นักวิจัยจาก Technical University of Munich, University of Greifswald และ University of Augsburg พบว่ากระบวนการผลิตเนื้อแบบ Organic นั้นสร้างก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่เทียบเท่ากับการผลิตเนื้อในกระบวนการปกติ
รายงานวิจัยดังล่าวถูกเผยแพร่ในวารสาร Nature Communications แสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดจากการผลิตอาหารของโลกที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตการณ์สภาพอากาศแปรปรวน โดยการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้นเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตอาหารอย่างแนบชิด ทีมวิจัยได้แบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ การผลิตเนื้อแบบทั่วไป การผลิตเนื้อแบบ Organic และการผลิตเนื้อที่มาจากพืช ซึ่งเจาะลึกลงไปในแต่ละขั้นตอนของการผลิต
การปลดปล่อยก๊าซเกิดขึ้นในขณะที่ทำการเลี้ยงดูให้เติบโต กระบวนการให้อาหาร และกระบวนการหมัก (Fertilzie) เช่น มีเทนจะถูกปลดปล่อยจากสัตว์และจากปุ๋ยคอก ซึ่งข้อมูลชี้ให้เห็นความแตกต่างเพียงเล็กน้อยในการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกระหว่างกระบวนการผลิตเนื้อที่ใช้กันทั่วไปและกระบวนการเลี้ยงดูแบบ Organic โดยการลดลงของก๊าซที่ปลดปล่อยออกมาจากสัตว์ที่เลี้ยงแบบ Organic ซึ่งไม่ได้ใช้กระบวนการหมักเพื่อป้อนอาหารกลับเพิ่มปริมาณมีเทนที่ถูกปล่อยออกมาเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีอัตราการเติบโตที่ช้ากว่าและต้องเลี้ยงสัตว์จำนวนมากกว่าเนื่องจากการเลี้ยงแบบ Organic ให้เนื้อที่น้อยกว่า
หากจะมองให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น ทีมวิจัยพบความแตกต่างเพียงเล็กน้อยในการผลิตเนื้อวัวแบบ Organic และกรรมวิธีทั่วไป ในกรณีของไก่จะพบว่าการเลี้ยงแบบ Organic นั้นจะมีการปลดปล่อยก๊าซมากกว่าการเลี้ยงแบบปกติด้วยซ้ำ และในกรณีของเนื้อหมูพบว่าการเลี้ยงแบบ Organic มีการปลดปล่อยก๊าซในระดับที่น้อยกว่าการเลี้ยงแบบทั่วไป
ทีมวิจัยได้เสนอว่าควรมีภาษีเนื้อเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิต จากการคำนวณพบว่าการเลี้ยงวัวแบบทั่วไปราคาจะเพิ่มขึ้นถึง 40% ในขณะที่แบบ Organic เพิ่มเพียง 25% เนื่องจากมีราคาพื้นฐานที่แพงกว่าเนื้อทั่วไปอยู่แล้ว ราคาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสัตว์ เช่น ชัส หรือนมจะมีราคาเพิ่มขึ้นเช่นกัน ในขณะที่อาหารจากพืชจะมีราคาแทบไม่แตกต่างจากเดิม
ที่มา:
Phys.org