Store Master - Kardex

Industrial Documentary: อังกฤษ อรุณรุ่งแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม

Date Post
03.05.2019
Post Views

ทุกวันนี้คำว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรือ Industry 4.0 เป็นคำที่ได้พบเห็นบ่อยครั้ง แต่ก่อนที่จะเกิดครั้งที่ 4 ขึ้นได้นั้นมีความเป็นมาอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 นั้นเป็นอย่างไรและเกิดขึ้นที่ไหน Modern Manufacturing นำทุกท่านไปรู้จักกับต้นกำเนิดของการปฏิวัติอุตสาหกรรมซึ่งเริ่มต้นในประเทศอังกฤษช่วงศตวรรษที่ 18 กันครับ

อะไรคือ ‘การปฏิวัติอุตสาหกรรม’ ?

การปฏิวัติอุตสาหกรรม หรือ Industrial Revolution หมายถึง การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อย่างรวดเร็วเริ่มต้นขึ้นในอังกฤษช่วงศตวรรษที่ 18 และ 19 ซึ่งส่งผลกระทบทั้งทางด้านสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกเป็นผลจากการใช้เครื่องจักรไอน้ำเข้ามาช่วยในการผลิต การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 เป็นผลจากการมีกระแสไฟฟ้าใช้ การเกิดขึ้นของระบบสายพานการผลิตเป็นผลให้เกิดการผลิตจำนวนมาก (Mass Production) การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 เป็นผลจากการใช้คอมพิวเตอร์และระบบออโตเมชันในการผลิต และการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เป็นผลจากระบบ Cyber Physical หรือระบบไซเบอร์-กายภาพ โดยมีเทคโนโลยีด้านระบบเครือข่ายเป็นส่วนประกอบสำคัญ

เหตุใดอังกฤษจึงเป็นชาติแรกที่เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม?

การปฏิวัติอุตสาหกรรม คือจุดเริ่มต้นของความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากรของอังกฤษในการก่อให้เกิดเชื้อไฟแห่งการปฏิวัติครั้งนี้ เมื่อพลังงานเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการใช้ชีวิตไม่ว่าจะเป็นการหุงหาอาหารหรือการทำงานต่างๆ เช่น การตีเหล็ก ไม้จึงเป็นแหล่งเชื้อเพลิงยอดนิยมอันดับแรกนับตั้งแต่อดีตกาล แต่การตัดไม้และการขนส่งจากระยะทางที่ไกลทำให้มีราคาสูงทำให้ผู้คนเริ่มค้นหาวัตถุดิบเชื้อเพลิงใหม่ ซึ่งถ่านหินกลายเป็นคำตอบที่เหมาะสมเนื่องจากอังกฤษสามารถทำเหมืองขุดเจาะได้ง่าย แต่ยังมีปัญหาที่เกิดขึ้น คือ การขุดเหมืองยิ่งขุดลึกเท่าไหร่ยิ่งทำให้น้ำท่วมได้ง่ายทำให้ Thomas Newcoman ได้คิดค้นเครื่องสูบน้ำออกจากเหมืองโดยใช้ไอน้ำแก้ปัญหาน้ำท่วมได้และส่งผลให้เกิดแหล่งเชื้อเพลิงราคาถูกขึ้น

นอกจากนี้ในยุคดังกล่าวแนวคิดทางวิทยาศาสตร์มักถูกปิดกั้นจากโบสถ์ในยุโรป แต่ไม่ใช่ในอังกฤษที่ซึ่งสามารถค้นคว้า ตั้งคำถามและหาคำตอบได้ ส่งผลให้อังกฤษเป็นแหล่งความรู้และก่อเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ สนับสนุนให้เกิดสังคมของเหล่านักวิทยาศาสตร์ที่แลกเปลี่ยนและคิดค้นสิ่งใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนี้เกี่ยวพันกับความก้าวหน้าในเรื่องอื่นๆ ด้วย เช่น ความก้าวหน้าทางระบบการเงินที่ทำให้ผู้คนกล้าลงทุน การเพิ่มจำนวนของประชากร การเดินทางถือเป็นอีกส่วนหนึ่งสำคัญ โดยเฉพาะถนนหนทาง แม่น้ำ คลอง ที่ช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางและค่าใช้จ่ายสำหรับการขนส่ง เมื่อรวมความรู้เข้ากับแหล่งทรัพยากรราคาถูกทำให้เกิดความสามารถในการลงทุนพัฒนาสิ่งต่างๆ ขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นได้อย่างไร?

จากการขยายตัวของจำนวนประชากรส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจเสื้อผ้าซึ่งเป็นการผลิตด้วยมือ เมื่อดีมานด์สูงขึ้นแต่ความสามารถในการผลิตเท่าเดิม การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญจึงเกิดขึ้นโดยเริ่มต้นที่ธุรกิจสิ่งทอก่อน เช่น การคิดค้นเครื่องทอผ้า Spinning Jenny ซึ่งเป็น

การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมโลหะถือเป็นส่วนสำคัญ ด้วยการใช้งานโลหะในกลุ่มการเกษตรที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้การผลิตชิ้นส่วนโลหะมีความก้าวหน้าขึ้นทำให้สามารถผลิตโลหะที่มีคุณภาพและความทนทานเพิ่มสูงขึ้น คุณภาพของโลหะนี้ส่งผลต่อมายังการพัฒนาเครื่องจักรไอน้ำซึ่งภายหลังการคิดค้นของ Newcomen แล้ว James Watt ได้พัฒนาระบบลูกสูบในกระบอกเพื่อทำให้เกิดแรงดันที่มากขึ้น เป็นการยกระดับเครื่องจักรไอน้ำเดิม

การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตของอุตสาหกรรมสิ่งทอ ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรและความก้าวหน้าเทคโนโลยีเครื่องจักรไอน้ำสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ภาคการเมืองของอังกฤษในช่วงเวลานั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งราชวงศ์อังกฤษที่เห็นความสำคัญ ความมั่งคั่ง และผลกระทบที่เกิดจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้เกิดความก้าวหน้าและการพัฒนาอย่างรวดเร็ว

ผลกระทบของการปฏิวัติอุตสาหกรรมคือ

เครื่องจักรไอน้ำส่งผลต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอโดยตรง โดยแรกเริ่มโรงงานจำเป็นต้องตั้งอยู่ริมแม่น้ำเพื่อให้สามารถใช้งานเครื่องจักรได้จนกระทั่งมีการพัฒนาระบบ ‘โรตารี่(Rotary)’ ขึ้นมาทำให้การใช้งานเครื่องจักรไอน้ำไม่จำเป็นต้องตั้งอยู่ริมแม่น้ำอีกต่อไป

การมาถึงของเครื่องจักรไอน้ำนั้นส่งผลกระทบในวงกว้างของสังคมนอกเหนือจากงานอุตสาหกรรม ในด้านการขนส่งนั้นระบบขนส่งทางรางซึ่งแต่เดิมใช้ม้าลากไปบนรางเหล็กได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นการใช้งานหัวรถจักรไอน้ำเข้ามาแทนที่ซึ่งต่อมาได้รับความนิยมและระบบรางได้แพร่กระจายไปทั่วประเทศ

การมาถึงของการปฏิวัติอุตสาหกรรมส่งผลให้เกิดระบบทุนนิยมแบบตลาดเสรีขึ้นทำให้การค้าขายคึกคักและเกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็ว การปฏิวัติอุตสาหกรรมยังก่อให้เกิดชนชั้นใหม่ขึ้นในสังคม ‘ชนชั้นแรงงาน’ ส่งผลต่อความแตกต่างระหว่างชนชั้นที่มากขึ้น ความแตกต่างที่เพิ่มขึ้นซึ่งได้รับการสนับสนุนจากตลาดเสรีทำให้เกิดแนวคิดการต่อต้านชนชั้นและยกย่องเหล่าแรงงานขึ้นมา โดยมีบุคคลสำคัญสำหรับแนวคิดนี้ คือ Karl Marx

การล่าอาณานิคมนั้นเป็นผลจากการเติบโตและพัฒนาของการปฏิวัติอุตสาหกรรมเช่นกัน เนื่องจากความต้องการในการเปิดตลาดการค้าและการค้นหาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นรวมทั้งการหาทาสมาเพื่อเป็นแรงงานในการทำงาน โดยประเทศใต้อาณานิคมจะถูกครอบงำทั้งทางด้านภาษา วัฒนธรรม ศาสนา เพื่อให้กลายเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าอีกทางหนึ่ง

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกคือการเปลี่ยนแปลงโลกครั้งใหญ่นอกเหนือจากความสำเร็จทางด้านอุตสาหกรรม แต่ความเป็นอยู่ วิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรมรวมถึงระบบเศรษฐกิจได้เปลี่ยนแปลงไปตลอดกาลโดยมีรากฐานจากการปฏิวัติครั้งนี้ ไม่ว่าดีหรือร้ายอย่างไร การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 ได้ก่อร่างสร้างโครงให้กับโลกยุคปัจจุบันฝังรากลึกลงไปและแตกหน่อออกเป็นความก้าวหน้าต่างๆ มากมาย


อ้างอิง:

  • http://www.mwit.ac.th/~daramas/In_Revarution.pdf
  • http://www.sahistory.org.za/article/timeline-events-and-inventions-during-industrial-revolution
  • https://webs.bcp.org/sites/vcleary/ModernWorldHistoryTextbook/IndustrialRevolution/IRbegins.html
Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Thossathip Soonsarthorn
"Judge a man by his questions rather than his answers" Voltaire