสร้างความยั่งยืนด้วยเช่นกัน ทำให้ประเด็นของ Green Financing เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทำธุรกิจยุคใหม่
ผลกระทบที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ El Nino, La Nina, PM2.5 หรือประเด็นของการขาดแคลนทรัพยากรนั้นเป็นเรื่องเร่งด่วนอย่างไม่ต้องสงสัย การควบคุม Carbon Footprint และนโยบายอื่น ๆ กลายเป็นกฎหมาย-ข้อบังคับที่ทั้งผู้บริโภคและภาคการผลิตไม่อาจหลีกเลี่ยงได้อีกต่อไป ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อความยั่งยืนในการทำธุรกิจนั้น นอกเหนือจากเรื่องของสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังมีมิติอื่น ๆ ที่ช่วยเสริมแรงในการเปลี่ยนแปลงอีกด้วย เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจในมิติของความยั่งยืนที่เกี่ยวกับธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการลงทุนภายใต้บริบทความท้าทายที่เกิดขึ้นเหล่านี้ คงไม่มีใครที่สามารถให้คำตอบได้ตรงประเด็นมากไปกว่า คุณสงกรานต์ จันทร์คณากร กรรมการผู้จัดการ บริษัท แฟคเตอรี แอนด์ อีควิปเมนท์ กสิกรไทย จำกัด (KASIKORN FACTORY AND EQUIPMENT COMPANY LIMITED : KF&E) ที่จะชี้ให้เห็นถึงตัวแปร แนวโน้ม และโอกาสใหม่ ๆ ผ่านมุมมองของ Green Financing
‘ความไม่แน่นอน’ ปัจจัยที่ถาโถมเข้ามาในปี 2568
แม้จะเพิ่งผ่านช่วงไตรมาสแรกของปี 2568 มาไม่นาน แต่หลาย ๆ ท่านคงได้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจและการลงทุนที่ส่งผลต่อประเทศไทยกันมาไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Geopolitics ที่ชวนปวดหัว ไปจนถึงเรื่องของสถานการณ์ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ที่เผยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนในการทำธุรกิจที่ต้องเตรียมตัวรับมือกันเอาไว้ให้ดี
“เนื่องจากปี 2568 จะยังคงเป็นปีที่ปั่นป่วนสำหรับภาคธุรกิจ จากปัจจัยกดดันทั้งในและต่างประเทศ โดยสถานการณ์อุตสาหกรรมไทยคงจะไม่ดีขึ้นได้มากนักจากแรงกดดันในต่างประเทศ ทั้งจากการชะลอตัวของประเทศเศรษฐกิจหลักในโลก ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ จีน และสหภาพยุโรป ความขัดแย้งในพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งภูมิภาคตะวันออกกลาง และสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่หากขยายวงไปมาก กังวลว่าจะกระทบต่อต้นทุนการขนส่ง ราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ (พลังงาน วัตถุดิบ อัตราแลกเปลี่ยน) ซึ่งมีแนวโน้มผันผวนมากขึ้น และเมื่อรวมกับผลของสงครามการค้ารอบใหม่ภายใต้ประธานาธิบดีทรัมป์จะมีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อ การค้าและการลงทุนของอุตสาหกรรมไทยที่ต้องติดตามรายละเอียดเพื่อประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด” คุณสงกรานต์เปิดประเด็นในการพูดคุยด้วยเรื่องของ Geopolitics ที่วันนี้เราอาจเรียกได้ว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และเพิ่มแรงกดดันให้ภาคธุรกิจแทบจะรายวัน
“นอกจากปัจจัยของ Geopolitics แล้ว ยังมีแรงกดดันจากปัจจัยภายในประเทศ ได้แก่ มาตรการภาครัฐจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเฉลี่ย 2.9% ทั่วประเทศ (จาก 345 บาท/วัน เป็น 355 บาท/วัน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2568) ซึ่งมองว่าการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะทำให้ต้นทุนธุรกิจเพิ่มขึ้น และอาจกระทบมาร์จิ้นธุรกิจให้ลดลง โดยเฉพาะในธุรกิจที่ใช้แรงงานทักษะน้อยในสัดส่วนสูง ได้แก่ การเกษตร ก่อสร้าง ที่พักแรมและร้านอาหาร ค้าปลีก รวมถึงภาคการผลิต” คุณสงกรานต์ได้คาดการณ์เพิ่มเติมสำหรับแนวโน้มของธุรกิจในประเทศว่าการลงทุนภาคเอกชนคาดว่าน่าจะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับการหดตัวที่เกิดขึ้นในปี 2567 สอดคล้องกับมูลค่าโครงการลงทุนจากต่างประเทศที่ได้รับการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ในอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์
ภายใต้ความท้าทายที่ถาโถมทั้งเรื่องของความยั่งยืน, Geopolitics และปัญหามลภาวะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น คุณสงกรานต์ได้ชี้ให้เห็นถึงโอกาสที่เกิดขึ้นแล้ว และมีแนวโน้มที่จะเอื้อให้เกิดการแข่งขันที่มีศักยภาพเอาไว้ดังนี้ “ผลจากการสนับสนุนของ BOI คาดว่าจะช่วยหนุนเม็ดเงินลงทุนในวัสดุอุปกรณ์ (Equipment) ให้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศในประเทศไทย ส่วนหนึ่งเกิดจากการย้ายการผลิตของจีนหลังจากการเกิดสงครามการค้ารอบแรก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงมาตรการภาครัฐที่ช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมยานยนต์ส่งผลต่อการไหลเข้ามาของเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า (EV) นอกจากนี้ คาดว่าจะมีการลงทุนในศูนย์ข้อมูล (Data Center) เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของ Data Center ทั่วโลก และยังมีปัจจัยบวกอื่น ๆ อีก”
ปัจจัยที่น่าจับตาเพิ่มเติม
1. การใช้จ่ายภาครัฐที่เร่งขึ้น ตามการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 โดยกรอบงบลงทุนภาครัฐในปี 2568 เพิ่มขึ้น 7.8% และงบลงทุนรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นราว 2.0% จากปีก่อนหน้า ในขณะที่คาดว่าอัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนสำหรับปีงบประมาณ 2568 จะอยู่ที่ 75-80% สูงกว่า 65% ในปี 2567 เพื่อช่วยสนับสนุนโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
2. การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยลงเหลือที่ระดับ 2.0% สำหรับไตรมาสแรกของปี 2568 จาก กนง. เพื่อบรรเทาความตึงตัวของภาวะทางการเงิน และสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
ESG เครื่องมือสำคัญในการสร้างความยั่งยืนในยุคแห่งความไม่แน่นอน
เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอน การสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจจึงเป็นกระบวนการที่ผู้บริหารและเจ้าของธุรกิจต้องพิจารณาให้รอบด้าน ครบมิติ ซึ่งการเลือกใช้เครื่องมือหรือนโยบายที่สอดคล้องกับความท้าทายอย่าง ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่จะช่วยให้สามารถทำความเข้าใจเงื่อนไขและเอาชนะความท้าทายที่เกิดขึ้นได้
“เนื่องจากภาคธุรกิจเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงโลกได้อย่างมหาศาล โดยเฉพาะภาคการผลิตที่มีการใช้ทรัพยากรและปลดปล่อยมลภาวะจำนวนมาก การแสดงความรับผิดชอบและสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจด้วยการใช้ ESG เพื่อสร้างโอกาสสู่การเติบโตในระยะยาวอย่างยั่งยืนเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้น เราสามารถมองเห็นภาพในอนาคตได้อย่างชัดเจนว่า ESG จะกลายเป็นกติกาโลกในการทำธุรกิจในหลายประเทศ รวมถึงมาตรฐานและข้อบังคับในการดำเนินงาน ซึ่งในปัจจุบันผู้บริโภคเองก็เริ่มตระหนักถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและตัดสินใจซื้อสินค้าจากองค์กรที่ให้ความสำคัญในเรื่อง ESG มากขึ้น ซึ่งจะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับผู้ประกอบการในมิติต่าง ๆ” จะเห็นได้ว่าคุณสงกรานต์กล่าวย้ำถึงเรื่องของการเปลี่ยนแปลงของภาคธุรกิจที่เชื่อมโยงกับ ESG ที่จะช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจและเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้นได้
ประโยชน์ 4 ประการในการประยุกต์ใช้ ESG กับธุรกิจเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับการผลิต
หากพูดถึงผลลัพธ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ความยั่งยืน จะพบว่ามีมิติและตัวชี้วัดที่หลากหลาย แต่หากพิจารณาบนพื้นฐานแนวคิดของ ESG สำหรับธุรกิจการผลิตผ่านมุมมองของคุณสงกรานต์ จะพบว่าประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจการผลิตสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเด็น ดังนี้
- เพิ่มความสามารถในการดึงดูดนักลงทุนที่มีศักยภาพ การนำเอาแนวคิด ESG มาปรับใช้จะช่วยสร้างภาพลักษณ์อันดี และเพิ่มความมั่นใจให้กับนักลงทุน เนื่องจากการลงทุนในองค์กรที่นำ ESG มาปรับใช้ถือเป็นการลงทุนในระยะยาวที่ปลอดภัยและมีเสถียรภาพกว่า นอกจากจะลดโอกาสของการโดนปรับและควบคุมจากรัฐบาลแล้วยังมีโอกาสที่จะได้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่มีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต
- ลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย จากการผนวก ESG และแนวทางการบริหารจัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเข้ามาใช้ในบริษัทยังมีผลดีต่อองค์กรในแง่ของการลดค่าใช้จ่ายบางส่วนลงได้ อาทิ การรณรงค์ให้บุคลากรประหยัดพลังงานด้วยการลดใช้น้ำ-ไฟ ลดการใช้กระดาษ และทดแทนด้วยเทคโนโลยีจัดการเอกสาร DMS
- เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ จากการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีต่าง ๆ จากภาครัฐ หรือการจัดซื้อจัดจ้างจากภาครัฐ และลดการถูกกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงตลาดใหม่ ๆ จากพฤติกรรมลูกค้าปัจจุบันที่เริ่มให้ความสำคัญกับสินค้าและบริการจากบริษัทที่ให้ความสำคัญในเรื่อง ESG มากขึ้น
- เพิ่มเสถียรภาพองค์กร แนวคิด ESG ผลักดันให้องค์กรมุ่งเน้นการจัดการที่มีคุณภาพและโปร่งใส โดยเฉพาะประเด็นสิทธิแรงงานและความเท่าเทียม การที่องค์กรให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นมิตรต่อพนักงาน และมีสวัสดิการดูแลพนักงาน ถือเป็นวิธีสร้างความภักดีให้กับบุคลากรในองค์กร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของพนักงาน ตลอดจนช่วยลดอัตราการเกิดทุจริต ฉ้อโกงภายในองค์กรได้อีกด้วย
Tips
เมื่อการดำเนินการด้าน ESG ที่สร้างความยั่งยืนนั้นสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจแล้ว การที่องค์กรหรือโรงงานไม่ใส่ใจในเรื่องของ ESG เองก็สามารถสร้างผลกระทบเชิงลบได้เช่นกัน อาทิเสียความได้เปรียบในการเตรียมรับมือกับความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ที่กำลังมาถึงเสียโอกาสในการลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพให้ห่วงโซ่อุปทานถูกกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศเสียโอกาสในการเสริมสร้างชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของแบรนด์แก่ลูกค้าเสียโอกาสในการสร้างความเชื่อมั่นจากนักลงทุน
Green Financing จาก KF&E กับการขับเคลื่อนภาคการผลิตไทยสู่ความยั่งยืน
แน่นอนว่าในเรื่องของการทำ GX หรือการทำ Transformation ต่าง ๆ จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เคยมีมา เรียกได้ว่าต้องมีการลงทุนเพื่อยกระดับศักยภาพของเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับความท้าทายที่ต้องเผชิญ ซึ่งในที่นี้ คือ ‘ความยั่งยืน’ ผ่านแนวคิด ESG ทำให้เรื่องของ Green Financing กลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ผู้ประกอบการและนักลงทุนมักจะนำมาร่วมพิจารณา
Green Financing คืออะไร?
United Nation Environment Programme (UNEP) ได้ให้นิยามของ Green Financing เอาไว้ว่าเป็นการจัดสรรเงินทุนเพื่อวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม ที่สามารถเพิ่มระดับการไหลเวียนของเงินทุนจากภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนภาคส่วนที่ไม่แสวงผลกำไร ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ส่วนสำคัญของ Green Financing จะเป็นการช่วยให้สามารถบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและความเสี่ยงด้านสังคมได้ดียิ่งขึ้น ผลักดันให้เกิดโอกาสในการสร้างผลตอบแทนทางธุรกิจที่ดียิ่งขึ้นควบคู่ไปกับผลประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม สะท้อนให้เห็นถึงความรับผิดชอบในการทำธุรกิจที่มีความใส่ใจอย่างแท้จริง
“เนื่องจากผู้ประกอบการที่มุ่งเน้นในการสร้างธุรกิจอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงกระบวนการดำเนินธุรกิจ เพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุดตามแนวทางที่บริษัทชั้นนำต่าง ๆ ได้เพิ่มการดำเนินการ ดังนั้น Green Financing จึงเป็นทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการลงทุนในเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีที่สามารถลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่ยังไม่มีความพร้อมด้านการเงินให้มีแหล่งเงินทุน และสามารถสร้างธุรกิจอย่างยั่งยืนได้” คุณสงกรานต์ได้เน้นย้ำเพิ่มเติมถึงประเด็นของ Green Financing ที่ไม่ใช่เรื่องของการเงินหรือการลงทุนเพียงเท่านั้น แต่ยังกล่าวรวมถึงเรื่องของการประเมินความยั่งยืนขององค์กร หากธุรกิจต้องการการเติบโตที่สอดคล้องกับแนวทางของตลาดหลักทรัพย์อีกด้วย
KF&E สนับสนุนผู้ประกอบการสู่การทำธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วยบริการ Green Financing
หนึ่งในกรณีศึกษาที่น่าสนใจจาก ‘Sustainable growth unveiled: exploring the nexus of green finance and high-quality economic development in China’ พบว่าข้อมูลจากการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างใน 30 มณฑลของประเทศจีนระหว่างปี 2012-2021 มีการบ่งชี้ถึงการพัฒนาเศรษฐกิจคุณภาพสูง (HQED) นั้นมีความเชื่อมโยงกับ Green Financing ผ่านมุมมองของทั้ง FinTech และเทคโนโลยีสีเขียวต่าง ๆ ทำให้เกิดการเติบโตของเศรษฐกิจได้จริง ซึ่ง KF&E ภายใต้การดูแลของธนาคารกสิกรไทยเองก็มีบริการ Green Financing ที่ถูกออกแบบมาเพื่อโรงงานและภาคอุตสาหกรรมเช่นกัน
KF&E นั้นเป็นสถาบันการเงินที่ให้การสนับสนุนสินเชื่อเครื่องจักร ยานพาหนะ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ครอบคลุมเครื่องจักรเกือบทุกประเภท รวมถึงมีบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ เกี่ยวกับการให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อ/ลีสซิ่งเครื่องจักร และสามารถให้คำปรึกษาในด้านต่าง ๆ ให้กับผู้ประกอบการได้ (อาทิ ในเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษี การบันทึกบัญชีที่ถูกต้อง) ทำให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการในการลงทุนในการเป็นแหล่งเงินทุนให้กับธุรกิจ ความต้องการในด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษี รวมถึงเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจของภาคธุรกิจให้เกิดความยั่งยืนได้เป็นอย่างดี
หนึ่งในจุดเด่นสำคัญของบริการจาก KF&E ที่เป็นพื้นฐานอันแตกต่างจากบริการด้านการเงินรายอื่น ๆ คือ ความเชี่ยวชาญและความเข้าใจในรูปแบบการทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรและภาคธุรกิจ จึงเป็นการออกแบบบริการทางการเงินที่เป็นโซลูชั่นครบวงจร เข้าใจถึงเงื่อนไขความต้องการของธุรกิจที่แตกต่างกันออกไป อาทิ ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางนั้นให้ความสำคัญกับดอกเบี้ยที่ต่ำเพื่อคอยรักษาเงินหมุนเวียนในระบบ ในขณะที่ธุรกิจขนาดใหญ่เลือกใช้ลีสซิ่งเนื่องจากมีได้ผลประโยชน์ในด้านการลดหย่อนภาษีได้ (Tax Benefit) เป็นต้น ซึ่งรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรณีตัวอย่างการใช้บริการ KF&E สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ ‘KF&E แหล่งเงินทุนทางเลือกใหม่ที่ยืดหยุ่นและเข้าถึง ‘หัวใจ’ นักธุรกิจเพื่อโมเดลธุรกิจแบบลงทุนเครื่องจักร ซื้อเครื่องมือ ปล่อยเช่า เช่าซื้อ’
ความน่าเชื่อถือของ KF&E นั้นนอกจากจะมาจากความเชี่ยวชาญด้านบริการทางการเงินสำหรับเครื่องจักรแล้ว ยังมีฐานรากที่ฝังแน่นจากบริษัทแม่อย่างธนาคารกสิกรไทยที่ผู้ประกอบการต่างให้ความไว้เนื้อเชื่อใจกันมาอย่างยาวนาน โดยคุณสงกรานต์ได้กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวเอาไว้ ดังนี้ “สำหรับธนาคารกสิกรไทย เรามีความมุ่งมั่นในด้านการเป็นผู้นำด้าน ESG ของกลุ่มธนาคารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยธนาคารได้รับรางวัลความยั่งยืน S&P Global Sustainability Award ด้วยคะแนน S&P Global ESG Score ที่ระดับสูงสุด 5% ในกลุ่มธนาคาร เข้าเป็นสมาชิกดัชนีชี้วัดความยั่งยืน Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) ประจำปี 2566 ทั้งในระดับโลกและกลุ่มตลาดเกิดใหม่เป็นปีที่ 8 ติดต่อกัน จากการประเมินผลโดย S&P บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อระดับโลก ซึ่งพิจารณาการจัดการที่ยั่งยืนขององค์กรทั้งในมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล/เศรษฐกิจ”
สำหรับผู้ประกอบการหรือนักลงทุนที่กำลังต้องการทำ GX หรือดำเนินการลงทุนตามนโยบาย ESG พลาดไม่ได้กับบริการด้านการเงิน Green Financing จาก KF&E ที่จะช่วยผู้ประกอบการให้สามารถเปลี่ยนแปลงสู่ธุรกิจที่มีความยั่งยืนนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จริง จึงสร้างโอกาสและเอาชนะความท้าทายภายใต้บริบทของการแข่งขันในยุคปัจจุบันให้เกิดการเติบโตได้อย่างมั่นคง
สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
Kasikorn Factory and Equipment (KF&E)
โทรศัพท์: 02-290-2900 กด 8
Website: www.kasikornfactory-equipment.com
สมัครสินเชื่อ : https://www.mmthailand.com/kfe-industry-leasing/