ถอดการเรียนรู้สู่การเป็นเบอร์ 1 ด้านหุ่นยนต์และนวัตกรรมของเยอรมนี

ส่องเส้นทางสู่ความเป็นเลิศด้านหุ่นยนต์ของเยอรมนี

Date Post
25.11.2024
Post Views

เมื่อพูดถึงนวัตกรรมและมาตรฐานแห่งอนาคตอย่างหุ่นยนต์น้ัน เยอรมนีจะเป็นหนึ่งในประเทศที่ผู้เชี่ยวชาญในปัจจุบันและยุคก่อนหน้ามักจะนึกถึง แต่ถ้าหากเป็นคนรุ่นใหม่แล้วล่ะก็ตัวเลือกในการมองเห็นอาจจะถูกกระจายออกเป็นทั้งญี่ปุ่น เกาหลีใต้ หรือไต้หวันก็เป็นไปได้เช่นกัน แล้วจะเยอรมนีจะทำอย่างไรเพื่อที่จะช่วงชิงภาพจำกลับมาได้ในตลาดของยุคใหม่อีกครั้ง?

ปัจจุบันมีการติดตั้งหุ่นยนต์เพิ่มขึ้นทั่วโลกในเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยรายงาน World Robotics Report โดย IFR ได้แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ ซึ่งเยอรมนีนั้นติดลำดับบนของรายชื่อตั้งแต่ปี 2017 IFR พบว่าความเข้มข้นของการใช้หุ่นยนต์เพิ่มขึ้นทุกปีประมาณ 5% อย่างมั่นคง เรียกว่าอยู่แถวหน้าของยุโรปก็ไม่ผิดนักด้วยอัตราส่วนหุ่นยนต์ 415 ตัวต่อแรงงาน 1 หมื่นคน เรียกว่าก้าวนำหน้าสหรัฐอเมริกาและจีน การใช้งานระบบอัตโนมัติที่มีหุ่นยนต์เป็นพื้นฐานจะกายเป็นเครื่องมือสำคัญในการประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในอนาคต สืบเนื่องจากการขาดแคลนแรงงานทักษะ ทำให้หุ่นยนต์สามารถลดภาระงานและสนับสนุนแรงงานได้ในการทำงานทุกวันที่เกิดขึ้น

‘หุ่นยนต์’ เครื่องมือเอาชนะความท้าทายในการผลิตยุคใหม่การพัฒนา

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุด คือ อุตสาหกรรมยานยนต์ ในการผลิตอัตโนมัตินั้นบริษัทเยอรมันเป็นผู้เล่นที่อยู่แถวหน้าในการค้นพบสิ่งใหม่ๆ มาอย่างยาวนาน แต่ด้วยความก้าวหน้าด้านเทคนิคและการขยายตัวของโลกาภิวัฒน์ทำให้หลายอุตสาหกรรมนั้นเริ่มเดินตามกันมา ในปี 2020 หุ่นยนต์จำนวนมากได้มีการเปิดตัวเข้าสู่อุสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีการติดตั้งใช้งานมากกว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ หลายประเทศโดยเฉพาะกลุ่มประเทศเอเชียมีการใช้งานระบบอัตโนมัติเพิ่มขึ้นแบบ Exponential อย่างชัดเจน การรักษาบทบาทและตำแหน่งของเยอรมนีจากแรงกดดันที่เกิดขึ้นในยุคดิจิทัลนี้นั้นบริษัทที่มีฐานอยู่ในเยอรมนีจำเป็นต้องยืนอยู่บนปลายทางของเทคโนโลยีแห่งอนาคตให้ได้ในระยะเวลาที่กำลังมาถึง การใจ้งานหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่เข้มข้นยิ่งขึ้นจะช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล

หลังการระบาดใหญ่ที่เกิดขึ้นทำให้เกิดการย้ายฐานการผลิตกลับประเทศแม่ และเยอรมนีเองก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ดำเนินนโยบายดังกล่าวเพื่อลดความเสี่ยงเช่นกัน ความท้าทายที่ตามมาและเกิดขึ้นทั่วโลก คือ การขาดแคลนทักษะแรงงาน ซึ่งกลายเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก บริษัทด้านการผลิตกว่า 22,000 แห่งเผชิญหน้ากับความท้าทายในการเติมเต็มตำแหน่งที่ขาดหายไป เรียกได้ว่าเกินครึ่งของบริษัทเหล่านี้ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานวิศวกรรม (61%) และการสร้างยานพาหนะ (65%)

หุ่นยนต์แห่งอนาคต: เทรนด์ที่เป็นหัวใจของการเปลี่ยนแปลง

การใช้ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์นั้นสามารถช่วยลดภาระของแรงงานที่ยังคงอยู่ในระบบได้อย่างแม้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการที่ต้องทำซ้ำๆ , งานอันตราย หรืองานที่สกปรก ซึ่งการใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถทดแทนแรงงานที่หายไปได้และช่วยแรงงานที่เหลือให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

แน่นอนว่าการ Optimize ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญหากพิจารณาถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการ Optimize ในปัจจุบันก็ต้องการภาพจำลองของการใช้ระบบไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์หรือทรัพยากรอื่นที่เชื่อมต่อเกี่ยวข้องกันอยู่ เช่น การใช้ Digital Twins เพื่อนำข้อมูลมามองหาจุดแข็งและจุดอ่อนที่เกิดขึ้น

การเข้ามาของ AI ในปัจจุบันทำให้มีโอกาสและศักยภาพอีกมากมายตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Generative AI ในหุ่นยนต์ที่ทำให้เห็นประโยชน์ได้อย่างชัดเจน เช่น การใช้งาน Interface ที่ควบคุมโดย Generative AI ในการเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์ได้ง่ายยิ่งขึ้นผ่าน Natural Language ไม่ใช่การใช้ Code ต่าง ๆ เป็นการทลายกำแพงด้านทักษะและความรู้เฉพาะทางบางส่วนลง ในขณะที่ Machine Learning ยังเป็นประโยชน์ในการระบุและจัดการกับข้อมูลจากหุ่นยนต์ได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น ทำให้การซ่อมบำรุงเชิงคาดการณ์มประสิทธิภาพสูง และลด Downtime สำหรับเครื่องจักรได้

การใช้หุ่นยนต์ในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นคลังสินค้า การเกษตร หรือการใช้ใน Clean Room เพื่อดูแลผู้ป่วยทำให้เห็นถึงประโยชน์และโอกาสอีกมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานด้านความปลอดภัยและการด้านการติดตามสอดส่องต่างๆ

ธุรกิจจะเติบโตได้ต้องมี ‘พันธมิตร’

ผู้ผลิตเทคโนโลยีหุ่นยนต์นั้นมีความพยายามในการเชื่อมต่อระหว่างซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์มากยิ่งขึ้น บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างจับมือกันพัฒนารบบนิเวศและซัพพลายเชนไปด้วยกัน ทำให้เกิดสะพานเชื่อมระหว่างโลกจำลองและโลกจริง เช่น บริษัทที่เชี่ยวชาญด้านแพลตฟอร์ม 3D Experience ได้ใช้ Virtual Twins ในการทำแผนที่ฮาร์ดแวร์ของสายการผลิตเพื่อวางแผนบริการหลังการขายพร้อมกับการ Optimize สิ่งต่าง ๆ ในเวลาเดียวกัน ในขณะที่ผูู้เี่ยวชาญด้านฮาร์ดแวร์ได้บูรณาการเครื่องจักรอัตโนมัติเข้ากับแผนที่ดังกล่าวเพื่อให้เห็นการทำงานร่วมกันของเทคโนโลยีในโรงงานว่าสามารถวางแผน และทำให้เกิดการดูแลหลังการขายที่มีประสิทธิภาพได้อย่างไร

‘เครือข่ายภาคการผลิต’ การแผ้วทางสู่การเติบโตในปัจจุบัน

ความร่วมมือและเครือข่ายที่เกิดขึ้นกับภาครัฐแลสมาคมต่างๆ นั้นมีความสำคัญไม่ต่างกับการทำงานร่วมกันของหลายบริษัท ในกรณีของเยอรมนี คือ Industrial Digital Twin Association (IDTA) และ German Robotics Association (DRV) ที่ต่างก็มีเป้าในการโปรโมทนวัตกรรมและกระจายการใช้งานหุ่นยนต์ในภาคอุตสาหกรรม การแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญและความก้าวหน้าเชิงเทคนิคอย่างสม่ำเสมอเป็นส่วนสำคัญในการทำให้เยอรมนีถูกพัฒนาไปเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของ Digital Twins และหุ่นยนต์ โดย DRV สนับสนุนสมาชิกด้วยโอกาสในการหาเครือข่ายและแบ่งปันทรัพยากรรวมถึงองค์ความรู้ ในขณะเดียวกันสมาคมทั้งหลายทำหน้าที่เป็นส่วนที่ช่วยติดต่อ SMEs และ Start-Ups ด้วยคำถามที่เกี่ยวกับหุ่นยนต์ คำสำคัญที่เป็นหัวใจหลัก คือ
การทำให้เป็นมาตรฐาน (Standardization) เพราะข้อมูลที่เกิดขึ้นจะถูกส่งต่อผ่านเครือข่ายในอุตสาหกรรม ซึ่งกลายเป็นประเด็นของ IDTA ที่ต้องการเปิดประตูของ Digital Twins ในฐานะเทคโนโลยีหลักสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 ของทุกบริษัท

จากเป้าประสงค์นี้สิ่งที่เรียกว่า Asset Administration Shell (AAS) ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นส่วนกลางในการอธิบายคุณลักษณะ (Characteristic) และพฤติกรรมของวัตถุและสร้างมาตรฐานในการสื่อความร่วมกัน สมาชิกจะช่วยกันระบุมาตรฐานของโมเดลข้อมูลที่ใกล้กับตลาดที่ใกล้กับการทำงานร่วมกัน และทำให้เกิดขึ้นในฐานะมาตรฐานของอุตสาหกรรมสำหรับ AAS

ในท้ายที่สุดแล้วพันธมิตรและเครือข่ายจะสร้างพื้นฐานอันแข็งแกร่งให้กับเยอรมนีเพื่อคงไว้ซึ่งสถานะผู้นำในสสายงานของหุ่นยนต์ในอนาคต และประสบความสำเร็จในการเผชิญหน้ากับความท้าทาย เช่น การขาดแคลนแรงงานทักษะ มันจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ว่าจะต้องตามเรื่องระดับเทคนิคในตลาดสากลให้ทัน การแลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้ทำให้เกิดความสำเร็จเหล่านี้ได้ ทั้งยังทำให้เกิดความกล้าในกรลงทุนในอนาคตและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

ที่มา:
https://www.elektrotechnik.vogel.de/deutschlands-weg-zur-robotik-exzellenz-a-c873e8bd912b3135e1fbc2d0c23d5350/

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Thossathip Soonsarthorn
"Judge a man by his questions rather than his answers" Voltaire