ไฮโดรเจนจากเศษไม้ แหล่งพลังงานหมุนเวียนใหม่ใกล้ตัว

Date Post
10.05.2022
Post Views

จะดีแค่ไหน หากมีกระบวนการที่สามารถนำเศษไม้ที่เหลือจากการผลิตต่าง ๆ มาแปรรูปเป็นพลังงานหมุนเวียนให้โลกเราได้ แทนการกำจัดทิ้งไป

จากโครงการร่วมระหว่าง “H2Wood – BlackForest” สมาคม Fraunhofer IGB ได้เริ่มพัฒนากระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพใหม่ เพื่อผลิตไฮโดรเจนและสสารต่าง ๆ จากชีวภาพของเศษไม้ ซึ่งมีจุดประสงค์หลักในการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม

ไม้ ถือเป็นสินค้าที่สำคัญที่สุดในป่าดำ (Black Forest) จากประเทศเยอรมนี ในขั้นตอนของการผลิตเฟอร์นิเจอร์ การก่อสร้างหรือทุบทำลายนั้น ก่อให้เกิดเศษไม้มากมายขึ้นในภูมิภาค ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการกำจัด หรือถูกนำมาใช้เป็นพลังงานในโรงเผาไม้หากจำเป็น ซึ่งทั้งหมดนี้จะเปลี่ยนไปในไม่ช้า ในโครงการร่วม “H2Wood – BlackForest” ได้มีการพัฒนากระบวนการเทคโนโลยีชีวภาพที่ผลิตไฮโดรเจนและผลิตภัณฑ์ชีวภาพจากเศษไม้ขึ้นมา

ขั้นตอนการผลิตไบโอไฮโดรเจน

ในปัจจุบันยังไม่มีพืชที่สามารถผลิตไบโอไฮโดรเจนได้ในปริมาณมากเกิดขึ้น ทำให้วิธีการผลิตกำลังถูกพัฒนาและทดสอบขึ้นที่สถาบัน Fraunhofer IGB ก่อนระบบจะถูกนำมาใช้ในวิทยาเขต Black Forest ใน Freudenstadt การเตรียมพร้อมสำหรับขั้นตอนการแปลงเทคโนโลยีชีวภาพนั้น เริ่มจากการเตรียมไม้เก่าและไม้ที่เหลือมาทำการแยกส่วนประกอบประเภทกาว เรซิน ฟีนอล และแล็คเกอร์ออก จากนั้นไม้จะถูกแบ่งออกเป็นหน่วย ทำให้เกิดเซลลูโลสขึ้นและแตกออกมาเป็นโมเลกุลน้ำตาล จากนั้นงานของแบคทีเรียและสาหร่ายขนาดเล็ก (Microalgae) ก็จะเริ่มต้นขึ้น แบคทีเรียและสาหร่ายขนาดเล็กเหล่านี้ก็คือส่วนสำคัญในการผลิตไฮโดรเจนนั่นเอง

กระบวนการหมักที่ถูกใช้เพื่อทำการแปลงเทคโนโลยีชีวภาพของน้ำตาลจากไม้นั้น อาศัยแบคทีเรียที่ผลิตไฮโดรเจนจากการเผาผลาญน้ำตาลเป็น คาร์บอนไดออกไซด์ กรดอินทรีย์และเอทานอล ซึ่งจะกลายมาเป็นเป็นอาหารของสาหร่ายขนาดเล็กที่ทำการปล่อยสารไฮโดรเจนออกมาด้วยอีกทางหนึ่ง

Hydrogen Roadmap เพื่อการใช้งานในภูมิภาครอบป่าดำ

เพื่อแสดงให้เห็นว่าบริษัทท้องถิ่นและบริษัทซัพพลายเออร์พลังงานในพื้นที่จะสามารถใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนที่ผลิตขึ้นได้อย่างไรนั้น ทางสถาบัน Fraunhofer IPA และมหาวิทยาลัยสตุตการ์ต (University of Stuttgart) ได้สร้าง Roadmap ไฮโดรเจนสำหรับภูมิภาครอบ ๆ ป่าดำ เริ่มด้วยการวิเคราะห์ปริมานไฮโดรเจนที่ถูกใช้ในภูมิภาคนี้ รวมถึงการหาวิธีจัดเก็บ ขนส่ง และใช้งานไฮโดรเจนที่ผลิตขึ้น

กระบวนการสร้างไฮโดรเจนจากเศษไม้นี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผลิตพลังงาน และการกำจัดชิ้นส่วนไม้ลง ซึ่งจะสามารถสร้างพลังงานและเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อมขึ้นได้ ถือเป็นอีกหนึ่งในจุดเริ่มต้นของการช่วยกันลดปริมาณของเหลือจากการผลิตและการแปรรูปลง เป็นอีกหนึ่งก้าวที่จะช่วยให้โลกของเราเข้าใกล้การใช้พลังงานสะอาดได้อย่างเต็มรูปแบบและยั่งยืนครับ

ข้อมูลเพิ่มเติม : Fraunhofer Institute for Interfacial Engineering and Biotechnology IGB

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Jirapat R.
A Content Creator with multiple interests and a fitness enthusiastic.