มลพิษจากไมโครพลาสติกนั้นสามารถส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมได้อย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในทะเลหรือนกที่บินไปมา แน่นอนว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นมนุษย์ไม่ได้รับข้อยกเว้นแต่อย่างใด
นักวิทยาศาสตร์นั้นเป็นกังวลเกี่ยวกับภัยร้ายจากไมโครพลาสติกมาเป็นเวลาหลายปี อนุภาคพลาสติกขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตรนี้พบได้ในทุกที่เพราะมลภาวะจากพลาสติกที่ขยายตัวในวงกว้าง ตั้งแต่ส่วนลึกของทะเลไปจนถึงพื้นที่ห่างไกลในแอนตาร์กติกา ซึ่งอาหารทะเลที่เรากินกันก็พบได้ทั่วไปและนำมาซึ่งคำถามสำคัญ คือ ไมโครพลาสติกนั้นเป็นอันตรายจริง ๆ เหรอ?
ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติจากมหาวิทยาลัย McGill ได้พบหลักฐานว่าไมโครพลาสติกในระบบย่อยอาหารของนกทะเลในส่วนของลำไส้ โดยพบว่าจุลินทรีย์ก่อโรค (Pathogen) และ จุลินทรีย์ที่ต่อต้านยาปฏิชีวนะ (Antibiotic-Resistant) นั้นเพิ่มขึ้นทั้งยังลดแบคทีเรียที่มีประโยชน์ลงจากลำไส้ในเวลาเดียวกัน
การค้นพบจากสัตว์ที่อยู่ในป่าเช่นนี้ทำให้มองเห็นถึงโอกาสที่จะเกิดขึ้นกับมนุษย์ด้วยเช่นกัน เพราะมนุษย์เองก็มีการรับไมโครพลาสติกจากสิ่งแวดล้อมและอาหารด้วยเช่นกัน
ในปัจจุบันพบว่ายังมีการศึกษาเกี่ยวกับปริมาณของไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนในสภาพแวดล้อมว่ามีปริมาณเท่าใดถึงจะส่งผลกระทบด้านลบต่อสิ่งลำไส้หรือระบบย่อยอาหารอยู่น้อยมาก
ที่มา:
mcgill.ca