นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Wisconsin-Madison ได้แสดงวิธีในการปรับใช้เทคโนโลยีเซลล์พลังงานเชื้อเพลิงจากไฮโดรเจนซึ่งมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในยานยนต์ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์พกพาและโทรศัพท์มือถือเพื่อการสร้างยารักษาโรค
ในอุตสาหกรรมเคมีนั้นมีการใช้พลังงานจำนวนมหาศาลทำให้เกิดความพยายามในการผลักดันการลดคาร์บอนในอุตสาหกรรมนี้อย่างต่อเนื่อง โดยพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนสามารถให้พลังงานในการสร้างสารเคมีด้วย Carbon Footprint ที่ต่ำกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างมาก
ในกระบวนการทั่วไปนั้นมีการใช้โลหะ Zinc เป็นวัตถุดิบสำหรับอิเล็กตรอน แต่การจัดการกับ Zinc นั้นมีความซับซ้อนทั้งยังทำให้เกิดของเสียที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย นักวิจัยจาก UW-Madison ที่ประกอบไปด้วยนักเคมีและวิศวกรที่ค้นหาวิธีที่ยั่งยืนในการผลิตส่วนประกอบที่จำเป็นในการสร้างยา
นักวิจัยได้รับแรงบันดาลใจจากเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนซึ่งใช้ก๊าซไฮโดรเจนในฐานะวัตถุดิบสำหรับอิเล็กตรอนเพื่อสร้างไฟฟ้า ซึ่งทีมวิจัยพบว่าเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงนั้นสามารถดัดแปลงเพื่อสร้างสารเคมีได้นอกจากกระแสไฟฟ้าอีกด้วย
ก๊าซไฮโดรเจนนั้นต้องบอกว่าเป็นตัวเลือกในอุดมคติสำหรับหลากหลายกิจกรรม เพราะสามารถสร้างกระแสไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนได้และสร้างชยะเพียงเล็กน้อยเท่านั้น การพัฒนาพลังงานที่มีพื้นฐานจากไฮโดรเจนของอุตสาหกรรมยาจะเป็นการสอดคล้องกับแนวคิดด้าน Hydrogen Economy หรือเศรษฐกิจไฮโดรเจนด้วย
ทีมวิจัยได้พัฒนาระบบที่ใช้ส่วนผสมอินทรีย์ที่เรียกว่า Quinone เพื่อดึงอิเล็กตรอนจากไฮโดรเจน ซึ่งเปนกระบวนการสำคัญในการทำให้เกิดน้ำ เซลล์เชื้อเพลิงั้นต้องการน้ำเพื่อให้ทำงานได้ แต่น้ำเองก็รบกวนขั้นตอนในการสร้างส่วนผสมของยาเช่นกัน ทำให้ระบบใช้ไฟฟ้าเพื่อ Supercharge อิเล็กตรอนเพื่อให้พลังงานที่มากกว่าไฮโดรเจนทำได้ปกติ
ที่มา:
news.wisc.edu