เมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่ ‘อนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท’ อุตสาหกรรมจึงต้องปรับตัว

Date Post
04.02.2021
Post Views

เป็นเวลากว่า 3 ปีแล้วที่องค์การสหประชาชาติ หรือ UN ประกาศให้ ‘อนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท (The Minamata Convention on Mercury)’ เริ่มมีผลบังคับใช้กว่า 128 ประเทศทั่วโลกที่ร่วมลงนาม และ 74 ประเทศให้สัตยาบันรับรองในอนุสัญญาฯ โดยการริเริ่มจากโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) ร่วมกับรัฐบาลประเทศต่าง ๆองค์กรระหว่างประเทศ และองค์กรเอกชน ที่ได้ร่วมลงนามในอนุสัญญาระหว่างประเทศสำหรับควบคุมและจัดการปรอท หรือ Intergovernmental Negotiating Committee (INC) to Prepare a Global Legally Binding Instrument on Mercury ตั้งแต่ในปี 2013 และประเทศไทยที่ให้สัตยาบัน (Ratification) เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญามินามาตะ เป็นลำดับที่ 66 ของโลก โดยประเทศไทยเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2017 เป็นต้นไป

‘อนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท (The Minamata Convention on Mercury)’ มีข้อกำหนดต่าง ๆ ทั้งเกี่ยวกับการระบุคลังปรอท แหล่งอุปทานปรอทที่มีการสะสมปรอทปริมาณมาก การห้ามค้าปรอท ยกเว้นเฉพาะวัตถุประสงค์การใช้ที่ได้รับอนุญาตจากอนุสัญญาฯ ข้อกำหนดเกี่ยวกับการยกเลิก (Phase – out) การผลิต นำเข้า และส่งออก ผลิตภัณฑ์ที่เติมปรอทตามภาคผนวก A ภายในปี 2020 ที่ผ่านมา อาทิ แบตเตอร์รี่ สวิตช์ไฟฟ้า กลุ่มหลอดฟลูออเรสเซนต์ หลอดไอปรอทความดันสูง เครื่องสำอางค์ รวมทั้งสบู่และครีมผิวขาว สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าเชื้อ และเครื่องมือวัดที่ไม่ใช่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ และลดการใช้ (Phase – down) อะมัลกัมที่ใช้ทางทันตกรรม โดยในบางประเทศได้เริ่มดำเนินการตามข้อกำหนดนี้แล้ว เช่น ประเทศอาร์เจนตินา ประกาศห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ 8 รายการที่มีการเติมสารปรอท มีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป สำหรับประเทศในรัฐภาคีใดที่ยังไม่พร้อมเริ่มดำเนินการ อนุสัญญาฯ ได้ให้สิทธิแก่รัฐในการจดทะเบียนขอยกเว้นข้อกำหนดการยกเลิก (Phase – out) โดยมีอายุเลื่อนได้ 5 ปี จำนวน 2 ครั้ง แต่หลังจากปี 2030 จะไม่อนุญาตให้มีการผลิต นำเข้า และส่งออก ผลิตภัณฑ์มีสารปรอทภายใต้อนุสัญญาฯ นอกจากนี้ยังมีข้อกำหนดให้มีการพัฒนาและปฏิบัติตามแผนจัดการระดับชาติ เกี่ยวกับการปลดปล่อยปรอทสู่อากาศ แหล่งน้ำ และดิน การลดการใช้ปรอททำเหมืองแร่ทองคำพื้นบ้าน การเก็บกักปรอทชั่วคราวและการจัดการของเสียปรอทอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการจัดการพื้นที่ที่ปนเปื้อนปรอท เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมด้วย

การดำเนินการเพื่อการปฏิบัติตามอนุสัญญามินามาตะฯ ในประเทศไทย

ก่อนการร่วมในภาคีอนุสัญญามินามาตะฯ ประเทศไทย ได้มีการจัดให้ปรอท เป็นวัตถุอันตรายในกลุ่มวัตถุมีพิษ โดยสารปรอทและสารประกอบปรอท มีการควบคุมเป็นทั้งวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 (การผลิตนำเข้า ส่งออกและมีไว้ในครอบครองต้องได้รับใบอนุญาต) และวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 (ห้ามผลิต ห้ามนำเข้า ห้ามส่งออก ห้ามมีไว้ในครอบครอง) ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2538 และมีการกำหนดค่ามาตรฐานการปนเปื้อนของปรอท ทั้งในอาหาร (กระทรวงสาธารณสุข, พ.ศ.2529) ในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน (กระทรวงอุตสาหกรรม, พ.ศ. 2549) ในดินและน้ำใต้ดิน (กระทรวงอุตสาหกรรม, พ.ศ. 2559) และอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยได้ให้ความสำคัญถึงความเป็นอันตรายของสารปรอทมาในระยะหนึ่งแล้ว โดยภายหลังการเข้าร่วมในอนุสัญญาฯ มีการดำเนินการออกควบคุมเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่ามาตรฐานของสารปรอทในพระราชบัญญัติประกาศกระทรวงและกรมต่าง ๆ มากขึ้น เพื่อเป็นกฎหมายบังคับใช้ให้รองรับและสอดคลองกับข้อกำหนดของอนุสัญญามินามาตะฯ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นในประเด็นการเสริมสร้างความรู้ การตระหนักถึงปัญหา โดยให้หน่วยงานของรัฐ ทั้งกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงสาธารณะสุข กระทรวงการเกษตร และหน่วยงานอื่นๆ ทำการศึกษาวิจัยผลกระทบที่เกิดจากสารปรอทและสารประกอบปรอท รวมทั้งออกมาตรการและแนวทางการจัดการกับสารพิษดังกล่าวด้วย

บทบาทของหน่วยงานในประเทศไทยต่ออนุสัญญามินามาตะฯ

ในการติดตามตรวจสอบปริมาณปนเปื้อนของสารปรอทในผลิตภัณฑ์ สิ่งอุปโภคบริโภค และรวมถึงมาตรฐานควบคุม น้ำทิ้ง อากาศ สิ่งปฏิกูล ขยะและกากอุตสาหกรรม ในหน่วยงานเอกชนของผู้ประกอบกิจการโรงงานที่มีความเกี่ยวข้องกับสารปรอท จำเป็นต้องมีการตรวจสอบเพื่อรับรองว่ามีค่าของสารปรอทที่ไม่เกินตามมาตรฐาน โดยห้องปฏิบัติการที่ขึ้นทะเบียนการวิเคราะห์ปรอทกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังมีเรื่องของสุขอนามัยและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน มีการกำหนดค่ามาตรฐานการปนเปื้อนในพื้นที่ทำงานในอากาศ และการเฝ้าระวังระดับปรอทในเลือดและปัสสาวะโดยการตรวจร่างกายเป็นประจำในกลุ่มคนที่ทำงานสัมผัสกับสารปรอท

ด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามอนุสัญญามินามาตะฯ หน่วยงานรัฐประกาศออกควบคุมเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่ามาตรฐานของสารปรอทในพระราชบัญญัติประกาศกระทรวงต่าง ๆ เพิ่มเติม ดังนี้

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข

  • การปนเปื้อนในอาหารกลุ่มผลิตภัณฑ์จากเนื้อปลา ไม่เกิน 1.0 – 1.6 มก./กก.
  • การปนเปื้อนในอาหารทะเลอื่น ๆ ไม่เกิน 0.5 มก./กก.
  • การปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ไม่เกิน 0.5 มก./กก.
  • การปนเปื้อนในเกลือบริโภค ไม่เกิน 0.1 มก./กก.
  • การปนเปื้อนในอาหารอื่น ๆ ไม่เกิน 0.02 มก./กก.
  • การปนเปื้อนในอาหารทะเลในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ไม่เกิน 0.5 มก./กก.
  • การปนเปื้อนในอาหารอื่นในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ไม่เกิน 0.02 มก./กก.
  • การปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ไม่เกิน 1.0 มก./กก.

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม

  • การปนเปื้อนในน้ำทิ้งจากโรงงานไม่เกิน 0.005 มก./ลิตร ยกเว้น โรงงานถลุงสังกะสี อนุโลมให้ไม่เกิน 0.002 มก./ลิตร
  • การปนเปื้อนในอากาศเสียจากโรงงาน ไม่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิง ไม่เกิน 3 มก./ลบ.ม.
  • การปนเปื้อนในอากาศเสียจากโรงงาน มีการเผาไหม้เชื้อเพลิง ไม่เกิน 2.5 มก./ลบ.ม.
  • การปนเปื้อนในสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุไม่ใช้แล้ว ไม่เกิน 20 มก./กก.
  • การปนเปื้อนในในพื้นที่ทำงาน ไม่เกิน 0.05 มก./ลบ.ม.
  • การปนเปื้อนในแหล่งน้ำผิวดิน ไม่เกิน 0.002 มก./ลิตร
  • การปนเปื้อนในแหล่งน้ำใต้ดิน ไม่เกิน 0.7 มก./ลิตร
  • การปนเปื้อนในดิน ไม่เกิน 610 มก./กก.
  • การปนเปื้อนในน้ำดื่มปิดสนิท ไม่เกิน 0.002 มก./ลิตร

ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

  • การปนเปื้อนในดินที่ใช้ประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัยและเกษตรกรรม ไม่เกิน 23 มก./กก.
  • การปนเปื้อนในดินที่ใช้ประโยชน์นอกเหนือจากเพื่อการอยู่อาศัยและเกษตรกรรม ไม่เกิน 610 มก./กก.

ความสำคัญของการใช้เครื่องวิเคราะห์ปริมาณสารปรอท – Mercury Analyzer 

จะเห็นว่าด้วยการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตาม ‘อนุสัญญามินามาตะว่าด้วยการจัดการสารปรอท’ หน่วยงานในไทยได้ออกพรบ. กำหนดค่ามาตรฐานการปนเปื้อนของปรอทไว้ในหลายหมวดหมู่ โดยในกลุ่มอุตสาหกรรมและผู้ประกอบกิจการโรงงานที่มีความเกี่ยวข้องกับสารปรอท จำเป็นต้องมีการตรวจวัดปริมาณสารปรอทให้เป็นไปตามมาตรฐาน ด้วยเครื่องมือที่เหมาะสมตามวิธีมาตรฐานสากล (Standard Method) และผ่านการรับรองจากหน่วยงานของรัฐ

การเลือกเครื่องวิเคราะห์ปริมาณปรอท หรือ Mercury Analyzer ซึ่งมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถวิเคราะห์หาปริมาณสารปรอทได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และเหมาะสมกับการใช้งานที่หลากหลายรูปแบบการวัดค่าปรอท (Hg) ตั้งแต่ต้นทางการเกิดขึ้นของปรอทจนถึงการปนเปื้อนสู่ร่างกายมนุษย์จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้เกิดภาพรวมในการประเมินปริมาณที่มีการปลดปล่อย อาทิเช่น พลังงานใต้พื้นพิภพ ถ่านหิน น้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์จากน้ำมัน หรือ ก๊าซธรรมชาติ ปนเปื้อนสู่ธรรมชาติ น้ำทิ้งจากอุตสาหกรรม น้ำในแม่น้ำ ทะเลสาบ น้ำทะเล น้ำฝน น้ำดื่ม อากาศ และสุขภาพร่างกาย เลือด ปัสสาวะและเส้นผม ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสม เพื่อให้ผลการวิเคราะห์ได้ผลที่ถูกต้องแม่นยำ และเป็นที่ยอมรับ ด้วยเครื่องวิเคราะห์ปริมาณปรอท หรือ Mercury Analyzer ซึ่งมีอยู่หลายรุ่นตามลักษณะการใช้งาน ดังนี้

Portable Mercury Survey Meter Model: EMP-3

เครื่องวัดสารปรอทแบบพกพา สามารถวัดปรอทได้ในช่วง 0.0001- 20 mg/mการใช้งานวัดไอปรอทในอากาศ, วัดการรั่วไหลของปรอท, งานซ่อมบำรุงปิโตรเลียม

Mercury Analyzer Model: MA-3000 (Auto 100 samples), MA-3Solo (Manual 1 sample)

เครื่องวัดสารปรอท ด้วยหลักการ Direct Thermal Decomposition Mercury Analyzer สามารถวิเคราะห์หาสารปรอทได้โดยตรง สะดวกและปลอดภัย ใช้งานง่าย โดยไม่ผ่านการเตรียมตัวอย่าง ใช้เวลาเพียง 5 นาทีต่อตัวอย่าง สามารถวัดตัวอย่างปรอทได้ตั้งแต่ 0.01 ppb (ug/kg) – 5,000 ppm (mg/kg) ใช้ได้ทั้งตัวอย่างที่เป็นของแข็ง ของเหลว และก๊าซ อาทิเช่น ดิน, กากตะกอน, น้ำมันดิบ, เศษขยะ, น้ำ, น้ำเสีย, อาหาร, เนื้อปลา, ปลาทูน่า, ทางการแพทย์อาทิ เลือด, ปัสสาวะ, เส้นผม เป็นต้น

Mercury Analyzer Model: RA-4500

เครื่องวิเคราะห์สารปรอท ด้วยหลักการ Reducing Cold Vapor Atomic Absorption Spectrometer สามารถวิเคราะห์ตัวอย่างอัตโนมัติ ทั้งเติมสาร จนกระบวนการสุดท้ายในการวิเคราะห์ ทำให้ได้ผลแม่นยำ สะดวก รวดเร็ว มีช่วงการวิเคราะห์ ตั้งแต่ 0.5 ppt – 100 ppb สามารถวิเคราะห์ปรอทในตัวอย่างของเหลวและตัวอย่างน้ำ

Mercury Analyzer Model: WA-5A

เครื่องวิเคราะห์ปรอท ด้วยหลักการ Dual Gold Amalgamation ใช้ในการวิเคราะห์ปรอทในตัวอย่างอากาศ, แก๊สธรรมชาติ, และแก๊สปิโตเลียม เป็นต้น สามารถวิเคราะห์ปรอทได้ตั้งแต่ 0.001ng – 1,000 ng

Mercury Analyzer Model: PE-1000 

เครื่องวิเคราะห์สารปรอท ด้วยหลักการ Petro-Pyrolysis CVAFS สามารถวิเคราะห์ตัวอย่างในปิโตเลียมอาทิ Naphtha, Gasoline, Diesel fuel, Condensate, Crude oil มีช่วงการวิเคราะห์ตั้งแต่ 0.01 – 100 ppb 

บุคคลากร หน่วยงาน โรงงานหรืออุตสาหกรรมใด ต้องการคำปรึกษาทั้งด้านวิธีวิเคราะห์หรือด้านเครื่องมือวิเคราะห์ปรอทเพิ่มเติม เพื่อให้เหมาะกับการใช้งาน สามารถติดต่อบริษัท โคแอกซ์ กรุป คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งมีทั้งเครื่องมือวิเคราะห์และมีประสบการณ์โดยตรง ยินดีให้บริการคุณ

บริษัท โคแอกซ์ กรุป คอร์ปอเรชั่น จำกัด

1131/62, 64, 325-331 ถนนนครไชยศรี แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300

โทรศัพท์ : 0-2668-2436-9
โทรสาร : 0-2243-7386
เว็บไซต์ : www.coax.co.th

เอกสารอ้างอิง:

กรมควบคุมมลพิษ (พิมพ์ครั้งที่ 2). 2559. คำแปลอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท. กรุงเทพฯ
ชลาลัย รุ่งเรือง. 2560. อนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท “Minamata Convention on Mercury”.
สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13, ชลบุรี.
มติชนออนไลน์. ด่วน! อาร์เจนตินาออกข้อกำหนดห้ามเติมสารปรอทในผลิตภัณฑ์ 8 รายการ [ออนไลน์]. 2562, แหล่งที่มา: https://www.matichon.co.th/economy/news_1458449 [20 เมษายน 2562]
สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม. ข่าวดี! ‘ไทย’ เข้าร่วมอนุสัญญา ‘มินามาตะ’ แล้ว ลำดับ 66 ของโลก – ขึ้นแท่นผู้นำเอเชียอาคเนย์ [ออนไลน์]. 2017, แหล่งที่มา: https://greennews.agency/?p=14273 [20 มิถุนายน 2560]

บทความที่เกี่ยวข้อง:
Mercury Analyzer: ความสำคัญของการวัดค่าปรอทในโรงงานอุตสาหกรรม
Logo-Company
logo-company
Thossathip Soonsarthorn
"Judge a man by his questions rather than his answers" Voltaire